Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล, (วปอ.9030)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, น.อ. ปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช, (วปอ.9030)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นาวาเอก ปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลที่กว้างขวาง ชายฝั่งทะเลที่ยาว มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้น รวมถึงประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในบริเวณพื้นที่ทางทะเลนี้ ซึ่งส่งผลให้มี เหตุการณ์ที่ต้องได้รับการบริการจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเลเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าระบบ การแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก แต่เป็นการพัฒนาของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทางบก การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อศึกษาปัญหา และหาแนวทางการพัฒนาระบบริหารการแพทย์ฉุกเฉิน ทางทะเล เพื่อให้เกิดมาตรฐาน ความถูกต้องและรวดเร็วในการปฏิบัติวิธีการด าเนินการวิจัย เป็นการ ศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม มีล าดับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ จากการสร้างเครื่องมือ แบบสอบถาม เพื่อน าสู่ผลของข้อมูลให้เกิดความน่าเชื่อถือ และตามด้วย วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยน า ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาของการตอบค าถาม การพูดคุย ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑. ศึกษาระบบการให้การบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ๒. วิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องระบบ การแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ๓. แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ผลการวิจัย ระบบบริการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเลขั้นตอนการให้การบริการ การแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการแพทย์ฉุกเฉินทางบก ซึ่งเหมือนกันกับการ ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินทั่วไปในต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย ๖ ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ ๑ การส ารวจ ค้นหาคนที่เจ็บป่วย (Detection) ขั้นตอนที่ ๒ การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (Reporting) ขั้นตอนที่ ๓ การออกปฏิบัติงานของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Response) ขั้นตอนที่ ๔ การรักษาพยาบาล ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (On Scene Care) ขั้นตอนที่ ๕ การล าเลียงขนย้ายและการดูแลระหว่างน าส่ง (Care in Transit) ขั้นตอนที่ ๖ การน าส่งสถานพยาบาลที่เหมาสม (Transfer to Definitive Care) ปัญหา ข้อขัดข้องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเลจากการทบทวนสถิติการใช้บริการของสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินทั้งทางบกและทางทะเล ศึกษารายงาน ศึกษางานวิจัยต่างๆ และรวบรวมปัญหาจาก แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าระบบการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเลมีปัญหาหลักๆในด้าน มาตรการป้องกัน แนวทางการแจ้งเหตุ การดูแลเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ ความเพียงพอของทีมปฏิบัติการ การคัดเลือกทีมปฏิบัติการ สถานพยาบาลที่เหมาะสม และด้านงบประมาณการเบิกจ่าย แนวทางการ พัฒนาระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล จากกรอบแนวคิด และข้อมูลความคิดเห็นด้านการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้จาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ถูกน ามาสังเคราะห์เป็นแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ๑๒ ด้ าน คือ ๑. พัฒนาการจัดแบ่งพื้นที่ ของหน่ วยปฏิบัติการ ๒. พัฒนาระบบการแจ้งเหตุ ๓. พัฒนาระบบการสื่อสาร ๔. พัฒนาหน่วยปฏิบัติการ ๕. พัฒนาด้านบุคลากรและการอบรม ๖. พัฒนาด้าน กฎและระเบียบ ๗. พัฒนาระเบียบการเงินการคลัง ๘. พัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์๙.พัฒนาด้านการมี ส่วนร่วมของชุมชน ๑๐. พัฒนาด้านมาตรฐานและโครงสร้างของระบบที่เหมาะสม ๑๑. พัฒนาการ เตรียมความพร้อมและการจัดหมวดหมู่ของสถานพยาบาล ๑๒. พัฒนาด้านการประเมินผล

abstract:

Abstract Title Guidelines for the development of maritime emergency medical management system Field Social - phsycology Name Cpt. Piyawat Vongvanich , RTN. Course NDC Class 62 Thailand has a wide maritime territory and very long coastline. There are various activities as well as increasing enormously of the population and tourists in this maritime area. This has resulted in an increasing number of incidents requiring service from the maritime emergency medical system. Although Thailand's emergency medical system is highly developed, mostly it is the development of the land emergency medical system. There still be a lot of problems for maritime emergency medical system which needed to be solved and developed. The objective of this study is to find the problems and the ways to develop a marine emergency medical system through a descriptive research to make the standard of the systmen. Method this research is a mixed-methods, explanatory sequential design research, starting with quantitative and follow by qualitative. Information from emergency medical system specialists, including articles and research papers, are collected and analyzed. Objectives 1) To study the maritime emergency medical service system. 2) To analyze the problems of the maritime emergency medical service system. 3) To develop guidelines for the development of marine emergency medical management system. Results The maritime emergency medical service system. Maritime emergency medical service procedures are the same as procedures for land emergency medical care, which are used around the world. The procedures consist of 6 steps which are detection, reporting, resopnse, on scene care, care in transit and transfer to definitive care. Problems of the maritime emergency medical service system. Problems of the system were analyzed form the data of National Institute for Emergency Medicine, reports, researches, and information from many experts in this field. The major problems of “Maritime emergency medical service system” are preventive procedures, reporting system, on scene care, insufficient of emergency team, triage system, appropriate transferring hospital and financial problems. Guidelines for the development of marine emergency medical management system. Results of this study shows that there are 12 issues which needed to be developed to accomplish the objective of maritime emergency medical management system. The topics that need to be developed are The area allocation of the operating unit 1. Incident reporting system 2. Communication system 3. Emergency operatibd unit 4. Training systems 5. Rules and regulations 6. Financial issues 7. Public relation development 8. Community involvement 9. Standard of structure and procedures of system 10. Preparation and classification of transferring hospital 11.Evaluation and assessment system