เรื่อง: แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้สังเกตการณ์ ตามข้อตกลงคุณธรรมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, (วปอ.8974)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายทศพร รัตนมาศทิพย์, (วปอ.8974)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมในการจัดซื้อ
จัดจ้างภาครัฐ
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายทศพร รัตนมาศทิพย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้
เมื่อ 23 สิงหาคม 2560 เป็นเครื่องมือส าคัญที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติ
มิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ท าให้เกิดความโปร่งใสและก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน
งบประมาณ โดยก าหนดให้มีการจัดท าข้อตกลงคุณธรรมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่าง
หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการ ที่ตกลงกันว่าจะไม่กระท าการทุจริตในการ
จัดซื้อจัดจ้างและให้มีผู้สังเกตการณ์อิสระ ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์เข้าร่วม
สังเกตการณ์ตลอดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวในทุกขั้นตอน
จากรายงานผลการด าเนินการตามข้อตกลงคุณธรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562
โดยองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) พบว่า มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรม
จ านวน 105 โครงการ รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,800,066 ล้านบาท สามารถประหยัด
งบประมาณได้สูงถึง 97,013 ล้านบาทจากการท างานของผู้สังเกตการณ์ โดยคิดค านวณเงินที่ประหยัด
ได้จากจ านวนเงินส่วนต่างระหว่างราคาผู้ชนะการประมูลกับราคากลางที่หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ก าหนด อย่างไรก็ตามจากกรณีศึกษาพบข้อไม่สมบูรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ แบบข้อตกลงคุณธรรม
การปฎิบัติหน้าที่ของผู้สังเกตการณ์ ทั้งในส่วนของการลงนามข้อตกลงคุณธรรม การสังเกตการณ์
การแสวงหาข้อเท็จจริง การรายงานการสังเกตการณ์ ประเด็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย รวมทั้ง
การพ้นสภาพจากการเป็นผู้สังเกตการณ์ในโครงการ จึงจ าเป็นต้องมีการปรับปรุงแบบข้อตกลง
คุณธรรมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีการก าหนดระเบียบ ขั้นตอนการท างานของผู้สังเกตการณ์
ที่ผู้สังเกตการณ์จะต้องปฎิบัติตามประกาศคณะกรรมการ คปท.ฯ โดยเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
abstract:
Abstract
Title : Development of the Roles of Independent Observer of Integrity
Pact for Public Procurement
Field : Politics
Name: Mr. Thodsaporn Rattanamastip Course NDC Class 62
Public Procurement Act B.E. 2560 (2017) entered into force on August 23,
2017. The new law is the key instrument in preventing fraud and restricting corrupt
practices in public procurement leading to be more transparency and effective use
of government budget. Integrity pact agreement is a written commitment between
government agencies and all bidders for a public sector contract not to resort to any
corrupt practices and allow independent observers who are specialist with
knowledge and experiences to observe the procurement process at all stage of the
contract.
According to the progress report of Integrity Pact used during 2015-2019
issued by the Ant-Corruption Organization of Thailand, a total of 97,013 million baht
can be saved from 105 public procurement projects worth of 1,800,066 million baht
calculating from the difference between the actual bidding prices and allocated
budget. However, our study reveals rooms for improvements in the areas of the
Integrity Pack agreement, the role of independent observers in monitoring,
investigating and reporting, legal Liability, and the termination of observers. It is
necessary to revise the integrity pact agreement to be more complete by set up
independent observers’ rules and regulations to strictly adhere to the
announcement made by the Anti-Corruption Cooperation Committee in line with the
intent of Public Procurement Act B.E. 2560 (2017)