Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเครื่องสนามของกองทัพบก ในศตวรรษที่ ๒๑, (วปอ.8689)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. เทอดชัย นิยม, (วปอ.8689)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2561
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาเครื่องสนามของกองทัพบกในศตวรรษที่ ๒๑ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี เทอดชัย นิยม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๑ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(๑)ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้งานเครื่องสนาม ของกองทัพบกในภารกิจต่างๆ กับสภาวการณ์ปัจจุบัน (๒) เสนอแนวทางการพัฒนาเครื่องสนาม ให้เหมาะสมกับภารกิจและสภาวการณ์ในอนาคต ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ โดยศึกษา กระบวนการ รูปแบบและลักษณะของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี กรอบการพัฒนาระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๑–๒๕๘๐ ในการสร้างแนวทางการพัฒนาเครื่องสนามของกองทัพบก ใช้เครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลคือแนวสัมภาษณ์ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารของหน่วยใช้ และ ผู้รับผิดชอบต่อเครื่องสนาม จำนวน ๑๒ คน ผลการศึกษาพบว่า ภารกิจของหน่วยใช้ ได้แก่ พล.ร., พล.ม., พล.ปตอ. และ นสศ. ยังมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นภารกิจที่ได้รับมอบจากกองทัพบก ด้านโครงสร้างองค์กร พบว่า ควรจัดให้มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีความสมบูรณ์พร้อมรบในตัวเอง (โดยเฉพาะกำลังรบ) ด้านกำลังพลควรส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้านวิชาทหาร และ การรบรูปแบบใหม่ บรรจุกำลังให้เพียงพอเหมาะสม และตรงคุณวุฒิ ด้านการใช้งานเครื่องสนาม พบว่า เครื่องสนามที่ได้รับการแจกจ่ายมีคุณภาพดีเว้นรายการ “เสื้อคลุมกันฝน และเสื้อกันฝน แบบไม่มีแขนสีพราง” เนื่องจากใช้งานไม่ได้จริง เนื่องจาก สารเคลือบกันน้ำเปื่อยเสื่อมสภาพ, รายการ“หม้อสนาม”, รายการ “หมวกเหล็ก” และรายการ “พลั่วสนาม” เนื่องจากไม่ทนทาน และ ชำรุดง่าย สำหรับรายการ สป. ที่ล้าสมัย ได้แก่ กระเป๋าเอนกประสงค์,หมวกเหล็ก, รองในหมวกเหล็ก, กระโจมบุคคล, ผ้าเต้นท์บุคคล และเสื้อกันฝน (แบบไม่มีแขน) เป็น สป. ล้าสมัย ควรงดใช้การ สป. ที่ต้องการให้จัดหาเพิ่มเติมไว้ใช้ในราชการ ได้แก่ ถุงนอน,เป้สนาม, เสื้อแจ็คเก็ตฟิลด์, เสื้อเกราะ และหมวกสนาม นอกจากนี้ยังพบปัญหาจากการใช้งานเครื่องสนาม ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากการชำรุดเสียหายจากการใช้งานตามปกติ เมื่อหน่วยนำเครื่องสนามออกปฏิบัติภารกิจและฝึกประจำปีตามวงรอบ ซ่อมแล้วไม่คุ้มค่า และ ต้องจำหน่ายในที่สุด เมื่อเบิกทดแทนแล้วไม่ได้รับ สป. ดังกล่าว แนวทางการพัฒนาเครื่องสนาม การดำเนินการให้ได้มา ซึ่ง สป. เครื่องสนามนั้น เป็นการปฏิบัติ (๑) ตามนโยบายของกองทัพบก เป็นหลักในการจัดหาและแจกจ่าย (๒) จากการปรับปรุงและพัฒนาของ พธ.ทบ. เอง ซึ่ง พธ.ทบ. จะได้เร่งรัดปรับปรุงและพัฒนา สป. ดังกล่าว ให้เป็นไปตามความต้องการของหน่วยใช้ต่อไป แต่สิ่งสำคัญที่ไม่อาจละทิ้งได้ นอกจากเทคโนโลยีในการผลิตแล้ว ผู้ใช้งานเครื่องสนามจะต้อง มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการใช้งาน และการปรนนิบัติบำรุงที่ถูกต้องก็จะช่วยยืดอายุการใช้งาน ของ สป. ให้ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines to develop the Army Field Equipment in the 21stCentury Subject Military Author Major General Terdchai Niyom Course NDC Class 61 The objective of this research is (1) to study conditions and problems of the Army field equipment usability for different missions in a current situation (2 ) to suggest guidelines for developing the Army field equipment to be suitable for each mission and situation in the future. The method used in this research is the qualitative method which is to study the procedure, format and characteristic of the 20-Year National Strategy with a long term of development starting from 2007 – 2036 ( 2 5 6 1 – 2 5 8 0 ) to create the guidelines to develop the Army field equipment. The information collection tool used for this research is an interview method of data collection from the key informants which are user units’ commanders and 12 military officers responsible for the field equipment. The study has found that the user units which are the Infantry Division, Cavalry Division, Artillery Division and Special Warfare Command performed their missions assigned by the Royal Thai Army which appropriately correspond to the current situation. In term of organizational structure, the organizations and units should be organized into a smaller size unit with complete combat readiness (especially the Task Force or Special Force). Regarding to the army personnel, they should be individually provided the opportunity to gain more new skills and knowledge in technology, military and modern combat. Moreover, organizations should put in enough personnel and assign to the right position. In regard to usability of the army field equipment, the study shows that most of the issued field equipment is in serviceable condition, except of the following items which are “camouflage raincoat and poncho” for not working properly and being unserviceable because of the deterioration of a waterproof coating; “army canteen”, “helmet” and “entrenching tool” for not being durable and easily getting damaged. In addition, the list of outdated field equipment includes multipurpose-bag, helmet, helmet liner, individual tent and poncho. The out-of-date field equipment should be disused and replaced. The field equipment which are required to be provided and replenished includes sleeping bag, footwear ruck sack, jacket, body armor and helmet. Furthermore, most of the informants have stated that another problem from using the field equipment is the quantity of the field equipment is insufficient as they get damaged and deteriorated from regular uses for both operations and routine trainings. In some cases, if the damaged field equipment was sent for maintenance and repair through supply chain and it was considered beyond repair, the user units shall conduct the disposal procedure accordingly. However, there were no replenishment items for the units after their disposal process. The guidelines for developing the field equipment and the procurement procedure is mainly conducted according to (1) the Royal Thai Army Policy and Plan for procurement and distribution, (2 ) the improvement and development of the Quartermaster Department which is hastily improving and develop the items previously mentioned in order to respond to the requirement of the units. Nevertheless, another significant matter is that apart from manufacturing technology, the users need to have knowledge and understanding of a correct utilization and maintenance process therefore it can extend the service life of the items and yet help the Army saving budget immensely.