Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าสู่ตลาดการค้าเสรีภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-จีน, (วปอ.9018)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวบุณิกา แจ่มใส, (วปอ.9018)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-จีน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางสาวบุณิกา แจ่มใส หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีจ านวน 3.3 ล้านราย เป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ ซึ่งช่วยสร้างงานภายในประเทศมากกว่า 10 ล้านคน ปัจจุบันประเทศไทยจัดท าความตกลง การค้าเสรี13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ เช่น อาเซียน จีน เป็นต้น โดยมีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดท าความตกลงการค้าเสรี พร้อมกับสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้ ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการในการขยายการส่งออกไปตลาดการค้าเสรี โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในการขยายการส่งออกไปตลาดจีน ซึ่งจีนได้ลดภาษีน าเข้าสินค้าส่วนใหญ่ให้ไทยเหลือ ร้อยละ 0 แล้ว ทั้งนี้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นที่ต้องมีการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สถานการณ์และ โครงสร้างผู้ประกอบการ SMEs 2. ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพความท้าท้าย และโอกาสของ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทย ในการเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี โดยเฉพาะตลาดจีน 3.ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ 4. น าเสนอข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายภาครัฐและข้อเสนอเชิงด าเนินการ โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ในการสนับสนุน ผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่ตลาดการค้าเสรี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ท าการสัมภาษณ์ผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสียจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน มาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จ านวน 7 คน จากนั้น ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ SWOT Analysis ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก มีการขยายตัว มีความเข้มแข็ง และเชี่ยวชาญในการท าธุรกิจ และต้องการส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA 2. นโยบายและมาตรการ จากภาครัฐด้านการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ประสบผลส าเร็จและ ผู้ประกอบการ SMEs ขอให้หน่วยงานภาครัฐให้การช่วยเหลือต่อไป โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ มีบทบาทส าคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพในการท าธุรกิจ แบบครบวงจร 3. ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องช่องทางการใช้ประโยชน์จาก FTA และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่มากนัก เนื่องจากมีต้นทุนสูง 4. การเข้าตลาดจีน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับคู่แข่งขันจีนและอาเซียนที่มักตัด ราคา แต่ผู้บริโภคเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าไทย นอกจากนี้รายงานวิจัยน าเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการด าเนินการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (1-3 ปี) ระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) โดยข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ส าคัญ ได้แก่ 1. ใช้ความได้เปรียบในการแข่งขัน Competitive Advantage โดยเน้นเรื่อง National Image and Status 2. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การอบรม การสร้างเครือข่าย 3. ขับเคลื่อนนโยบายการเจรจาการค้าข ระหว่างประเทศและขยายการจัดท าความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ 4. ยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ส าหรับข้อเสนอแนะเชิงด าเนินการที่ส าคัญ ได้แก่ 1. กระทรวง พาณิชย์ ควรส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในการขยายตลาดส่งออกผ่านโครงการต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่อง 2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศขยายการจัดท าความตกลงการค้าเสรีกับประเทศ คู่ค้าใหม่ ๆ และทบทวนความความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่แล้ว 3. การท างานอย่างบูรณาการของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนการส่งออกตลอดห่วงโซ่มูลค่า และ 4. ผู้ประกอบการ SMEs ควรรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ และเน้นเรื่องการยกระดับคุณภาพ มาตรฐานของสินค้า

abstract:

Abstract Title : Potential Development Strategies for Small and Medium Size Enterprises (SMEs) in entering free market, under ASEAN-China Free Trade Agreement Field : Economics Name : Ms. Buniga Chamsai Course NDC Class 62 Thailand’s 3.3 million Small and Medium Size Enterprises (SMEs) are the key component and the main driver of the country’s economy that create more than 10 million jobs. At present Thailand have successfully negotiated and implemented 13 Free Trade Agreements (FTAs) with 18 partner countries, for example ASEAN, China, India and Australia. The Department of Trade Negotiations is Thailand’s focal point for conducting the negotiations process as well as disseminate all related information of the agreements to the general public, to facilitate and encourage the utilization of FTAs in order to expand trade to the international level, especially the Chinese market through ASEAN-China, which have already eliminated nearly all of the import tariffs for Thai products. However, there are still a number of SMEs who have not been benefited from the FTAs, therefore the Qualitative Research was carried out in order to 1. conduct stakeholder structural analyses 2. analyze SMEs potential and challenges in the international market especially in China 3. analyze trade issues and find solutions 4. make policy and operational recommendations from the Ministry perspective to support the SMEs. Stakeholders from the public and private sectors were interviewed, the result of the SWOT analysis found that 1. the majority of SMEs are small businesses with potential to expand and seek the opportunity to export to FTA partner countries 2. Ministry of Commerce should continue to provide support to SMEs on both policies and measures 3. many SMEs do not understand how to utilize FTAs, have no access to capital and do not add innovation or technology to their production line, mainly due to high cost 4. Chinese market is very competitive and always have price war but consumers trust in Thai products. The policy and operational recommendation have 3 stages, short term (1-3 years) medium term (3-5 year) and long term (5-10 year), where the policy recommendations include 1. use the competitive advantage and focus on National image 2. increase potential of the SMEs by provide access to capital, training and networking 3. implementing negotiation policy and find new FTA partners 4. Enhance standard and quality of the agri-food products, the operational recommendations include 1. Ministry of commerce continues to support the SMEs through export ง promoting programs 2. the Department of Trade Negotiations conclude new FTAs with new partners and review the existing FTAs 3. work closely with other related agencies to facilitate export throughout the supply chain 4. create exporter clusters and focus on improving standards.