เรื่อง: การพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศ, (วปอ.9003)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก นวกร สงวนศักดิ์โยธิน, (วปอ.9003)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศ
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พันเอก นวกร สงวนศักดิ์โยธิน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศ มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศ และเพื่อเสนอแนวทาง
การพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีคู่มือราชการสนาม และแผนการปฏิบัติ
เกี่ยวข้อง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นบุคลากร
ที่ปฏิบัติงานในหน่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบการปฏิบัติงานในการป้องกันภัยทางอากาศโดยตรง
และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สังเคราะห์และตีความ เพื่อสร้างข้อสรุปเชิงนามธรรมตาม
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของระบบการปฏิบัติในการป้องกันภัย
ทางอากาศ การแบ่งมอบความรับผิดชอบในการป้องกันภัยทางอากาศของเหล่าทัพ ยังมีความซ้ำซ้อนกัน
ในบางพื้นที่ จึงเป็นปัญหาในการประสานแผนขั้นต้น ไม่มีการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยทหารกับ
ภาคพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยทางอากาศ ทำให้การปฏิบัติในการป้องกันภัยทางอากาศ
กับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนไม่เป็นรูปธรรม แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๕๘ ในเรื่องของภัยทางอากาศยังไม่มีรายละเอียดในการปฏิบัติ แนวทางการพัฒนาระบบฯ
จัดให้มีการวางแผน ประสานงาน และดำเนินการร่วมกันทุกภาคส่วนราชการ ภาคเอกชน และ
กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการป้องกันภัยทางอากาศ
ตั้งแต่ยามปกติ รวมไปถึงการประสานและจัดทำแผนร่วมกับกองอำนวยการป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภออีกด้วย
กรมยุทธการทหาร ควรจัดให้มีการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยทางอากาศ
ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดเป็นงานประการหนึ่งในการฝึกร่วมกองทัพไทย สำหรับ
กองทัพบก การฝึกพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง กรมยุทธศึกษาทหารบกควรจะกำหนดกิจดังกล่าวให้อยู่ใน
งานการฝึกของกองทัพภาคด้วย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติร่วมกัน และนำมาซึ่งการปรับปรุงแผนให้มี
ความสมบูรณ์ขึ้น ในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยควรปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยแห่งชาติให้มีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ รองรับภัยทางอากาศให้ชัดเจน เพื่อให้
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับภัยทางอากาศได้มีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน
abstract:
ABSTRACT
Title The Development of Air Defense Operating System
Field Military
Name Colonel Nawakorn Sanguansakyothin Course NDC Class 62
The objectives of this qualitative research on the development of air
defense operating system are to study the present air defense operating system and
to propose the guidelines for the efficient development. The researcher conducted a
study on concepts, related theories, field manuals and relevant action plans. The
collection of primary data in this research was conducted from in-depth interviews
with key informants who are working directly related to air defense operating system.
The data were summarized according to determined criterions, then analyzed,
synthesized and interpreted to obtain abstract conclusion of research objective.
The researchfound that there are many problems in air defense operating
system. There are many overlap areas for air defense in each armed force, then it is
difficult to coordinate the initial plan. The air defense practice with the Civil Defense
Command is ineffective because there is no joint training. The issue of air hazards in
The National Disaster Prevention and Mitigation Plan 2015 has not yet detailed in the
implementation guidelines for system development and plan coordination between
the private sector and the National Disaster Prevention and Mitigation Command in air
defense responsibility. The Provincial Disaster Prevention and Mitigation Division and the
District Disaster Prevention and Mitigation Division should be included in plan
coordination as well. Joint training among air defense-related units in military and
civilian should be conducted by Directorate of Joint Operations and designated as one
of the training tasks. For Royal Thai Army, Army Training Command should assign
training to protect the communication zone in the rear part of the theater of war. For
the National Disaster Prevention and Mitigation Command, the National Disaster
Prevention and Mitigation Plan should be revised in order to have clear laws, regulations
and orders to support air hazards, then the government agencies involved in air hazards
will have a common practice guideline.