Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยระหว่าง พลเรือน - ทหารเพื่อสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัย ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม, (วปอ.9048)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต.เพชรัตน์ ลิ้มประเสริฐ, (วปอ.9048)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยระหว่างพลเรือน – ทหาร เพื่อสนับสนุน การบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี เพชรัตน์ ลิ้มประเสริฐ หลักสูตร วปอ รุ่นที่ ๖๒ การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยระหว่างพลเรือน – ทหาร เพื่อสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการท างานของเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยระหว่างพลเรือน - ทหาร ในการสนับสนุน การบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ตลอดจนปัญหาและข้อขัดข้อง ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยระหว่างพลเรือน - ทหาร ในการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหมให้มีประสิทธิภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้ง ภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม โดยศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและข้อขัดข้องในการด าเนินงาน ได้แก่ การประสานงานแบบ ปกติซึ่งใช้เฉพาะเอกสารทางราชการ ในกรณีเร่งด่วนรวมทั้งการประสานงานกรณีเกิดสาธารณภัยนั้น ผลการประสานงานค่อนข้างล่าช้า ในขณะที่การประสานงานแบบเครือข่ายเสมือนจริงผ่านโปรแกรม สนทนาไลน์พบว่า การประสานงานมีความรวดเร็วแต่ยังพบข้อจ ากัดในการบริหารจัดการกลุ่ม นอกจากนี้ ข้อมูลจากการประสานงานผ่านโปรแกรมสนทนาไลน์ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นเอกสารทางราชการได้ อีกทั้งการติดต่อประสานมีความชัดเจนลดลงเนื่องจากเป็นการสื่อสารแบบอวัจนภาษา ซึ่งอาจมีผลต่อ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก และการประสานงานอย่างเป็นทางการที่ขึ้นจากกรณีเกิดสาธารณภัย เมื่อภารกิจนั้น ๆ เสร็จสิ้นลง ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่มจะลดลง หลังจากผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์ การวัดผลส าหรับเครือข่ายทางการสื่อสาร และการวิเคราะห์เครือข่ายทางการสื่อสารในระดับมหภาค รวมทั้งรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ท าให้ได้แนวทางในการพัฒนาเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างพลเรือน – ทหาร เพื่อสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม คือ การสร้างและพัฒนาเครือข่าย และการบริหารจัดการระบบเครือข่าย โดยผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย ให้รัฐบาลสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันของหน่วยงานภายในประเทศ และต่างประเทศ ในการจัดท าหลักสูตรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย และควรส่งเสริมให้ ประเทศไทยมีบทบาทน าในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมควรก าหนดให้การศึกษาตามแนวทางการรับราชการทางทหารของก าลังพล ทุกหลักสูตรได้ศึกษาวิชา การจัดการภัยพิบัติและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทา ภัยพิบัติ รวมทั้งควรเชิญภาคีเครือข่ายบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งพลเรือนและ ทหารให้มีส่วนร่วมในการจัดท าแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ในวงรอบต่อไป

abstract:

Abstract Title Guidelines for the Development of Civil-Military Disaster Relief Networks to Support Mitigation of the Disaster and Relief Center, Ministry of Defence Field Military Name Major General Petcharat Limprasert Course NDC Class 62 The objectives of this study were 1) to study the Civilian-Military Disaster Relief network model in supporting of the Mitigation of the Disaster and Relief Center, Ministry of Defence as well as problems and obstacles in the operation and 2) to develop a Civil-Military Disaster Relief network to support of the Disaster Relief Center of the Ministry of Defence. The population of the study is the representatives from of the agencies related to disaster prevention and mitigation both inside and outside the Ministry of Defence. Research Methodology is consisted of qualitative and descriptive. The result of the research revealed that operational issues and obstacles arise from the conventional communication style, which is the official documents, in case of emergency including a disaster coordination results are delayed. On the other hand, a virtual network coordination via LINE chat application found that coordination is effective but it is still encountered limitations in group management. In addition, data from coordination via LINE chat application cannot be used as an official document reference. Furthermore, non-verbal communication leads to reduce the communication efficiency, which may affect on the interaction improvements and formal communication amongst members that occurs in case of disaster when the mission is completed. It makes relationships of the member reduced. The researcher studied the analysis and assessment for the communication networks at the macro level including the information from in-dept interview reported that a Guidelines for the Development of Civil-Military Disaster Relief Networks to support Mitigation of the Disaster and Relief Center, Ministry of Defence has provided the model for Network Building and Network Management. As a result, the researcher has suggested that in term of policy, the government can encourage the coordination of domestic and international organization in designing a risk management course. In addition,Thailand could be promoted in a leading role of Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR). Moreover, the Ministry of Defense should introduce the Disaster Management Course and Humanitarian Assistance and Disaster Relief Course (HADR) to Professional Military Education (PME) Courses including disaster relief networks and relevant organization both civilians and military should be assigned to participate in the Disaster Mitigation Plan in the next round.