Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, (วปอ.8934)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, น.อ. คมกริช นันทวิสุทธิ์, (วปอ.8934)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก คมกริช นันทวิสุทธิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสถาบันการศึกษาในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการขัดเกลาทางสังคมส าหรับสังคมพหุ วัฒนธรรม และเพื่อหาแนวทางพัฒนาสถาบันการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการยอมรับในความหลากหลายของอัตลักษณ์ขอบเขตของ การวิจัยด้านเนื้อหา ศึกษาวิเคราะห์สภาพสถาบันการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย วิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูล ต.ค.๖๒ - ก.ค.๖๓ ส าหรับวิธีด าเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ปัญหา คือ ขาดความปลอดภัย เกิดความอ่อนแอของระบบการศึกษาสามัญ การศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ขาดการบูรณาการและขาดความสมดุลระหว่าง หลักสูตรศาสนากับหลักสูตรสามัญ บทบาทสถาบันการศึกษาคือ การลดความรุนแรงด้วยการศึกษา ต้องส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยพุทธ - มุสลิม ให้ความรู้ทางวิชาการ พร้อมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการให้เยาวชนมีทักษะสังคมในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ระหว่างกัน สถาบันการศึกษามีผลต่อกระบวนการขัดเกลาทาง ความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรม ในทางที่ถูกต้อง การจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมเป็นการจัดการศึกษาที่มีความแตกต่างทางด้าน วัฒนธรรมให้เกิดความเข้าใจกัน ตระหนักรู้และเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม จัดหลักสูตรให้มี ปฏิสัมพันธ์โดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมโดยมีการจัดกิจกรรม ต่างๆ ส าหรับข้อเสนอแนะ ควรน ารูปแบบการบริหารแบบพหุวัฒนธรรมศึกษาไปปรับใช้ตามความ เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเท่าที่ระเบียบข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการเอื้ออ านวย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรให้มีการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ปรับปรุงระเบียบต่อการกระจายอ านาจ การบริหารจากส่วนกลางที่น าไปปฏิบัติด้วยความคล่องตัว ลดความเหลื่อมล้ าและความไม่เป็นธรรม ทางการศึกษา ต้องเสริมศักยภาพของชุมชนและสร้างความร่วมมือระหว่างชาวไทยพุทธ - มุสลิมใน ชุมชนหรือระหว่างชุมชน

abstract:

Abstract Title: The Guideline on the Development of Fundamental Education Management in the Three Southern Border Provinces. Subject: Social Psychology Researcher: Group Captain Komkrich Nunthavisuth, Course NDC Class 62 This research has objectives to study conditions of educational institutes in the three southern border provinces, to study problems and obstacles that affect the socialization in the multicultural society and to find out the guidelines on the development of educational institutes in the three southern border provinces for learning interactionand exchangetoinitiatetheacceptanceof diversity inidentity.The scopeof this research, the study and analysis were conditionsofeducational institutes in three southern border provinces. The data were collected from October 2019 - July 2020. For the research implementation, the research was considered qualitative research. According to the research results, problems were comprised of security lacking, weakness in the normal educational system, non - responding of education toward the local needs, and lacking of integration and balance between the Islamic religion study program and normal education program. Roles of the educational institutes were Reducing violence through education, supporting of multicultural society, focusingon the interactions between Buddhist - Muslim people, disseminating ofacademic knowledgeinalignment with morals and ethics, and integrating theyouths in terms of social kills, interactions and communications. The educational institutes have impacts on the socialization processes, thoughts, beliefs and acceptable behaviors. The multiculturally educational management is the educational that is different culture. To understand each others. awareness and realization of cultural diversity. The multiculturally educational program can be interactions by combining knowledge contents, that are suitable for social context through activities. The key suggestions are such as : that the management of multiculturally education should be applied and adopted in the school contexts, as far as the regulations by the Ministry of Educationcover. Change the course structures tohave more Thai language learning. Improve regulations for centralized management authority that can be implemented with flexibility. This will reduce the educational overlapping and unfairness. Besides, community’s potentials should besupported and promoted, whereas thecooperation between Thai Buddhist people and Muslim people should be built, complying with the community to community cooperation.