เรื่อง: แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐), (วปอ.8937)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. คมิก ไม่เศร้า, (วปอ.8937)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ของสำนักงานปลัด
กระทรวงกลาโหม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580)
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี คมิก ไม่เศร้า หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของสำนักงานประสานภารกิจด้านความ
มั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษานโยบายความมั่นคง
แห่งชาติ(2) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ของ สง.ปรมน.ศปสท.สนผ.กห. (3) เสนอแนวทางการ
พัฒนาบทบาทและหน้าที่ของ สง.ปรมน.ศปสท.สนผ.กห. ให้สอดคล้องกับความมั่นคงของชาติการ
ศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การศึกษาค้นคว้ารวบรวม
ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสาร ทฤษฎีแนวคิด การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา
บทบาทหน้าที่ในการประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักรโดยเน้นการบริหารจัดการในสองส่วนกล่าวคือ ระบบคน และระบบงาน ให้สอดคล้อง
กับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเปรียบเทียบในรูปแบบของการวิเคราะห์หาความแตกต่าง
(Gap Analysis) ระหว่างบทบาทหน้าที่ในปัจจุบันกับแนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน
ประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ของ
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580)
ผลของการวิจัยพบว่า มีแนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ 3 แนวทางโดยใช้หลักการ
วงจรคุณภาพที่มีจุดวิกฤต(Criteria Point) เป็นจุดการประเมินซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ในปัจจุบัน ได้แก่
(1) แนวทางพัฒนาบทบาทการบริหารกำลังพล (2) แนวทางการบริหารวัตถุดิบ โดยทั้งสองแนวทาง
ควรเพิ่มบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมพิจารณาการจัดสรรกำลังพลและการจัดสรรวัตถุดิบ
รวมถึงงบประมาณ ยุทธภัณฑ์(3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการซึ่งมี5ด้าน (ด้านการวางแผน ,
การจัดองค์การ, การจัดคนเข้าทำงาน , การจัดการ และการควบคุม) ควรมีการปรับบทบาทหน้าที่ให้
มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยการร่วมวางแผนดำเนินการ การร่วมพิจารณาจัดสรรกำลังพล การจัดองค์กร
ภายใน กอ.รมน. โดยต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลในส่วนปลายน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถนำ
ข้อมูลดังกล่าววิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้นได้จริงทั้งนี้ต้องอาศัยบุคลากร
ด้านกรรมวิธีข้อมูลภายใน สง.ปรมน.ศปสท.สนผ.กห. เพื่อเพิ่มศักยภาพของข้อมูล(Data) ทั่วไปให้เป็น
ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ สามารถพัฒนาประเทศได้ตามแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับ
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติได้ตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในเชิงนโยบายและภาพรวมของ
หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ ให้มีความสอดคล้องกับความมั่นคงแห่งชาติอย่างยั่งยืน
abstract:
Abstract
Title Guidelines for the development of roles and duties of the Office
of Security Affairs Coordination to the Internal Security Operations
Command (ISOC), Office of the Permanent Secretary for Defence
in accordance with the National Strategy (2018 – 2037)
Field Military
Name Major General Kamic Maisao Course NDC Class 62
The Research on the topic “Guidelines for the development of roles and
duties of the Office of Security Affairs Coordination to the Internal Security Operations
Command (ISOC), Office of the Permanent Secretary for Defence in accordance with
the National Strategy (2018 –2037)”has 3 objectives which are 1) to study the national
security Policy 2) to study and analyze roles and duties of the office of Security Affairs
Coordination to the ISOC and 3)propose guidelines for the development of roles and
duties of the office of Security Affairs Coordination to the ISOC in line with National
Security Policy.
This research is qualitative research by using research study, collecting
basic information from theoretical documents, literature review about guidelines for
developing roles and duties in coordinating with the ISOC by focusing on 2 parts: 1)
Human resource System and 2) tasks system in the line with the National Security
Policy in order to compare in the form of a difference analysis (Gap Analysis) between
the current roles and the Guidelines for the development of roles and duties of the
Office of Security Affairs Coordination to the ISOC, Office of the Permanent Secretary
for Defence in accordance with the National Strategy (2018 – 2037)
The result of the research were found that there were 3 approaches for
the development of roles and functions,using the Criteria Point Quality cycle principles
as the assessment point which is the current role as follows: 1) Manpower Management
Development Roles 2)Raw Material Management Roles. Both guidelines should
increase the roles of determining participation in personnel allocation and material
allocation including budget and armament 3) Management development Approach
which includes 5 areas: planning, organizing, staffing, management and control should
be adjusted to have relevant duties. By having jointly plan undertake, jointly consider
the allocation of personnel and the organizing within the ISOC. In this process, there
must be the correct data management to analyze the root cause of the security
problem that actually occurred. There should be the intelligence staff in the Office of
Security Affairs Coordination to the ISOC, Office of the Permanent Secretary for Defence
who can increase the potential of general information (data) to be useful information.
This will develop the country according to the development guidelines in accordance
with the National Security Policy, in terms of policy and overall view of the national
Security agencies sustainably.