Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสู่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) และระดับรากหญ้า, (วปอ.8925)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ, (วปอ.8925)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (SMEs) และระดับรากหญ้า ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.ศึกษาห่วงโซ่อุปทานในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อมโยงกับ SMEsและระดับรากหญ้า ๒. วิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่SMEsและ ระดับรากหญ้าและ ๓. นำเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาความยั่งยืนในมิติด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของห่วงโซ่อุปทานสู่SMEsและระดับรากหญ้าผ่านช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ ตลอดจนแนวทางเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างพลังความร่วมมือในห่วงโซ่ อุปทาน โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจาก ๒ ส่วน คือ ๑.การวิจัยเชิงเอกสาร และ ๒.การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลกับ SMEsและระดับรากหญ้า จำนวนทั้งสิ้น ๒๐ รายผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสู่ SMEs และระดับรากหญ้า ประกอบด้วย ๓ มิติ คือ ๑. มิติด้าน เศรษฐกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินและการจัดการทางการเงินที่เป็นระบบ จึงควรมีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนให้มีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายขึ้น เพื่อให้ สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว ๒. มิติด้านสังคม SMEs ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดความร่วมมือระหว่าง พันธมิตรทางธุรกิจ ดังนั้นควรมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เข้มแข็ง ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการรวมกลุ่มในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือภายในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน หรือ รวมกลุ่มกับช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่และระดับรากหญ้า ๓. มิติด้านสิ่งแวดล้อม SMEs ส่วนใหญ่ประสบ ปัญหาการขาดมาตรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างที่เป็นระบบและได้มาตรฐานสากลดังนั้นควรมีนโยบาย ยกระดับสินค้า บริการ และกระบวนการผลิตของ SMEs ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในระดับราก หญ้า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดความรู้ในการพัฒนาต่อยอดสินค้าการเกษตร ดังนั้นควรมีนโยบายสร้าง ความรู้ สร้างงาน สร้างรายได้ โดยภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุน ดังนั้น บทบาทของค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่ง เป็นภาคเอกชนควรมีการทำงานเชิงรุกในการช่วยส่งเสริมและเชื่อมโยงกับนโยบายของภาครัฐ เพื่อเติมเต็ม และสร้างความเข้มแข็ง ยกระดับการจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทานแบบเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยทำ หน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกับ SMEsและระดับรากหญ้า

abstract:

Abstract Title The Development of Sustainable Supply Chain for Small and Medium Enterprise (SMEs) and the Grassroots Field Economics Name Kriengchai Boonpoapichart Course NDC Class 62 This research aims to study the development of supply chain in economics, social and environment dimensions which relate to manufacturers who are SMEs and the grassroots. The study focused on analyzing existing problems and factors that hinder the development of sustainable supply chain and proposed policy recommendations to support and increase competitive advantages and joint collaboration of SMEs and the grassroots throughthe modern trade distribution channels. Qualitative method used to conduct this study consisted of two data collections including 1.) Documentary research and 2.) In-depth interview with 20 SMEs and the grassroots. The results of the study in three dimensions showed that 1.) In the economics dimension, many SMEs are facing financial problem from liquidity shortage and lack of systematic financial management, which calls for the public policy that enable an access to funding in various financial sources timely and conveniently 2.) In the social dimension, SMEs are lack of collaborative partnership between businesses, therefore it is recommended that business networking in horizontal or vertical industry integration should be promoted and strengthened, as well as leveraging on a collaboration with modern traderetailers 3.) In the environment dimension, SMEs are having difficulties with systematic environmental management that meets international standards, which suggests that the public policy should encourage environmental-friendly products, services and manufacturing processes. In addition, the grassroots are unfamiliar with a method to add value to their fresh agricultural products, hence suggesting for the public policy that provides knowledge and creates jobs with the support from the public and private sectors. As a result, it appears that in order to create a sustainable supply chain in economics, social and environment dimensions for SMEs and the grassroots, the public sector should also engage in the support from the private sector. By allowing modern trade retailers to actively participate and collaborate as intermediaries, SMEs and the grassroots can be promoted and introduced to the public policy and supply chain management can be fulfilled and strengthen systematically and substantially, leading to a sustainable development ultimately.