เรื่อง: การพัฒนาข้อสะโพกเทียมชนิดไม่มีเบ้าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย, (วปอ.8919)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์กีรติ เจริญชลวานิช, (วปอ.8919)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาข้อสะโพกเทียมชนิดไม่มีเบ้าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์กีรติ เจริญชลวานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
โรคข้อเสื่อมเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขเนื่องจากพบได้มากที่สุดในโรคข้อ
ทั้งหมด พบในผู้สูงอายุมากกว่า ๖๕ ปี ถึงร้อยละ ๘๐ ถึง ๙๐ โดยเฉพาะโรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งเกิด
จากกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสลายไป จนทำให้เกิดอาการปวดข้อสะโพกตลอดเวลา ข้อสะโพกติด
มีเสียงลั่นในข้อ เคลื่อนไหวหรือเดินได้ลำบาก หรือไม่สามารถเหยียดข้อสะโพกได้ ผู้ป่วยโรคข้อสะโพก
เสื่อมที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือการทำกายภาพบำบัด อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
เทียม ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาทถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาทต่อข้อ โดยพบว่าในปีพ.ศ. ๒๕๕๙
มีการเบิกจ่ายตามสิทธิการรักษาพยาบาลสูงถึง ๙,๘๒๗ ข้อ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าข้อสะโพกเทียม
สูงถึง ๓๗๐ ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร
ผู้สูงอายุ แสดงให้เห็นว่าในแต่ละปีประเทศไทยมีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการรักษาโรคข้อ
เสื่อมในผู้สูงอายุการพัฒนาข้อสะโพกเทียมชนิดไม่มีเบ้าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย จึงมีเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ได้แก่ การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกต้นขาและข้อสะโพก
คุณสมบัติของข้องสะโพกเทียมชนิดไม่มีเบ้า และเพื่อออกแบบนวัตกรรมข้อสะโพกเทียมชนิดไม่มีเบ้า
ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อสร้างต้นแบบนวัตกรรมข้อสะโพกเทียมชนิดไม่มี
เบ้าขึ้น เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ส่งเสริมให้สามารถผลิตและจัดจำหน่ายข้อสะโพกเทียมขึ้นในประเทศ
ลดการนำเข้าข้อสะโพกเทียมจากต่างประเทศ ลดต้นทุนในการรักษา ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึง
การรักษาได้มากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
abstract:
Abstract
Title The development of bipolar hemiarthroplasty for Thai patients
Field Science and Technology
Name Professor Keerati Charoencholvanich, MD Course NDC Class 62
Osteoarthritis affects the issues in public health as it is the common
disease found in elderly, aged over 65, for 80 – 90 percent. It occurs when
the protective cartilage that cushions the ends of your bones wears down
over time. Patients with hip osteoarthritis may not have the ability to flex or
extend their leg, walk, and move. The patients, who ineffectively received
the treatments with medicines and rehabilitation, will need to undergo hip
replacement surgery. In 2016, there were 9,827 surgical procedures operated
which valued around 370 million baht. The number of cases is increasing as
of the growth of elderly population. The development of bipolar
hemiarthroplasty would create the benefits by reducing the number of
prostheses imported from overseas, reducing the cost of healthcare
treatments, and increasing the ability to access the healthcare treatment.