เรื่อง: แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ภาวะสูงวัยที่มีคุณค่า, (วปอ.8902)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกฤตพัฒน์ ครุฑกุล, (วปอ.8902)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบเพื่อเตรียมความพร้อม
ก่อนเข้าสู่ภาวะสูงวัยที่มีคุณค่า
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย นายกฤตพัฒน์ ครุฑกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ เพื่อเตรียม
ความพร้อมก่อนเข้าสู่ภาวะสูงวัยที่มีคุณค่า ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและก าหนด
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบให้มีความพร้อมก่อนเข้าสภาวะสูงวัยที่มีคุณค่า
ซึ่งด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับใช้การวิจัยเชิงพรรณนา โดยผลการศึกษา พบว่า มีปัญหา/
อุปสรรคส าคัญต่อการด าเนินงานและการบริหารจัดการใน 5 ประเด็นหลัก คือ 1. ปัญหาขาดโอกาส
ในการเข้าถึงความรู้และแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ 2. ปัญหาการขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3. ปัญหาการขาดโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันความมั่นคงของรัฐ 4. ปัญหาขาดการส่งเสริม
ด้านสุขภาพ และ5. ปัญหาการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เป็นเอกภาพ โดยผู้วิจัย
ได้ก าหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ แยกเป็น 5 ประเด็น ประกอบด้วย
1. การเข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ โดยการปรับปรุงเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกองทุน
ที่ง่ายต่อการเข้าถึง 2. การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัย
แรงงาน และส่งเสริมการมีงานท าให้กับผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งพาตนเองหลังเกษียณ 3. การเข้าถึง
หลักประกันความมั่นคงของรัฐ โดยการเสริมสร้างทักษะการเงินให้รู้จักการออมทุกช่วงวัยเพื่อสร้าง
ความมั่นคงและหลักประกันของตนเองและครอบครัวตลอดช่วงชีวิต 4. การส่งเสริมสุขภาพแรงงาน
นอกระบบและพัฒนาคุณภาพการบริการ โดยการสร้างกลไกเครือข่ายในพื้นที่ด าเนินการเฝ้าระวัง
ป้องกัน ประเมิน และจัดการความเสี่ยงจากการท างานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และ 5. การบูรณาการ
บริหารจัดการแรงงานนอกระบบ โดยให้มีหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการและพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ (Big Data) ที่สามารถเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้อง ได้น าไปใช้ร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ทั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะ
3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. สนับสนุนการท างานผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบในเชิงต่อยอดชุด
ประสบการณ์เดิมควบคู่ไปกับการส่งเสริมทางเลือกอาชีพใหม่ สนับสนุนด้านเงินทุนในการประกอบ
อาชีพที่เข้าถึงได้ง่ายรวมทั้ง ทบทวนระเบียบ กฎหมายและมาตรการต่างๆเพื่อให้การคุ้มครองครอบคลุม
ทุกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 2. พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนภาคีเครือข่ายความร่วมมือทุกหน่วยงาน
ที่ด าเนินงานเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบและด้านผู้สูงอายุ ให้มีศักยภาพพร้อมรองรับการก้าวเข้าสู่
สังคมสูงอายุและ 3. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบ “แบบจ าลองระบบสวัสดิการสังคมส าหรับ
ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ าทางสังคม” เพื่อศึกษาความแตกต่างกันตาม
บริบทพื้นที่ และการศึกษาวิจัย “ถอดบทเรียนการจ้างงานแรงงานนอกระบบที่เป็นพนักงานสูงอายุ
ในภาคเอกชน” เพื่อถอดบทเรียนวิธีคิดและแนวทางการบริหารจัดการของของสถานประกอบการ
ที่มีการจ้างงานพนักงานสูงอายุซึ่งเป็นองค์กรแห่งความสุขต้นแบบและได้รับการยอมรับ
abstract:
Abstract
Title : The Development Guideline of the Quality of Informal Workers’
Lives in Preparation for Entering the State of Valuable Aging
Field : Strategy
Name : Mr. Krittaphat Krutkul Course NDC Class 62
Research project on the development guideline of the quality of informal
workers’ lives is aimed to prepare before entering the state of aging, and determine
objective is to study the problem condition and define guidelines for improving the
quality of lives of informal workers to be ready before entering a valuable aging state.
This is a qualitative research was conducted in conjunction with descriptive research.
The results of the study revealed that there were five main problems and obstacles
to operations and management: 1. the lack of opportunity to access knowledge and
funding sources for a career, 2. the lack of economic stability, 3. the lack of access to
security for the state, 4. the lack of health promotion and 5. problem of integration of
related agencies is not unified.
The researcher has specified guidelines for the development of the
quality of life of the informal workers, separated into 5 issues: 1. accessing to
employment capital by improving the conditions and criteria of the fund that are
easy to access 2. to build economic stability by developing and enhancing the
potential of labor age and promoting employment the elderly in order to be selfreliant after retirement, 3. accessing to the security of the state by enhancing financial
skills to know saving at all ages for building stability and security for themselves and
their families throughout their lives. 4. promoting health, informal labor and
improving service quality by establishing a local network mechanism to monitor,
prevent, assess and manage risks from the work of informal workers, and 5. integration
of informal labor management by providing the main host agency to manage and develop
the informal labor database (Big Data) that can be linked to all concerned sectors and
network partners touse together to develop the quality of livesof the informal workers.
The researcher would like to provide three suggestions: 1. support the
work of the elderly who are informal workers in order to build on the old experiences
along with promoting new career options, provide easy access to employment
capital, and reviews regulations, laws and measures in order to cover more of all
target groups, 2. develop mechanisms and systems to support all partners and
cooperative networks who are concerned with the informal workers and the elderly
to have potential, and be ready to support stepping into an aging society, and 3.
there should be a comparative research studying on “Social welfare model for the
elderly who are informal workers to reduce social disparities” to study the
differences in context, and one studying on "Take off lessons in hiring informal
workers who are elderly employees in the private sectors” to gain lessons , thinking
methods and management guidelines of the management with hiring elderly
employees, a model of happiness which has been accepted by public.