เรื่อง: การเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารจัดการสาธารณภัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, (วปอ.8774)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายภูสิต สมจิตต์, (วปอ.8774)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2561
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การเสริมสร้างภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณ
ภัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย นายภูสิต สมจิตต์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 61
การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการ
สาธารณภัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาท หน้าที่ ความ
รับผิดชอบ และภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณภัย เพื่อศึกษาปัญหา
และอุปสรรคในการบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัด เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะ
ผู้น าด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวงจรการบริหารจัดการสาธารณภัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก
เช่น ผู้บริหารในส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด/รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบด้านการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย และหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย จากนั้นน าข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผลตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดในการจัดการสาธารณภัย
ในเขตจังหวัด โดยมีอ านาจหน้าที่ในการจัดท าแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ก ากับ
ดูแลการฝึกอบรมอาสาสมัครขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก ากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้จัดให้มีทรัพยากรและเครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และด าเนินการให้
หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสงเคราะห์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย นอกจากนี้
ยังพบว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดได้บริหารการจัดการสาธารณภัยตามแนวคิดการบริหารจัดการความเสี่ยง
จากสาธารณภัย ซึ่งแบ่งตามวงจรภัยพิบัติ ได้แก่ ระยะก่อนเกิดภัย ด าเนินการสนับสนุนและประสาน
การท างานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดแบบบูรณาการ ระยะขณะ
เกิดภัย การจัดตั้งกองอ านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ.) และศูนย์
บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด เพื่อประสานการจัดการในภาวะฉุกเฉินเพื่อท างานร่วมกันแบบบูรณาการ
ตัดสินใจในภาวะฉุกเฉิน สงเคราะห์ บรรเทาทุกข์แจกจ่ายสิ่งของยังชีพ ดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และ
การจัดการศูนย์อพยพรวมถึงบทบาทในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และระยะหลังเกิดภัย ด าเนินการ
สงเคราะห์ การบรรเทาทุกข์แจกจ่ายสิ่งของยังชีพดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการจัดการศูนย์อพยพ
รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามระเบียบเงินทดรองราชการฯ และด าเนินการ
ฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน และการฟื้นฟูสภาพจิตใจโดยให้เป็นไปอย่างมีแนวทางที่
ยั่งยืน
ภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณภัย ต้องมีการตัดสินใจ
สั่งการในภาวะวิกฤติที่ดี มีความรู้ ความเข้า ทักษะ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัย
เกี่ยวกับสภาพบริบทพื้นที่เป็นอย่างดี และควรมีความรอบรู้รอบตัว มีระบบการสื่อสารกับทีมที่ดี มีการข
ประสานงานที่ดี “ต้องเป็นนักประสานสิบทิศที่ดี” มีทัศนคติที่ดีในการท างานด้านการจัดการสาธารณภัย
และการท างานเพื่อสาธารณะ “จิตอาสาเพื่อสังคมสาธารณะ” และเน้นให้เกิดการท างานแบบบูรณาการ
ที่หลากหลายหน่วยงานเข้ามาท างานร่วมกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ โดยมีความสามารถใช้เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการท างานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และต้องมีบุคลิกเป็นผู้น าและ
มีความน่าเชื่อถือ
ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัด สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการ พบว่า การจัดการในการเผชิญเหตุวิกฤติในพื้นที่
ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดความยืดหยุ่นและความเชื่อมโยงในการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน
2. ปัญหาด้านกฎหมาย พบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พ.ศ. 2550 มีความล้าหลังและไม่เท่าทันสถานการณ์ปัญหาด้านภัยพิบัติที่มีความซับซ้อนและรุนแรง
เพิ่มมากขึ้น และไม่สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของหน่วยงานราชการที่ตั้งขึ้นใหม่
3. ปัญหาด้านงบประมาณ พบว่า ไม่สามารถตั้งงบประมาณล่วงหน้าได้ งบประมาณ
และไม่เพียงพอต่อสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดถี่มากขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ขาดงบประมาณด้านการ
ป้องกัน ลดผลกระทบ และเตรียมความพร้อม และงบประมาณในการฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย
4. ปัญหาด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ขาดความต่อเนื่องในการด าเนินงาน มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนสายงาน และมีจ านวนน้อยไม่เพียงพอต่อ
การปฏิบัติงาน
5. ปัญหาด้านการจัดการองค์ความรู้พบว่า บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการเรื่อง
การจัดการสาธารณภัย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดใหม่ ๆ และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณภัย
โดยผู้ว่าราชการต้องสร้างองค์ความรู้ด้านพื้นที่ในด้านการจัดการสาธารณภัยอย่างถูกต้อง รอบด้าน ครบถ้วน
เป็นผู้ก าหนดนโยบาย หรือทิศทางการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ให้ชัดเจน เป็นผู้น าในการแก้ไขปัญหา
ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการจัดการสาธารณภัย
ในพื้นที่จังหวัด และยกระดับเสริมสร้างพัฒนามาตรฐานการจัดการสาธารณภัย โดยน าองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดมาร่วมเป็นเครือข่ายการปฏิบัติงานสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในพื้นที่
จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รับประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ คือ ได้รับทราบ
แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณภัยเพื่อให้มี
ความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการสาธารณภัยของไทยและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการ
บริหารจัดการ กฎหมาย งบประมาณ บุคลากร และการจัดการองค์ความรู้นอกจากนี้ ได้ทราบ
คุณลักษณะภาวะผู้น าของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการสาธารณภัยที่ส าคัญ คือ ต้องมีการ
ตัดสินใจสั่งการในภาวะวิกฤติที่ดีเป็นผู้ประสานงานที่ดี และเน้นการท างานแบบบูรณาการร่วมกันของ
หลายหน่วยงานเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างยั่งยืน
abstract:
Abstract
Title The leadership strengthening of the Provincial Governors in disaster
management to be conformed with 20 years National Strategy.
