Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้, (วปอ.9004)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์, (วปอ.9004)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์และสรุปบทเรียนการขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ (เมื่อพฤษภาคม 2557) โดยเน้นการขับเคลื่อนภารกิจงานในส่วนกลาง และ 2. จัดท าข้อเสนอแนวทาง การเสริมสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระยะต่อไป โดยก าหนดตัวแปรส าคัญที่ส่งผลต่อ “เอกภาพและประสิทธิภาพ” ในการขับเคลื่อนงาน คือผู้รับผิดชอบภารกิจงาน และระบบบริหารจัดการของกลไกหลักและหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบ ในภาพรวม ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลการด าเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2562 (5 ปี) และข้อมูลผลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่คัดเลือกผู้รับผิดชอบภารกิจงาน ของ 3 หน่วยงานกลางและ 2 หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบมิติงานส าคัญ ผลการศึกษาสรุปว่า 1. บทเรียนส าคัญจากการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในช่วง 5 ปี (ปี 2558-2562) ของรัฐบาลโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ความส าคัญกับผู้รับผิดชอบภารกิจงาน ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีข้อจ ากัดเรื่อง ความพร้อมขับเคลื่อนงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และให้ความส าคัญกับระบบบริหาร จัดการ ที่ยังมีข้อจ ากัดเรื่องการพัฒนากระบวนการด าเนินงานที่ได้มาตรฐานและไม่มีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัยและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานร่วมกัน และ 2. แนวทางการ เสริมสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะ ต่อไปให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพิ่มมากขึ้น จ าเป็นต้องเร่งด าเนินการพัฒนา ให้ผู้รับผิดชอบภารกิจงานมีความพร้อมขับเคลื่อนงานได้อย่างต่อเนื่อง และเร่งปรับปรุงพัฒนา ออกแบบระบบบริหารจัดการของกลไกหลักและหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบในภาพรวม รวมทั้ง หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบมิติงานด้านส าคัญ (ด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนา) ให้พร้อม ด าเนินงานบนระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลส าคัญได้ตลอดเวลาและ ทุกระดับการขับเคลื่อนงาน โดยมุ่งเชื่อมโยงระดับกระทรวง กรมในส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน ในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะส าคัญให้ กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) น าผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ไปพิจารณาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อด าเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ได้มอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานเจ้าภาพน าประกาศ คสช. และค าสั่ง คสช. ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปพิจารณาเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เพื่อรองรับการด าเนินงานในระยะยาวต่อไป

abstract:

Abstract Title Guidelines for Enhancing Unity and Effectiveness on Solving Problems for Southern Border Provinces Field Strategy Name Mr. Nanthapong Suwanarat Course NDC Class 62 The research aims to 1. study analyze and summarize the lesson learned of central agencies’ missions on problem solving for Southern Border Provinces under the administration of the National Council for Peace and Order : NCPO (May 2014) and 2. conduct guidelines for enhancing unity and effectiveness on problem solving for Southern Border Provinces in next phase. Variables are responsible persons and administrative system of core responsible agencies. The data includes operations information during 2015 - 2019 fiscal years (5 years) and in-depth interviews representatives from 3 central and 2 core responsible agencies. The summaries are as follows 1. As the solution in the 3 Southern Border Provinces of Thailand launched by NCPO (2015-2019), the implementation remains substandard, with an insufficient technological system, the limitation of operational standard and lack of updated IT system. 2. To strengthen the integrity and effective resolution of Southern Border Provinces of Thailand, the crucial stage is Improving personnel and management to become more related, leading to the efficiency of data preparing for big data and IT systems and sharing both central government and subdivision. The recommendation is for Internal Security Operations Command : ISOC to exercise its power with adaption to situations. The Cabinet Resolution on May 2019has assigned ISOC as core responsible agencies to compile NCPO’ announcements and orders for conducting appropriated measure and guidelines for long-term operation.