เรื่อง: ศุลกากร ๔.๐ เพื่อรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce), (วปอ.9008)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวนิตยา เที่ยงตรงภิญ, (วปอ.9008)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ศุลกากร4.0 เพื่อรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวนิตยา เที่ยงตรงภิญโญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
งานวิจัย เรื่อง ศุลกากร 4.0 เพื่อรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนงาน และขั้นตอนการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรในการน าเข้า
สิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์
ปัญหาและอุปสรรคอันเกิดจากกระบวนงานการให้บริการดังกล่าว และน าเสนอแนวคิดที่เป็นนวัตกรรม
โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรในการน าเข้า
สินค้า e-Commerce ทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และพรรณนาที่ด าเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562-
พฤษภาคม 2563 โดยผู้วิจัยได้มุ่งศึกษาเฉพาะกฎหมาย และขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
ในการน าเข้าสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการไปรษณีย์
ระหว่างประเทศ ณ ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ที่มีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรน าเข้าสินค้า e-Commerce
ตลอดจนการศึกษาแผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ของกรมศุลกากรในการปรับปรุงพิธีการศุลกากร
ทางไปรษณีย์ที่น าเสนอกระทรวงการคลัง แล้วจึงน าข้อมูลมาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนงานการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรส าหรับการน าเข้า
สิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นของที่มีมูลค่ามากกว่า 1,500 บาท
แต่ไม่เกิน 40,000 บาท เป็นไปด้วยความล่าช้า และผู้รับบริการต้องเดินทางไปด าเนินการด้วยตนเอง
ณ ที่ท าการไปรษณีย์ ซึ่งผู้รับบริการเห็นว่าควรมีการเชื่อมโยงระบบระบบติดตามสถานะการผ่านพิธีการศุลกากร
(e-Tracking) ของกรมศุลกากรเข้ากับระบบติดตามสถานะสิ่งของกับไปรษณีย์ไทย (Track & Trace)
โดยให้ระบบดังกล่าวสามารถแสดงราคาประเมิน และภาษีอากร รวมถึงสามารถช าระเงินค่าภาษีอากร
ได้จากระบบดังกล่าวด้วยวิธีการหรือช่องทางที่หลากหลาย และผู้รับบริการสามารถรอรับสิ่งของ
ที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จะน ามาส่งให้ ณ ที่อยู่ของตนโดยไม่ต้องเดินทางไปรับด้วยตนเอง ผู้วิจัยจึงเสนอ
แนวคิดการจัดท าระบบ Trace & Tax เพื่อรองรับความต้องการข้างต้นของผู้ใช้บริการ
ในส่วนข้อเสนอแนะ งานวิจัยฉบับนี้เห็นควรให้มีการบูรณาการระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในการซื้อสินค้า e-Commerce และน าเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ด้วยการค านวณภาษีอากร
และรวมเข้าไปในราคาขายของสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อได้ช าระภาษีอากรตั้งแต่ต้นทาง โดยผู้ขายมีหน้าที่น าส่ง
เงินค่าภาษีอากรที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วจากผู้ซื้อแก่ภาครัฐ นอกจากนี้งานวิจัยยังได้เสนอให้มีการจัดท า
ระบบออนไลน์เพื่อรองรับการส าแดงข้อมูลสินค้าล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง และการโต้แย้งการประเมิน
ราคา และภาษีอากร รวมทั้งเสนอแนะให้มีการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบกระบวนงานการให้บริการ
ด้านพิธีการศุลกากรในการน าเข้าสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งอาจช่วยให้
การปรับปรุงกระบวนงานการให้บริการดังกล่าวของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ และรองรับการเติบโต
ของ e-Commerce ได้ดียิ่งขึ้น
abstract:
Abstract
Title Customs 4.0 for e-Commerce
Field Economics
Name Nitaya Teingtrongpinyo Course NDC Class 62
The research on Customs 4.0 for e-Commerce is aimed at examining
Customs procedures and formalities for imported international parcels, identifying
bottlenecks in such processes and suggesting digital innovation to enhance Customs
services relating to such importation of e-Commerce parcels.
This research is a qualitative and descriptive study starting from
December 2019 to May 2020. During the research, Customs laws and procedures for
the importation of international parcels as well as “Quick Win” Operational Plan
proposed by the Thai Customs Department to the Ministry of Finance were
examined. Also, Customs clients at Laksi Mail Center were interviewed. The collected
data was then analysed.
The research results reveal that the Customs procedure for the importation of
the parcels under Category 2, which are of the value over 1,500 baht but not
more than 40,000 baht, is often delayed and requires clients to undergo
Customs formalities at post offices. The researcher, therefore, suggests that the
Thai Customs Department’s e-Tracking system be interfaced with Thailand Post’s
Track & Trace system and be enabled to provide Customs clients with the
information on Customs value, duty and taxes as well as to receive payments of
such liabilities. It is also suggested that the Customs clients be offered various
choices of payment methods and international parcel delivery service. The
researcher proposes that the Thai Customs Department and Thailand Post
cooperate in creating such integrated system with the name “Trace and Tax” to help
save time and costs for their clients.
Also, the researcher suggests that duty and taxes are calculated and
included in the final price of the goods so that buyers/Customs clients can pay such
liabilities at the time of purchase. With the proposed suggestion, merchants are liable for
transferring the collected amount of duty and taxes to the government. In addition,
an online system for goods declaration prior to arrival and for disputes with regard to
Customs valuation and duty and taxes collection is recommended. Apart from that,
a comparative study of Customs procedures for international parcel importation in
different countries is suggested to help enhance Thai Customs’ procedures and
consequently facilitate e-Commerce to an even greater extent.