Field Strategy
Name Mr. Phusit Somchit Course NDC Class 61
The research objectives are to study role, duty, responsibility and
leadership of the Provincial Governors in disaster management; to study problems
and obstacles in provincial disaster management; and to study ways to strengthen
Governor leadership in disaster management in line with disaster management circle.
The research uses qualitative methodology, by exploring academic texts and indepth interviews of the central organization administrators, provincial governors and
vice-governors who are responsible to prevent and mitigate disaster, as well as the
provincial section heads. And use these information and data to analyze and make
conclusion according to the qualitative research methodology.
The research finds that role, duty and responsibility of the Governors in
disaster management within the provincial areas are to supervise training of local
administration organization’s volunteers, and to supervise local administration
organization in providing resources and instruments for prevention and mitigation
disaster, as well as oversee public and local administration organizations in providing
initial aid to involved victims. Additionally the research finds that the Governors have
managed in line with the disaster risk management concept that divides disaster
circle into pre-occurring disaster phase by integrating the supporting and coordination
with public, private organizations and general people in the province; occurring
disaster phase by setting up the provincial prevention and mitigation administration
and provincial situation command in order to coordinate management and integrate
decision during emergency situation, assist and mitigate through distributing aid
packages to victims and set up evacuation center, as well as roles in immediate and
after the disaster by assisting and distributing aid packages, and administrating
evacuation center, including giving primary money to victims in line with public
monetary regulations, and restoring public utilities and infrastructure as well as
sustainable rehabilitation. The Governor leadership in disaster management must
make decision and command properly, have knowledge, ability and experience
involving disaster management. In addition, the Governor should have general
knowledge, good communication and coordination as well as “good coordinator of
ten directions”, suitable attitude in disaster and public working as social volunteer ง
and emphasize the working integration with other authorities during crisis situation
solving through ability to use modern technology and innovation for working together
efficiently. Importantly, the Governor must have good manner and trustfulness.
Problems and obstacles involve with disaster management within the
provincial area can be summarized as follows:
1. The management problem, it finds that the lack of unity in crisis
encounter, flexibility and connectivity in working cooperation and coordination.
2. The law problem, it finds that the prevention and mitigation Act
B.E.2550 is out of date and cannot catch up with the present disaster situations
which are so complex and severe increasingly, and not consistent with role and
responsibility of newly established authorities.
3. The budget problem, it finds that budget cannot be set up in advance
and not be sufficient for disaster events that happen frequently and severely, and
not enough for prevention, mitigation and preparedness, even though those for
rehabilitation after the disaster.
4. The personnel problem, it finds that the workforce of disaster
prevention and mitigation department lack continuity in working, having changing and
reshuffling so frequently and personnel is not enough for the mission assigned.
5. The knowledge of management problem, it finds that personnel lack of
understanding in disaster management, pertaining laws, new ideas and international
cooperation framework.
The ways to strengthen the Governor leadership in disaster management are
the Governor himself must anxiously and comprehensively seek proper and right
knowledge of disaster management area, as the vital policy maker in disaster management
and as leader in solving cooperation problem withvarious organizations, as well as
person in strengthening disaster management mechanism within provincial area and
developing disaster standard through bringing local administration organization into
workingnetworks supportingother local administration organizations. From the study,
the researcher discovers ways to strengthen Governor leadership in disaster management
to be conformed with disaster management of the country and 20 years National Strategy,
and knows problems and obstacles in disaster management within the provincial area
such as the problems of management, laws, budget, personnel and knowledge
management. In addition, the researcher learns the suitable and important Governor
leadership characters in disaster management they are good decision making under the
crisis, good coordinator and emphasizing the working integration with various organizations
for the sustainable disaster management.