Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยด้านการปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ ภายใต้บริบทของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี, (วปอ.8962)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ณัฐวุฒิ สบายรูป, (วปอ.8962)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ในกรอบสหประชาชาติ ภายใต้บริบทของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลตรี ณัฐวุฒิสบายรูป หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค/ข้อขัดข้อง ของการขาด การบูรณาการในภาพรวมของประเทศไทยในการเข้าร่วมภารกิจเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติและ พิจารณาจัดท าแผนงาน/แนวทางที่จะบูรณาการงานด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของประเทศไทย และของกองทัพไทย อันเป็นการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ในกรอบสหประชาชาติ ให้มีความสอดคล้องและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคง ของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีโดยจะท าการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ของสหประชาชาติการขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียนด้านความมั่นคง และการเข้าร่วมในปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพของประเทศไทยและกองทัพไทย เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และ จุดอ่อน ในการด าเนินงานด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของประเทศไทยและกองทัพไทย ในกรอบ สหประชาชาติและอาเซียน แล้วพัฒนาแนวทางในการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยด้านการ ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติ ให้สนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยได้ ท าการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัย ประกอบการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพของประเทศไทย การวิจัยประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนได้แก่ ๑) การศึกษาภาพรวมทางยุทธศาสตร์ ๒) การประเมินสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และขีดความสามารถระดับยุทธศาสตร์ และ ๓) การออกแบบยุทธศาสตร์และแผนงาน จากการวิจัยตามขั้นตอนทั้ง ๓ ขั้นตอน สามารถก าหนด วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์/แนวทางการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ในกรอบสหประชาชาติภายใต้บริบทของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีคือ “ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะ เข้าร่วมในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติ และมีบทบาทน าในการด าเนินความร่วมมือ ของอาเซียนในด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนการรักษาความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติในเวทีสหประชาชาติและอาเซียน” มีพันกิจหลักที่ต้องด าเนินการจ านวน ๓ พันธกิจ ได้แก่ ๑) พันธกิจการด าเนินงานด้านสันติภาพและความมั่นคงของไทยในกรอบ สหประชาชาติซึ่งมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในงานด้านสันติภาพและความมั่นคงของสหประชาชาติ รวมถึง การด ารงการสนับสนุนก าลังบุคคลและหน่วยให้กับภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ๒) พันธกิจ การขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียนด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนความร่วมมือ ที่ด าเนินการในกรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของอาเซียน รวมทั้งประเทศคู่เจรจาอาเซียน และ ๓) พันธกิจการพัฒนาขีดความสามารถ ของไทยด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และการพัฒนาความร่วมมือกับมิตรประเทศ โดยมีเป้าหมายข ให้ไทยเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศของภูมิภาคด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และพัฒนาการบริหาร จัดการด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของไทยให้เกิดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถต่อยอดการวิจัยในอนาคตโดยการด้วยการจัดท ายุทธศาสตร์/แผนงานด้านการปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพในระดับหน่วยงาน เช่นจัดท าแผนพัฒนาศักยภาพกองทัพไทยด้านการปฏิบัติการเพื่อ สันติภาพต่อไป

abstract:

Abstract Title Strengthening Roles of Thailand in UN Peace Operations with in the Context of Thailand’s 20-Year National Strategy Field Strategy Name Major General Nattawut Sabyeroop Course NDC Class 62 The purpose of this research is to study the challenges and obstacles of the lack of integration of efforts among all Thai authorities involving in the participation of Thailand to UN peace operations and its related activities. It is further aimed at developing strategies for strengthening Thailand’s roles in UN peace operations within the context of a 20-year National Strategy through an integrated effort of Thai authorities. The study will examine theoretical concepts of UN Peace Operations, ASEAN’s peacekeeping collaboration, and the participation of Thailand and its Armed Forces to peace operations so as to identify strengths, weaknesses, opportunities and treats to Thailand’s undertaking of UN peace operations and ASEAN peacekeeping collaboration and subsequently to develop strategic plans to address those challenges. This research employs qualitative approach. Primary and secondary data were collected through documents, concepts, theories from relevant research results. In-depth and focus group interviews with relevant Thai authorities were conducted to identify challenges and feasible remedies. The study undertakes three steps of data analysis and synthesis; 1) a study of strategic environment at international, regional and national level to identify key relevant issues, 2) an analysis of strategic environment using of Strategic Environment Scanning and Strategic Capability Assessment techniques to identify strengths, weaknesses, opportunities and treats, and 3) a synthesis of strategies through Strategic Formulation Process for strengthening Thailand’s role in UN Peace Operations. Through three-step analytic and synthetic approach, a vision statement of a formulated strategy is “Thailand is ready to participate and support UN Peace Operations as well as playing active and leading roles in ASEAN peacekeeping collaboration”. The strategy comprises three main missions; a) an engagement of Thailand with the UN Peace and Security initiatives and maintaining the deployment of Thai personnel to UN Peace operations, b) support and promote ASEAN peacekeeping collaboration conducted under the frameworks of ASEAN Defence Ministers’ Meeting and ASEAN Regional forum, and c) strengthening international cooperation and developing national peacekeeping capabilities emphasizing on ง elevation of peacekeeping training and education standard as well as reforming business process to enable integration of efforts among all Thai authorities. The research recommends that organization-level strategies, such as Military Strategy in Peace operations, should be further formulated and in line with a national peace operations strategy and a 20-year National Strategy to ensure successful implementation of the strategy synthesized in this study.