Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ, (วปอ.9025)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ปริญญา หอมเอนก, (วปอ.9025)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ : ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ ผลกระทบต่อ ความมั่นคงของชาติในระยะยาว และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายปริญญา หอมเอนก หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) เป็นช่องทางในการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations : IO) โดยการกระจายข้อมูลข่าวสาร เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) ต่าง ๆ เช่น Line Facebook Twitter เป็นต้น ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยความรวดเร็ว ชั่วพริบตา และ มีการแชร์ข้อมูลต่อ ๆ กันไปอย่างรวดเร็ว สามารถส่งผ่านข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ความคิดเห็น พฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้ใช้บริการได้โดยตรง โดยที่ผู้ใช้บริการอาจไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และ Social media มากกว่ากลุ่มอื่น ทำให้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ และมีผลต่อการตัดสินใจ ของคนเป็นจำนวนมาก จึงก่อให้เกิดปัญหาใหญ่คือ การรุกล้ำ “อธิปไตยไซเบอร์” หรือ "ความเป็น เอกราชทางไซเบอร์" (Cyber Sovereignty) ของประชาชนในประเทศ ตลอดจนไปถึงปัญหา ความมั่นคงของชาติ (National Security) ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังถูก ละเมิดในเรื่อง “อธิปไตยไซเบอร์” เนื่องจากปัญหาดังกล่าวถูกซ่อนอยู่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และการใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย การศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการ ในการกำหนดยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รูปแบบ และลักษณะ ของยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีความชัดเจน มีความเหมาะสมกับช่วงเวลา สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงทั้งในการแก้ปัญหา อธิปไตยไซเบอร์ในระยะสั้นและระยะยาว และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการและ รูปแบบของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ วิธีการวิจัยครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์กระบวนการ รูปแบบ และลักษณะของปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ในประเทศไทย และในต่างประเทศ รวมถึงการพิจารณา ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของต่างประเทศเฉพาะที่มีความสอดคล้องข กับเรื่องอธิปไตยไซเบอร์ มีการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศบางประเทศ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึง ความแตกต่างในการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศที่ศึกษา เพื่อนำแนวทางการกำหนดและพัฒนา ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทย มีความเหมาะสมของ เนื้อหากับกรอบเวลา รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ได้แนวทางในการกำหนดและพัฒนา ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำไป ปฏิบัติได้จริง ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ (2560 - 2564) ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 5 มิติด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตามมิติที่ 2 ของ กรอบแนวคิดแบบจำลองวุฒิภาวะความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ (National cybersecurity capacity maturity model: CMM) ของ The Global Cybersecurity Capacity Centre (GCSCC) แห่ง University of Oxford ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดมาตรฐานของสากล ในเรื่อง Cyber culture and society ความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ เกี่ยวกับ การละเมิดและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ช่องทางการรายงานอาชญากรรม ทางไซเบอร์อิทธิพลของ Social media และอธิปไตยไซเบอร์ ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นหลัก ไม่ครอบคลุมถึงการรุกรานทางความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และอธิปไตยทางไซเบอร์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ปัญหาในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ปัญหาใหญ่ ประกอบด้วย 1. ความไม่พร้อมในการปกป้อง ป้องกัน รับมือและแก้ไข ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความไม่พร้อมในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ และ 2. ความไม่พร้อมในการรับมือปรากฏการณ์ “Social media” กลายเป็น “Soft power ” และ การรับมือต่อการสูญเสียอธิปไตยไซเบอร์ของชาติ ทางผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะกรอบแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย 5 มิติ ตามกรอบแนวคิด CMM ประกอบด้วย มิติที่ 1 National cybersecurity framework and policy มิติที่ 2 Cyber culture and society มิติที่ 3 Cybersecurity education, training and skills มิ ติ ที่ 4 Legal and regulatory frameworks มิ ติ ที่ 5 Standards, organizations, and technologies และเสนอแนะให้จำแนกแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ออกเป็น 3 บทบาท ประกอบด้วย 1. แนวทางที่ให้รัฐมีบทบาทนำ (Government-led) 2. แนวทางที่ให้ภาคค ประชาชนและภาคเอกชนมีบทบาทนำ (Civilian-led) และ 3. แนวทางที่แพลตฟอร์มมีบทบาทนำ (Platform-led)

abstract:

Abstract Title : The national cybersecurity, the problem of cyber sovereignty, long-term national security impact and national strategy formulation guidelines Field : Strategy / Science and Technology Name : Mr. Prinya Hom-Anek Course NDC Class 62 This research paper was to study the national cybersecurity, the problem of cyber sovereignty, long-term national security impact and national strategy formulation guidelines prepared with inspiration from my experience in cybersSecurity and observed that the process of maintaining cybersecurity in Thailand in the past focus on defense of physical attacks on the Internet and networks. In addition to today's world where international platforms and social media have increasingly played a role in changing the behavior and decision-making of people of the nation. It is in line with the global awareness that these problems lead to cognitive and mental aggression of people. The so-called "cyber sovereignty" problem is emerging all over the world which directly affects the economy and society of various countries, as well as the "National Security", the researcher sees that this study will help Thailand understand the problems and impacts of aggression. "Cyber sovereignty" to be able to apply the conceptual framework developed by studying the framework for creating a strategy for solving problems. "Cyber sovereignty" is an internationally recognized concept. Let's improve the 20- year National Strategy (2018 - 2037) and the NCS’s the National Cybersecurity Strategy 2017 – 2021 has finally made it more efficient.