เรื่อง: การพัฒนาการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, (วปอ.8976)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายทศพล อินทรทัต, (วปอ.8976)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายทศพล อินทรทัต หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลในปัจจุบัน
2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลของไทยและ 3) เสนอแนวทาง
ในการพัฒนาการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอลของไทยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวบรวมข้อมูล
จาก การสัมภาษณ์เชิงลึก ทีมผู้บริหาร นักกีฬา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทีมสโมสรสมุทรปราการซิตี้
จ านวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) และการวิเคราะห์
เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า ผลส าเร็จของการแข่งขันกีฬาฟุตบอลไปสู่อาชีพ ประกอบด้วย 1)
บุคลากรกีฬาฟุตบอล 2) ประชาชนสนใจเข้าชมการแข่งขัน 3) บุคลากรด้านการกีฬา 4) มีการอบรม
สัมมนาผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน และผู้บริหารทีม และ 5) การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อเยาวชนให้รักการเล่น
กีฬา และการดูกีฬาฟุตบอล ส าหรับปัญหา และอุปสรรคของการบริหารจัดการทีมสโมสรฟุตบอล
ของไทย โดยใช้ทีมสโมสรสมุทรปราการซิตี้ เป็นกรณีศึกษา ประกอบด้วย 7 ประเด็นได้แก่ 1) ด้าน
บุคลากร (People) 2) ด้านทรัพยากร (Resources) 3) ด้านนวัตกรรมและความคิด (Innovations
and Ideas) 4)ด้านการตลาด (Marketing) 5)ด้านการปฏิบัติ (Operations) 6)ด้านการเงิน (Finance)
และ 7) ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณค่าสโมสรฟุตบอลอาชีพ จากการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัย
ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการพัฒนาการกีฬาฟุตบอลได้ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้1) ยุทธศาสตร์
ด้านการบริหารทรัพยากรกายภาพ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรการเงิน 3) ยุทธศาสตร์
ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์4) ยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5)
ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ข้อเสนอแนะ 1) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องควรน าผลการวิจัย
ไปปรับใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
ในพื้นที่ของตนเองได้เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และรองรับ
การเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอนาคต และ 2) สโมสรฟุตบอลไทยควรมีการด าเนิน
กลยุทธ์ด้านการบริหารองค์กร การจัดโครงสร้างองค์กร บุคลากร ประกอบด้วย การจัดฝึกอบรม
ความรู้ความเข้าใจเรื่องกีฬาฟุตบอล การให้บริการแฟนบอลอย่างมืออาชีพ รวมทั้งการสรรหาและ
ซื้อขายนักฟุตบอลที่มีความสามารถระดับสูงและบุคลิกภาพที่โดดเด่นทั้งในและนอกสนาม
abstract:
Abstract
Title Development of Football Club Management for Economic Driving
Field Economics
Name Mr.Thotphon Intharathat Couse NDC Class 62
The study of development of football club management for economic driving
aimed to 1) study current situation of football club management, 2) analyze problems and
obstacles of football club management in Thailand, and 3 ) propose guidelines for the
development of football club management for economic driving in Thailand. Researcher
had collected information from In-depth interviews of 20 management team, athletes and
stakeholders of Samut Prakarn City Football Club then analyzed by using context analysis
and comparative analysis including synthesized relevant theoretical information. The
research findings could be summarized as follows;
The results showed that the achievements of driving football to a career
comprised of 1) football personnel, 2 ) people interested in watching the
competition, 3 ) sports personnel, 4 ) training for referees, coaches and team
executives, and 5) cultivating a positive attitude towards youth to love playing and
watching football. For problems and obstacles of managing a football club in
Thailand, in case of the Samut Prakan City Football Club, there were 7 issues namely
1 ) people, 2 ) resources, 3 ) Innovations and Ideas, 4 ) marketing, 5 ) operations, 6 )
finance, and (7) strategic management for the development of professional football
club values. From these research, the researcher had proposed 5 suitable strategies
for football development as follows; 1) physical resource management strategy, 2 )
financial resource management strategy, 3) human resource management strategy, 4)
information technology resources strategy, and 5) sports tourism management strategy.
The researcher had proposed 2 suggestion as follow; 1 ) government
agencies, private sector and relevant communities should apply the research results
to sports tourism management of professional football clubs in various tourist spots
in their area becoming a tourist destination of higher quality and efficiency and
supporting the tourists in the future and 2 ) Thai football clubs should have the
organizational management, the organization structure and the personnel strategies
which consists of training for understanding about football, providing professional like
services for football fans, and recruiting and trading highly-talented footballers and
outstanding personalities, both on and off the field.