Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: บทบาทของกองทัพเรือในแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน อีก ๑๐ ปีข้างหน้า, (วปอ.8930)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ร.ท. โกวิท อินทร์พรหม, (วปอ.8930)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง บทบาทของกองทัพเรือในแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ในภูมิภาคอาเซียน อีก ๑๐ ปีข้างหน้า ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พล.ร.ท.โกวิท อินทร์พรหม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใน สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า รวมทั้งผลกระทบจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในด้านยุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศ มหาอ านาจและประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคนี้ แนวคิด ทฤษฎี นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเล ส าหรับมาใช้เป็นแนวทางใน การก าหนดบทบาทของกองทัพเรือ ในแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าอย่างเหมาะสม โดยมีขอบเขตการวิจัยเฉพาะ ผลกระทบที่มีต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้กลไกตามข้อตกลงระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ ที่ กองทัพเรือรับผิดชอบในห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ ด าเนินการวิจัยในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า จากผลกระทบของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมฯ ในอีก ๑๐ ข้างหน้า ทร.จะมีบทบาทตามแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลใน ภูมิภาคอาเซียน ในการผลักดันแนวคิดการจัดตั้งกองก าลังทางเรือผสมปฏิบัติทางทะเลในทะเลจีนใต้ ตามกรอบปฏิญญาว่าด้วยทะเลจีนใต้การผลักดันการจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจผสมเพื่อภารกิจการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติทางทะเล เช่น การลักลอบสิ่งของหรือบุคคลโดยผิด กฎหมายทางทะเล โจรสลัด การก่อการร้ายทางทะเล การท าประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและ ไร้การควบคุม รวมทั้งการจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจผสมเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบัติ โดยมีแนวคิดในการขยายผลจากการปฏิบัติในกรอบความร่วมมือเดิมที่ได้เคยด าเนินการ มาแล้ว เช่น การลาดตระเวนร่วมทางเรือและการลาดตระเวนทางอากาศในช่องแคบมะละกา ตลอดจนผลักดันการเสริมสร้างความร่วมมือเพิ่มเติม ตามกรอบการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทาง ทะเล เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเลระหว่างหน่วยกับกองก าลังในทะเล การติดตั้งระบบ โทรศัพท์สายด่วน การฝึกผสมทางทะเล การประชุม สัมมนา และการฝึกศึกษา ตลอดจนความร่วมมือ อื่น ๆ เช่นการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับบทบาทและภารกิจที่เพิ่มขึ้นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทร.จึงจ าเป็น จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้าง ขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านองค์วัตถุ องค์ บุคคล องค์ยุทธวิธี ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ข้อกฎหมาย และการบริหารจัดการ ตลอดจนการผลักดันให้ ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจ าเพิ่มเติมส าหรับรองรับบทบาทและภารกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

abstract:

Abstract Title The roles of the Royal Thai Navy identified in the strategic plans on maritime security cooperation in Southeast Asia in the next ten years Field Strategy Name Vice Admiral Gowit Inprom Course NDC Class 62 The purposes of this research paper were to study the impact of changes in the maritime security environment in Southeast Asia over the next decade in addition to the impact of changing trends in strategies and policies of the Great Powers and other countries which as well affects the maritime security in this region. Concepts, theories, policies and strategic plans regarding maritime security were used as a guideline to appropriately determine the roles of the Royal Thai Navy identified in the strategic plans on maritime security cooperation in Southeast Asia in the next ten years. The scope of this descriptive research is limited to the impact on countries in Southeast Asia under a mechanism in compliance with international agreement related to cooperation in international and domestic legal frameworks for which the Royal Thai Navy is responsible in the next ten years – from 2011 to 2030. The results of the research can be concluded that: Based on the impact of changing trends in the maritime security environment in the coming decade, the roles of the Royal Thai Navy identified in the strategic plans for maritime security cooperation in ASEAN region will remain the same in terms of striving for an establishment of a combined naval operating force in the South China Sea under the framework of the Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea (DOC) together with pushing for the formation of a Combined Task Force for the joint operations to prevent and suppress the transnational organized crime at sea including smuggling of illegal items and/or people by sea, piracy, maritime terrorism, IUU (illegal, unreported and unregulated) fishing as well as launching the Combined Task Force for Humanitarian Aid and Disaster Relief. Adopted from the concepts built upon the existing cooperation framework formerly implemented, the aforementioned roles will be extended including Coordinated Patrol and Air Reconnaissance in the Malacca Strait together with additional cooperation according to the Maritime Confidence Building Measures (MCBMs) framework, e.g. the land-sea information exchange, hotline installation, Combined-Joint Maritime Exercises, seminars, conferences, and training, on top of other collaboration such as strengthening cooperation in preventing emerging infectious diseases. In order to prepare for the abovementioned roles and missions, it is necessary for the Royal Thai Navy to enhance organizational structure and capacity building in various areas including instrumental objects, personnel, tactics, regulations, implementations, legal aspects, and management, all of which need to be pushed forward by additional budget allocation to accommodate the increasing roles and missions.