Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง เพื่อแก้ปัญหาการก่อการร้ายของไทย, (วปอ.8904)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกฤษฎา อักษรวงศ์, (วปอ.8904)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรองเพื่อแก้ปัญหาการก่อการร้ายของไทย ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายกฤษฎา อักษรวงศ์ หลักสูตร วปอ .รุ่น ๖๒ เอกสารวิจัยฉบับนี้จัดท าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและประเมินศักยภาพ การใช้ข่าวกรองแก้ปัญหาการก่อการร้าย ตามมาตรการเชิงนโยบายของรัฐที่ก าหนดไว้ในการป้องกัน ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติรูปแบบใหม่ และเพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการท างาน ของหน่วยข่าวกรอง หน่วยความมั่นคง และหน่วยบังคับใช้กฎหมายให้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุ ก่อการร้ายได้ทันท่วงทีโดยน าข่าวกรองมาสนับสนุนการท างานของหน่วยความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตที่เน้นศึกษาการปฏิบัติงานของหน่วยข่าวกรอง หน่วยบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยความมั่นคงที่มีภารกิจเกี่ยวข้องหลังเกิดเหตุก่อการร้ายในไทย ไม่นับรวมสถานการณ์ ในจังหวัดชายแดนใต้เทียบเคียงกับการปฏิบัติของหน่วยข่าวกรองของต่างประเทศและเหตุก่อการร้าย บางกรณีที่เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศ ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า หน่วยข่าวกรอง หน่วยบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยความมั่นคง ที่เกี่ยวข้องของไทย มีศักยภาพที่จะแก้ปัญหาก่อการร้าย โดยใช้การข่าวกรองสนับสนุน การปฏิบัติงานได้ตามมาตรการเชิงนโยบายของรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีคนไทยเป็นสมาชิก กลุ่มก่อการร้าย ไทยไม่ได้เผชิญกับการก่อการร้ายโดยตรงเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน และไม่พบกลุ่ม ก่อการร้ายในไทย แต่ก็มีความเสี่ยงเนื่องจากสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายใช้ไทยเป็นทางผ่านเสมอ โดยบางคนไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อการร้ายใดแต่มีแนวคิดหัวรุนแรง ไม่เคยก่อเหตุมาก่อน จึงไม่มีประวัติ ในฐานข้อมูลหน่วยข่าวกรองและหน่วยบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงต้องบูรณาการความร่วมมือกัน ซึ่งจะช่วยกันป้องปรามการก่อการร้ายทั้งก่อนและหลังการก่อเหตุได้ กลไกนี้เป็นจุดอ่อนของหน่วยบังคับใช้กฎหมาย หน่วยข่าวกรอง และหน่วยความมั่นคงของไทย รัฐบาลจึงก าหนดในยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย และแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติว่า ทุกหน่วยต้องบูรณาการการท างานในภารกิจความมั่นคงให้พร้อมรับมือกับปัญหาทุกมิติรวมทั้ง ต้องพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความร่วมมือ กับภาคประชาชนในรูปแบบประชารัฐและประชาคมข่าวกรองต่างประเทศอย่างแน่นแฟ้น ส าหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยที่ส าคัญได้แก่ ไทยจ าเป็นต้องมีกฎหมายป้องกันและ ปราบปรามการก่อการร้ายตามมาตรฐานสากล ป้องปรามไม่ให้สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายหลบหนี จากประเทศเพื่อนบ้านมาไทย ทั้งยังจะช่วยแก้ปัญหาการบูรณาการระหว่างหน่วยข่าวกรอง หน่วยบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยความมั่นคงที่เกี่ยวข้องได้ส่วนที่ว่าไทยไม่ใช่เป้าหมาย ของการก่อการร้าย ไม่ใช่คู่ขัดแย้งนั้นไม่ถูกต้อง ผู้รับผิดชอบงานด้านความมั่นคงของไทยควรปรับ แนวคิดใหม่ เพราะที่ผ่านมากลุ่มก่อการร้ายส่วนใหญ่เลือกลงมือในไทย เพื่อโจมตีผลประโยชน์ ประเทศฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้มองว่าไทยเป็นเป้าหมาย ขณะที่ไทยยังต้องเข้มงวดระบบควบคุมชายแดน ขึ้นอีก ส่วนหน่วยบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรองยังคงมีมุมมองต่อภัยคุกคามความมั่นคงข แห่งชาติไม่ตรงกัน ต้องศึกษาหน้าที่อ านาจ รูปแบบการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์กรของกันและกัน อย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วย ประสานงานบูรณาการได้จริง ตามนโยบายรัฐบาล สามารถแสวงประโยชน์จากศักยภาพหรือจุดแข็งที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ได้เต็ม ศักยภาพ

abstract:

ABSTRACT Title EnhancingThailand’s intelligencecapabilities incountering terrorism Field Strategy Name Mr. Krisda Aksornwong Course NDC Class 62 The research aimed to 1) study and evaluate key successful factors of using intelligence in the fight against terrorism by focusing on the Thailand National Security Policy for countering threats 2) determine the pattern of a more effective approach specifically the cooperation between intelligence, security agencies and law enforcement services in preventing and suppression of international terrorism. I conducted a study of theactivities against terrorism byThai intelligence community, security agencies and law enforcement units following terrorism incidents (the insurgency attacks in southernmost Thailand not included) using comparative methodology with a selection of appropriate cases from international Intelligence agencies action plans and cooperative activities among them. The research findings confirm that the cooperation within intelligence communities, national security agencies and law enforcement units against terrorism is vital. Intelligence and security services are required to put greater efforts on cooperation in order to combat terrorism and terrorist ideologies.Even thoughThailand experienced no attacks attributed to transnational terrorist like other countries in the region, yet it was used as a transit and facilitation country by international terrorists. Therefore, National Security Policy for countering threats suggests that different agencies should co - develop and implement an integrated counter-terrorism Intelligence Sharing System, along withenhancing level of cooperation among people’s network, international partners, and allies. In addition, the crucial suggestions are as follows:Thailand needs International Counter - Terrorism Act to countering and preventing foreign terrorist fighters from entering the country and to help enhancing cooperation among the law enforcement, intelligence agencies and other relevant authorities. There is still an ongoing risk of terrorism in Thailand against certain interest groups resulting in the need to improve control over the country border. Besides, there have been several incidents that terrorist groups have attempted to use Thailand as their ground of operations or to carry out attacks against their oppositions’ interests based in Thailand. Such threats should not be overlooked. Therefore, related security officials and the decision - making level should always be aware of the risk of possible terrorist attack in Thailand.ง Last but not least, in order to gain more cooperation and teamwork, each relevant unit must have a clear understanding not only of their own roles, responsibilities and authorities given, but also the other units’ duties, characters and working cultures.