เรื่อง: แนวทางการบูรณาการด้านการค้นหาและช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางทะเลของประเทศไทย, (วปอ.8766)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ร.ต. ไพศาล มีศรี, (วปอ.8766)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2561
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบูรณาการด้านการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
ของประเทศไทย
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลเรือตรี ไพศาล มีศรี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 61
แม้ว่าการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลจะไม่ใช่เรื่องใหม่ส าหรับประเทศไทย
แต่ทว่าการด าเนินการที่ผ่านมาภายใต้กลไกระดับชาติของ “ศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลือ
อากาศยานและเรือที่ประสบภัย” “กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ” และ
“ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” (ซึ่งต่อมายกระดับเป็น
“ศูนย์อ านวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”) ยังคงปรากฏความไม่สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากล ความคลุมเครือในอ านาจหน้าที่ของหน่วยเกี่ยวข้อง ความล้าสมัยของกฎ ระเบียบ
และข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางทะเล ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
หน่วยปฏิบัติงานหลัก การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การด าเนินการค้นหาและ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลของไทย ปัญหาอุปสรรคในการด าเนินการ และเสนอแนะแนวทาง
ที่เหมาะสมในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลของไทย โดยมีขอบเขตการวิจัย
เฉพาะสถานการณ์ภัยพิบัติที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายใน
เขตการค้นหาและช่วยเหลือทางทะเลของไทย และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์
เชิงพรรณนาทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิจากเอกสาร งานวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่าการด าเนินการที่ผ่านมาของทั้ง 3 กลไก เป็นไปในลักษณะที่ขาดการบูรณาการ
ระหว่างหน่วยงาน สรุปสาเหตุส าคัญ คือ เอกภาพในการบังคับบัญชา ความเป็นมาตรฐานสากล และ
ความเป็นมืออาชีพ จึงได้เสนอแนวทางการบูรณาการด้านการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ทางทะเลของไทยผ่านมุมมองด้าน 1) โครงสร้างและแนวคิดบริหารจัดการ เพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหา
เอกภาพในการบังคับบัญชาของกลไกที่มีอยู่ 2) กรอบกฎหมายและอ านาจหน้าที่ เพื่อให้มีกฎหมาย
รองรับการปฏิบัติการที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และ 3) การเตรียมความพร้อมปฏิบัติการ เพื่อให้
การด าเนินการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลของประเทศไทยเป็นอย่างมืออาชีพ รวมทั้ง
มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไปที่เป็น
รูปธรรมในตอนท้าย
abstract:
Abstract
Title Guidelines on Integration of Maritime Search and Rescue Operations
in Thailand
Field Strategy
Name Rear Admiral Paisarn Meesri, RTN Course NDC Class 61
Although maritime search and rescue operations are not a new issue for
Thailand; however, their past actions under the national frameworks, namely “Rescue
Coordination Centre, Bangkok”, “National Emergency Operation Headquarter”, and
“Thailand Maritime Enforcement Coordinating Center” (later being upgraded to
“Thailand Maritime Enforcement Command Center” still showed signs of inconsistency
with international standards. There was ambiguity regarding the duties and jurisdictions
of relevant agencies, along with the outdated safety laws, rule, and regulations which
influence the efficiency and effectiveness of the main operating unit. This research
aims to study and analyze the procedures used in maritime search and rescue
operations in Thailand, examines problems and obstacles in doing so and makes
suitable recommendations for further improvement. The research is focused on the
operations caused by potential disasters situations that are likely to affect the safety
of life and property in Thailand's maritime search and rescue region. It is a qualitative
content analysis of both primary and secondary sources of data from published
documents, associated researches, and professionals in the field. The result of this
research indicates the deficiency of integration within and among the three frameworks
due to the lack of unity of command, international standards, and professionalism.
It concludes by presenting general guidelines for the integration from the aspects of;
1) structure and management concept emphasizing on solving the problems of unity
of command in existing mechanisms, 2) legal framework and authority at the operational
level that complies with international standards, and 3) operational preparedness
ensuring professional practices for maritime search and rescue. In addition, practical
policy and operational suggestions, as well as the recommendations for further research
are also presented at the end.