Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาบทบาททหารหญิงของกองทัพไทย ในการสนับสนุน การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติในทศวรรษหน้า, (วปอ.8673)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี ณัฐพงศ์ เกตุสมบูรณ์, (วปอ.8673)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2561
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาบทบาททหารหญิงของกองทัพไทย ในการสนับสนุน การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติในทศวรรษหน้า ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรี ณัฐพงศ์ เกตุสมบูรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๑ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค/ข้อขัดข้อง ในการสนับสนุน ทหารหญิงของกองทัพไทยในการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในอดีตและปัจจุบัน และพิจารณาแนวทางในการพัฒนาบทบาททหารหญิงของกองทัพไทย ในการสนับสนุนการปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพของสหประชาชาติในทศวรรษหน้า เพื่อให้มีอัตราส่วนตามมาตรการของสหประชาชาติ ที่จะบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ โดยจะท าการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีในการรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติและการเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของไทยในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งการศึกษา แนวคิดและความส าคัญในการสนับสนุนทหารหญิงของกองทัพไทย เข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของ สหประชาชาติในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้ได้เป็นบทบาททหารหญิงของกองทัพไทยในการสนับสนุนการ ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติในทศวรรษหน้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวม ข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และทหารหญิงของ กองทัพไทยที่ได้เคยผ่านการปฏิบัติภารกิจในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติตลอดจน ทหารหญิงที่อยู่ในกระบวนการคัดสรร เพื่อจะไปปฏิบัติภารกิจในการรักษาสันติภาพตามการร้องขอ ของสหประชาชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันนั้นทหารหญิงของกองทัพไทยที่ไปปฏิบัติภารกิจ รักษาสันติภาพ มีเพียงร้อยละ ๔ ของก าลังพลทั้งหมดที่ไปปฏิบัติภารกิจฯ โดยเกิดจากข้อจ ากัด ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑) อัตราส่วนทหารหญิงในกองทัพมีจ านวนน้อยเมื่อเทียบกับทหารชาย ๒) การเข้าถึงโอกาสในการคัดเลือกเข้าปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ ๓) เงื่อนไขที่ก าหนดในการ คัดเลือก ๔) สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน ๕) ข้อจ ากัดด้านครอบครัว ๖) การได้รับการปฏิบัติที่ ไม่เท่าเทียมกันในห้วงการปฏิบัติภารกิจ และ ๗) ผลกระทบต่อโอกาสและความก้าวหน้าในชีวิต รับราชการของทหารหญิง ซึ่งการส่งเสริมให้ทหารหญิงเข้าร่วมในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพต้องมี การด าเนินการ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) การก าหนดเป้าหมายการสนับสนุนก าลังทั้งเป็นบุคคลและเป็นหน่วย ๒) การวางระบบการผลิตนายทหารหญิงเข้าสู่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ๓) การพัฒนา ขีดความสามารถ และ ๔) สร้างความตระหนักรู้และสร้างแรงจูงใจให้กับก าลังพลของกองทัพไทย ข ด้วยมาตรการต่าง ๆ ทั้งนี้ ทหารหญิงของกองทัพไทย สามารถสนับสนุนภารกิจของกองก าลังรักษา สันติภาพได้ โดยมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ และเพิ่มประสิทธิภาพของ การปฏิบัติงานด้านยุทธการได้ จึงควรท าการวิจัยเพิ่มเติมในอนาคตถึงแนวทางในการพัฒนา ให้ทหารหญิงของกองทัพไทยมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

abstract:

Abstract Title The Enhancement of Thai Female Military Officers’ Roles in the United Nations’ Peace Operations in the Next Decade Field Military Name Rear Admiral Nuttapong Ketsumboon Course NDC Class 61 The purpose of this research is to study the challenges and obstacles of deploying female soldiers of the Royal Thai Armed Forces, from past to present, to the UN peace operations so as to identify ways for enhancing roles of female military officers in support of the UN peace operations in the next decade. The study will examine theoretical concepts of UN peacekeeping, the participation of Royal Thai Armed Forces in peace operations from past to present, and the importance of promoting the participation of Thai female soldiers to the United Nations peacekeeping operations so as to identifying ways of enhancing Thai female military officers’ roles in support of UN peace operations in the next decade. This research employs qualitative approach. Primary and secondary data were collected through documents, concepts, theories from relevant research results. In-depth interviews with experienced Thai female peacekeepers and officers involving in peace operations of the Royal Thai Armed Forces were conducted to identify challenges and feasible remedies. The study reveals seven main challenges that make female deployment at only four percent of total deployment at the present. These challenges are; 1) ratio of male to female in the Thai armed forces, 2) opportunity of access to selection process, 3) selection criteria, 4) working environment, 5) constraints from family, 6) unequal treatments in mission area and 7) impacts on career advancement of female soldiers. The study further discovers that to enhance and encourage participation of Thai female soldiers to the United Nations’ peace operations, four main areas will need to be addressed, which are 1) setting targets for both individual and unit deployment, 2) establishment of a system that can supply female officers into peacekeeping operations, 3) capacity development and 4) Building of awareness and motivation with various measures. Considering capabilities of Thai female soldiers, the research recommends that further study should be conducted to identify their potential contribution to the promotion of sustainable development in the mission area and thus how to develop their capabilities to be able to perform such roles effectively in the future.