เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพลังงานสะอาด สำหรับประเทศไทย, (วปอ.9049)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายเพทาย หมุดธรรม, (วปอ.9049)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพลังงานสะอาด สำหรับประเทศไทย
ลักษณะวิชา : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ การพลังงาน
ผู้วิจัย : นายเพทาย หมุดธรรม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
ปัจจุบันจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะอาศัย
อยู่ในชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ มีการขยายตัว และต้องการความคล่องตัวในการทำงาน
ทำให้เมืองมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรต่างๆ มีจำกัด จึงมีความจำเป็นที่
จะต้องส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีระบบการขนส่งและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีสุขพลานามัยที่ดี
มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ สะดวก สะอาด ปลอดภัย รองรับสังคมที่จะมีความ
ซับซ้อนมายิ่งขึ้นในอนาคต การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลรูปแบบการพัฒนาเมือง
อัจฉริยะพลังงานสะอาด แนวทาง/กลไก ในการให้การสนับสนุน/สร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุน
รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลจากตำรา
และเอกสารต่างๆ และสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการด้านพลังงาน รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎี ซึ่ง
ได้รูปแบบเมืองอัจฉริยะด้านพลังงาน (Smart Energy) โดยมีมิติในการพิจารณา ๖ มิติดังนี้๑)ดัชนีชี้วัด
การใช้พลังงาน ๒) การผลิตพลังงาน ๓) การส่งจ่ายพลังงาน ๔) การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
๕) ระบบเครือข่ายอัจฉริยะ ๖) ข้อเสนอเชิงนวัตกรรมด้านพลังงาน
ทั้งนี้การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะด้านพลังงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม
ต้องอาศัยการผลักดันในด้านต่างๆ เช่น กฎระเบียบ เพื่อลดข้อจำกัดที่เกิดจากกฎระเบียบ และเพิ่ม
ความคล่องตัวในการดำเนินการ, การขับเคลื่อนเชิงสถาบัน เพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจน
ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การพัฒนาและเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของ
ประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ระบบมีความมั่นคง และสามารถ
เชื่อมต่อการทำงานของเมืองต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ, พัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ของบุคลากรในประเทศ ทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เพียงพอ,
สนับสนุนการลงทุน เพื่อส่งเสริมให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทันต่อ
ความต้องการของการเจริญเติบโตของประเทศ
abstract:
Abstract
Title : Guideline for the development of Smart Clean Energy City
for Thailand
Field : Science and Technology
Name : Mr. Petai Mudtham Course NDC Class 62
In present, numbers of population have been continuously increasing.
People tend to live in urban community. Businesses have expanded, as well as the need
of working agility has grown. City becomes bigger and complex, while the resources is
scarcity. Therefore, it is crucial to promote a city where there are transportation
systems, efficient energy usages, community with well-being, and good standard of
living under the environment that is convenient, clean, safe, and resilient to bear
varieties of community in the future. The objectives of the study were: to examine
types of city with smart energy development, including ways and mechanisms to give
a support or incentive for investing, and to initiate proper policy recommendation for
Thailand. The study collects data from books, documents, deep interviews from
experts in energy field, and analyzes received information accounting to theories. And
it shows that in order to become a smart-energy city, there are 6 dimensions to
consider : (1) Energy usage index (2) Energy product (3) Energy delivery (4) Greenhouse
gas reduction (5) Intelligent network system (6) Energy innovation proposal
To become a smart-energy city, there are factors related. For instance,
lower restrictions of law and regulation to increase agility, institutional movement to
set roles and duties of related agencies, setting central standard to drive
development and technology in the same direction and to create safety, stable
system, and connecting each city systematically, knowledge development to
strengthen people competencies, promote investment to fasten a smart-energy city
development keeping up to the growth of economy.
Besides factors stated above, monitoring problems, obstacles and
limitations of presenting policies and guideline as “a key factor to be considered” will
lead to a process of improving and developing a smart-energy city guideline more
efficiently. The study found the limitation of an operation and suggested 2
recommendation for improving: 1) the recommendation for improving assessment
criteria of a smart-energy city and 2) the recommendation for driving related activities.