เรื่อง: การป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับในประเทศไทย, (วปอ.8713)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางนภสร ทุ่งสุกใส, (วปอ.8713)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2561
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับในประเทศไทย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางนภสร ทุ่งสุกใส หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๑
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การใช้แรงงานบังคับใน
ประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาปัญหา อุปสรรค/ข้อขัดข้องของการป้องกันและปราบปรามการใช้
แรงงานบังคับในประเทศไทย และศึกษาแนวทางการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับใน
ประเทศไทยที่เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแรงงานระหว่างประเทศ ผู้แทนองค์กรนายจ้าง ผู้แทนองค์กรแรงงาน และ NGO
ด้านแรงงาน และน าเสนอข้อมูลแบบรายงานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ผลการวิจัย
สรุปได้ว่า
สถานการณ์การใช้แรงงานบังคับในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามีผู้กระท าความผิด
และถูกจับกุมเนื่องจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการมีจ านวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการกระท า
ความผิดฐานค้ามนุษย์ทั้งหมด และจากการตรวจคัดกรองลูกจ้างที่มายื่นค าร้อง หรือร้องเรียนต่อต่อ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในระยะ ๑ ปีที่ผ่านมา ก็พบว่าเบื้องต้นอาจเข้า
ข่ายการบังคับใช้แรงงานน้อยมาก อย่างไรก็ตาม อาจมิใช่เพราะประเทศไทยมีการแสวงหาประโยชน์
จากการบังคับใช้แรงงานน้อย
การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและการจัดการปัญหาการบังคับใช้แรงงานของ
ประเทศไทยกับอนุสัญญา ILO P29 พบว่าภายหลังการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯและได้มีการออก
กฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ แต่การปฏิบัติด้าน นโยบาย แนวทาง มาตรการ
แผนงาน ที่ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหา ได้แก่ ความร่วมมือกับภาคประชาสังคม
การสร้างความตระหนักและการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มุ่งเน้นกับลูกจ้างหรือกลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการ
ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการเฉพาะ การประกันความคุ้มครองแรงงานทุกคนจากการจ้าง
งานที่หลอกลวง การไม่มีบทบัญญัติที่อนุญาตให้ลูกจ้างสามารถเปลี่ยนงานได้ในกรณีที่มีการละเมิด
และการแสวงหาประโยชน์โดยนายจ้าง การไม่อนุญาตผ่อนผันการอยู่และท างานของแรงงานต่างด้าว
ได้ถ้าแรงงานต่างด้าวมีปัญหาทางสุขภาพ การขาดการสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อป้องกัน
และจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้แรงงานบังคับ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ
การค้ามนุษย์แรงงานบังคับ และแรงงานทั่วไป การคัดแยกผู้เสียหายที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ การขาด
การพัฒนาตัวชี้วัดแรงงานบังคับเพื่อช่วยในการคัดแยกผู้เสียหาย และการคุ้มครองและการให้ความ
ช่วยเหลือผู้เสียหายยังจ ากัดเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการด าเนินคดีอาญาเท่านั้น
ปัญหา อุปสรรคด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้แก่ ความเข้าใจของผู้บังคับใช้กฎหมายที่
ไม่ชัดเจน ไม่ตรงกัน ไม่เข้าใจต่อสาระของการใช้แรงงานบังคับตาม อนุสัญญา ILO P29 การคัดแยก
ผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานออกจากผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงานข
ทั่วไป เป็นประเด็นปัญหาที่ท้าทายมาก การขาดทักษะของพนักงานตรวจแรงงานในการค้นหา
ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์ผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหายจึงเป็นปัญหา การขาดจิตวิญญาณในการบังคับ
ใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และทัศนคติเชิงลบและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ
รัฐและ NGO ส าหรับด้านแรงงานกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ การขาดความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานที่จะรักษา
สิทธิแรงงานของตนเอง ขาดทักษะการใช้ระบบการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ของ
แรงงานระดับล่างจ านวนมาก โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่อาจยังเข้าไม่ถึง
กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงที่แท้จริง ขาดความร่วมมือของลูกจ้าง/ผู้เสียหายในการเป็นพยาน ให้ข้อเท็จจริงที่
เป็นประโยชน์กับการด าเนินคดีต่อผู้กระท าผิด และกระบวนการยุติธรรมใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน
จึงท าให้การจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้เสียหายซึ่งเดินทางกลับประเทศภูมิล าเนาแล้วท าได้ยากมาก
ข้อเสนอแนะ ให้รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อเนื่อง และก าหนดเป้าหมายสูงสุด
คือ “ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ใน Tier1 ของ Trafficking in Persons Report (Tip Report)
ภายในปี ค.ศ.๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔)” และควรต้องก าหนดแนวทางการบริหารจัดการ ๑๐ มาตรการ
ได้แก่ มาตรการบังคับใช้กฎหมายแบบเข้มข้น มาตรการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
มาตรการส่งเสริมสถานประกอบกิจการเข้าสู่มาตรฐานการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practice :
GLP) มาตรการสร้างความตระหนักรู้ของสังคมเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และผลกระทบของการใช้แรงงาน
บังคับ มาตรการสร้างกลไกการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ มาตรการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยาด้าน
สิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายก าหนด มาตรการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชา
สังคม ภาคเอกชน ILO และ NGO มาตรการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ มาตรการ
ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ และมาตรการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อปิดช่องว่างของการ
บังคับใช้กฎหมายและการจัดการปัญหา
ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมใน ๒ ประเด็น คือ การพัฒนาตัวชี้วัด
การใช้แรงงานบังคับ และแนวทางการลดปัจจัยเสี่ยงของการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการ
บังคับใช้แรงงาน
abstract:
Abstract
Title The prevention and suppression of the forced labor in Thailand
Field Social - Psychology
Name Mrs. Napasorn Tooksooksai Course NDC class 61
The research has objectives to study and analyze the situation of forced
labor in Thailand and other countries; to explore problems and obstacles involving
the prevention and suppression of forced labor in Thailand; and to study the
appropriate ways of prevention and suppression of forced labor in accordance with
country’s economy and society. The research utilizes the qualitative methodology
through interviewing populations, they are involved public authorities, specialists in
international labor, representatives of employers, labor organization and NGOs in
labor issues. The paper presents data and analysis through descriptive approach.
The research’s findings can be summarized as follows: concerning the
situation of forced labor in Thailand and other countries, there are fewer arrested
offenders from forced labor and service than the number of those trafficking in
person offenders. And from the screening of employees who filed petition or made
complaint to the Department of labor welfare and protection, Ministry of labor in the
past 1 year finds that basically there are a few forced labor cases. However, it does
not mean that Thailand has few exploitation from forced labor. From analysis the
gap between law enforcement and forced labor problem solving and ILO P29
convention points that after the ratification of that convention and the enactment of
pertaining laws of forced labor and service finds that the scope of operations in
policy, measure and plan is not thoroughly covered enough for problem solving;
they are the cooperation within civil society in building awareness and information
exchange emphasizing employees or labor groups which are risk to the unlawful
exploitation, the guarantee of labor protection from fraudulent employment, the
lack of laws to permit employees change jobs in case of employers’ violation and
exploitation, the lack of laws to extend stay and work to foreign labors who have
health problems, the lack of support from public and private in preventing and
managing risk factors to forced labor, the insufficient data collection and analysis
concerning human trafficking, forced labor and general labor, the inefficient screening
of sufferers, the limit of protection and assistant to those sufferers giving to only
those who participate in criminal procedure.ง
Concerning problems and obstacles of operation officials, there is
unclear and misunderstanding among law enforcers especially involving the matters
of forced labor in ILO P29 convention, the screening of sufferers of forced labor from
those of human trafficking or abused of general labor rights which is most challenging
problem, the lack of those labor officials’ skills in fact searching from suffered
interviewees, the missing of law enforcement spirit seriously, the negative attitude
and untrusty among public officials and NGO.
Concerning the risk labor, they are the lack of labor laws knowledge for
keeping their own rights, lack of skills in using e-payment of those laborers
particularly foreign labor, lack of public relations and information to those targeted
risk, lack of cooperation from employees/sufferers to be witnesses giving facts that
are useful for the prosecution of offenders and justice procedure which spend times
so long, making the privilege paying rather difficult to those suffered laborers who
need to travel back to their country.
Recommendations are: the government should announce as continuous
nation agenda and set the ultimate goal of Thailand to be ranked in the Tier 1 of
Trafficking in Persons Repot (TIP Report) within the year 2021 (B.E. 2564); should set
10 management measures: they are strictly law enforcement; developing skills of law
enforcers; enhancing business establishment to Good Labor Practice (GLP); building
social awareness of rights and impacts of forced labor; establishing efficient
protection mechanism and assistance, compensation and healing measures according
to law; establishing cooperation mechanism among public, civil society, private, ILO
and NGO; creating cooperation networks among countries; setting follow up and
evaluation system, as well as reviewing pertaining laws in order to close gap of law
enforcement and problem management.
In the next research, it should add 2 more issues, they are developing
indicators of forced labor and ways to reduce risk factors of exploiting unlawful
benefits from forced labor.