เรื่อง: แนวทางการนำลักษณะเฉพาะมาใช้กับการพิจารณา พิพากษาคดีลิขสิทธิ์, (วปอ.8944)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายจุมพล ภิญโญสินวัฒน์, (วปอ.8944)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการน าลักษณะเฉพาะมาใช้กับการพิจารณาพิพากษาคดีลิขสิทธิ์
ลักษณะวิชา การเมือง (Politics)
ผู้วิจัย นายจุมพล ภิญโญสินวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
การคุ้มครองสิทธิในลิขสิทธิ์รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นมีสาะส าคัญที่เรียกว่า
ลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการคุ้มครองทรัพย์ที่มีรูปร่างทั่วไปหลายประการ ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ
ลิขสิทธิ์มีลักษณะส าคัญที่ไม่มีรูปร่าง กฎหมายลิขสิทธิ์จึงเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิที่ไม่มี
รูปร่าง ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายลักษณะทรัพย์โดยทั่วไปที่คุ้มครองทรัพยสิทธิของทรัพย์ที่มีรูปร่าง
อย่างเช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ลักษณะเฉพาะดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อการพิจารณาพิพากษาคดี
ลิขสิทธิ์ของศาลในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย งานวิจัยฉบับนี้ต้องการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ
ดังกล่าวของลิขสิทธิ์ในเกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาหลัก 2 ส่วนคือ ประวัติศาสตร์
ของกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศอังกฤษและแนวคิดเชิงปรัชญากับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของจอห์น ล็อค
(John Locke), แกยอร์จ วิลแฮมล์ ฟรีดริกช์เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และคาร์ล มาร์ก
(Karl Marx)
ผลการศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศอังกฤษและ
แนวคิดเชิงปรัชญากับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ดังกล่าว ได้ผลสรุปว่าลักษณะเฉพาะของลิขสิทธิ์ที่ต้อง
น ามาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ส าคัญที่สุด 3 ประการคือ ลักษณะที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible
Form), ลักษณะที่เป็นสิทธิผูกขาด (Monopoly Right) และความจ าเป็นต้องสร้างความสมดุล (Need
to Balance)
จากนั้น งานวิจัยได้น าลักษณะเฉพาะดังกล่าววิเคราะห์เทียบกับเหตุผลที่ใช้ในค า
พิพากษาของศาลต่างประเทศและศาลฎีกาของไทย ซึ่งพบว่าในข้อพิพาทที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน
บางคดีได้ผลค าพิพากษาตรงข้ามกัน บางคดีได้ผลค าพิพากษาในทางเดียวกันแต่ศาลฎีกาเลี่ยงไป
วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแทน และบางคดีได้ผลค าพิพากษาในทางเดียวกันโดยศาลฎีกาจ ากัดการ
ให้เหตุผลทางกฎหมาย
งานวิจัยฉบับนี้เสนอแนวทางการน าลักษณะเฉพาะมาใช้กับการพิจารณาพิพากษาคดี
ลิขสิทธิ์ ว่าศาลควรต้องค านึงถึงลักษณะเฉพาะของลิขสิทธิ์ในการพิจารณาพิพากษาคดี กล่าวคือ
ลักษณะที่ไม่มีรูปร่าง, ลักษณะที่เป็นสิทธิผูกขาด และความจ าเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่าง
ประโยชน์สาธารณะและสิทธิผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างเหมาะสม รวมทั้งเสนอว่าควรน าลักษณะ
เฉพาะที่เกี่ยวข้องของลิขสิทธิ์มาใช้เป็นเหตุผลในค าพิพากษาคดีลิขสิทธิ์เพื่อให้เหตุผลในการวินิจฉัย
ชัดเจนขึ้น
abstract:
Abstract
Title Adjudicating Copyright Cases Under its Characteristics
Field Politics
Name Mr. Jumpol Pinyosinwat Course NDC Class 62
Copyright and other intellectual property rights protection is different
from tangible property protection, due to its unique characteristics. An obvious
character is copyright is intangible, unlike tangible asset—for instance; land, house,
car. Copyright characteristics effect the court adjudication in every country, including
Thailand. This research therefore is aimed to examine copyright characteristics
through two main sources—copyright history in the United Kingdom and
philosophical interpretation of John Locke, Georg Wilhelm Friedrich Hegel, and Karl
Marx.
The learning of copyright history in the United Kingdom and philosophical
interpretation provides decent conclusions of 3 most important characteristics of
copyright-- intangible form character, monopoly right character, and the need to
balance the private right and public interest.
The research further observes the court reasoning used from Thai court
and the U.S. court and reveals that in cases those share similar facts, some obtain
opposite results, some deviate to the fact issue, and some provide very limit
reasoning.
This research therefore proposes court to emphasis more on copyright
characteristics, which are intangible form character, monopoly right character, and
the need to balance the private right and public interest. Furthermore, the research
proposes the court to provide proper and adequate reasonings on copyright
characteristics.