Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน, (วปอ.9032)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์, (วปอ.9032)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน ของรัฐ ตามโครงการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชน ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ 62 งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ตามโครงการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชน โดยศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ตามโครงการจัดที่ดินให้ชุมชน เฉพาะกระบวนการจัดที่ดินในพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินส าหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ประเภทที่ดิน สาธารณประโยชน์ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตาม นโยบายของรัฐบาล และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสารเป็นหลัก รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ และเจ้าพนักงานที่ดินในพื้นที่ แล้วน าข้อมูลมาด าเนินการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบ สังเคราะห์ ข้อมูลตามทฤษฎีและหลักการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนการบริหาร จัดการที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ตามโครงการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชน ซึ่งการ ด าเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.) จากการเก็บข้อมูล พบว่า มีปัญหาและผลกระทบอยู่ 4 ประเด็น คือ ปัญหาและผลกระทบด้าน การบริหารจัดการที่ดิน ปัญหาและผลกระทบด้านกฎระเบียบของทางราชการ ปัญหาและผลกระทบ ด้านบุคลากร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และปัญหาและผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้น จึงต้อง มีการก าหนดแผนการบริหารจัดการที่ดินในเชิงระบบ มีการแก้ไข ปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อก าหนด หลักเกณฑ์และขั้นตอนแนวทางการด าเนินการที่มีความชัดเจน มีการบูรณาการการท างานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความส าคัญด้านบุคลากร และแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ าด้านที่ดินท ากินให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเชื่อได้ว่า เป็นแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐตามโครงการ จัดที่ดินให้ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากร ดินที่มีการก าหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ ความมั่นคงอย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืนต่อไป การศึกษาวิจัยในครั้งต่อไปควรเป็นการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการด าเนินการภายหลังจากการบริหารจัดการที่ดินตามโครงการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชน ซึ่งเป็นกรอบแนวทางและนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประชาชนข ผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสสามารถด ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพเสถียรภาพ มีความมั่นคงและยั่งยืน หรือไม่ อย่างไร และควรมีการทบทวนแนวทางด าเนินการตามโครงการดังกล่าว เพื่อให้มีความสอดคล้อง กับวิถีการด ารงชีวิตของประชาชนในสภาวการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่อย่างไร ต่อไป

abstract:

Abstract Title : Guideline on Driven Land Management under Land Allocation for Community Project for Solving Public Land Encroachment Problem Field : Strategy Name : Mr. Plean Kaewrit Course NDC Class 62 This research aims to study the guideline on driven land management under Land Allocation for Community Project for solving public land encroachment problem by analyzing land management process under Land Allocation for Community Project only the process of land allocation in public domain for public use in order to accomplish in government policy and conform with national strategy, in the aspect of creating opportunity and equality in society. This research is qualitative research which collecting data from document and in-depth interview with expert on public land management and chief of land office in the area where the project occur. The data are analyzed by context, comparison, synthesis under related theory and approach to achieve the guideline on driven land management under land allocation for community project for solving public land encroachment problem. As studied, there were 4 problems found i.e. (1) problem in land management (2) problem in official rules and regulations (3) problem in manpower and (4) impact on people. Therefore, the solution should be establish systematic land management plan, correct and improve clear rule and procedure, integrate and working together between agency and related officer, consider manpower as one of the important aspect, solve problem of people, and sustainably decrease inequality in land for livelihood in order to effectively driven land management under land allocation for community project to solve public land encroachment problem and be able to solve the disunity in land and land resource management stipulated in many law. The researcher hopes that the result will sustainably beneficial to people in all aspect, economy, society, culture, environment, and security. The next research should be studied on the impact on and result from land management under land allocation for community project whether the poor and the disadvantaged are able to have quality and security on their life or not, also, follow up and review the project to enhance and adjust the guideline in order to conform with people’s way of life in present day.