Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้านการส่งเสริมและคุ้มครองผู้ชี้ช่องเบาะแสการทุจริต, (วปอ.8723)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายนิวัติไชย เกษมมงคล, (วปอ.8723)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2561
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองผู้ชี้ช่องเบาะแสการทุจริต ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายนิวัติไชย เกษมมงคล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 61 การทุจริตเป็นปัญหาส าคัญส าหรับทุกประเทศทั่วโลกที่นับวันจะทวีความรุนแรง และมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ประเทศที่มีการทุจริตสูงจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศ เป็นไปอย่างล่าช้าและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ า ดังนั้นการบูรณาการการป้องกันปราบปราม การทุจริตจึงมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในส่วนของประเทศไทยมีการพัฒนาข้อ กฎหมายและบริบทของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมาอย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไข ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การทุจริตและบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งมิติภายนอกประเทศนั้นประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิก ในอนุสัญญ าขององค์การสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention Against Corruption 2003 : UNCAC) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศต่างๆ ทั่วโลก จ านวน 186 ประเทศ ในส่วนของมิติภายในประเทศนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 63 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 33 ได้จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วม ในการรณรงค์ ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้ช่องเบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐ รวมทั้งจัดให้ มีช่องทางแจ้งข้อมูล เบาะแส หรือพยานหลักฐาน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวสนับสนุนการขับเคลื่อน การท างานต่อต้านการทุจริตของภาคประชาชนที่ท าหน้าที่เฝ้าระวัง สอดส่องดูแล และชี้ช่องเบาะแส การทุจริต ทั้งนี้การชี้ช่องเบาะแสอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือ การใช้ชีวิตอันเป็นปกติสุขของผู้ชี้ช่องเบาะแส งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวทาง การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้ชี้ช่องเบาะแสการทุจริต และเผยแพร่ ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการคุ้มครองผู้ชี้ช่องเบาะแสการทุจริต อันเป็นมาตรการและกลไก ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศไทย

abstract:

Abstract Title Guidelines for Developing Public Participation in the Prevention and Suppression of Corruption Regarding the Promotion and Protection of Whistleblower Field Politics Researcher Niwatchai Gasemmongkol Course NDC Class 61 Corruption is a major global problem and it has been more severe and sophisticated over a period of time. It impedes the country development and undermines the quality of life. The integration of the prevention and suppression of corruption, therefore, is significant to development of the country. In Thailand, anti￾corruption laws and contexts have been continuously developed under the conditions of changing corruption situation and circumstantial context from both domestic and foreign aspect. In terms of foreign aspect, Thailand has become a State Party to United Nations Convention Against Corruption 2003 (UNCAC, the constituency of which comprises 186 parties across the world. In respect of domestic aspect, Section 63 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) and Section 33 of the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018) impose effective measures and mechanisms necessary to the prevention and suppression of corruption including encouragement of public participation in education campaign, fighting corruption or whistleblowing with protection scheme by the government agencies as well as making available channel for submission of information, clue, or evidence for corruption offences. The provisions facilitate the mobilization of pubic efforts for monitoring and reporting corruption clues. However, the submission of such information, clue or evidence may cause damage to the whistleblower’s life, body, freedom or living. For this reason, this research aims to illustrate the development of participation in promoting and protecting the whistleblower and encouraging the public to better understand whistleblowers protection scheme which is an effective measure and mechanism for the prevention and suppression of corruption and misconduct in Thailand.