Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาของกองบัญชาการกองทัพไทยสู่ความเป็นเลิศ, (วปอ.8661)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. ชาตรี กาญจนประโชติ, (วปอ.8661)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2561
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาของกองบัญชาการกองทัพไทย สู่ความเป็นเลิศ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตรี ชาตรี กาญจนประโชติ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๑ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางการพัฒนาก าลังพล ด้านการศึกษาของ กองบัญชาการกองทัพไทยโดยมีขอบเขตการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งเน้นการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการศึกษาขอบเขตประชากรของการวิจัยคือ ผู้บริหาร ผู้วางแผน และผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาในระดับนายทหารสัญญาบัตรและนายทหารชั้น ประทวน ผลการวิจัยมีข้อค้นพบที่ส าคัญที่ถือเป็นจุดอ่อนของการพัฒนาก าลังพลในปัจจุบันคือ ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ส าคัญ ตามพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ พบว่าไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน การศึกษาและการพัฒนาก าลังพล ในทุกระดับชั้นยศ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีนโยบาย ที่จะจัดตั้ง ส านักการศึกษาทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มาท าหน้าที่ รับผิดชอบในการขับเคลื่อนพัฒนาก าลังพลด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองการปฏิบัติงาน จึงส่งผลต่อเนื่องในการวางแผนการพัฒนาการศึกษา ให้ก าลังพลในทุกระดับชั้นยศอย่างมี ประสิทธิภาพ ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีของรัฐบาล ทั้งนี้ในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการศึกษาของก าลังพล จะต้องมีกระบวนการที่ส าคัญ ในการน านโยบาย ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องประกอบด้วย การจัดท าแผน การจัดสรรทรัพยากรตาม แผนที่วางไว้การปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผล ส าหรับ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการศึกษาที่ส าคัญคือ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวการ ปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ แนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาก าลังพลด้านการศึกษา มีแนวทาง ความก้าวหน้าในต าแหน่งอย่างชัดเจนให้ก าลังพลทุกนาย มีการวางแผนก าลังพลที่เกิดจากการ วิเคราะห์งานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีคุณลักษณะการอ านวยการร่วมที่เป็นคุณลักษณะ (Competency) ที่ส าคัญของกองทัพไทยโดยการจัดให้มีหลักสูตรการอ านวยการร่วม ตามภารกิจหลัก (Core Function)ของกองทัพไทย มีการด าเนินการพัฒนาด้านการศึกษาตามสายวิทยาการ ทั้งใน หลักสูตรตามแนวทางรับราชการและหลักสูตรเพิ่มพูนความรู้ ให้เกิดเป็นรูปธรรม มีการจัดท าสาย วิทยาการ และมีการจัดก าลังพลให้ตรงสายวิทยาการและสายงาน เพื่อให้ก าลังพลได้รับการพัฒนาให้ ตรงกับสายวิทยาการที่ปฏิบัติงาน ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจส าคัญในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความส าเร็จ ในส่วนของการจัดตั้งส านักการศึกษาทหาร จะต้องเสริมสร้างให้มีขีดความสามารถและเป็นหน่วยงาน ที่รับผิดชอบโดยตรง ในการบริหารจัดการด้านการศึกษาและฝึกอบรมให้กับก าลังพล ตลอดจนก ากับ ดูแลเรื่องหลักสูตรต่างๆ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถพัฒนาก าลังพลให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และหน้าที่ของกองบัญชาการได้อย่างแท้จริง

abstract:

Abstract Title Development Approach toward Excellence of Educational System in the Royal Thai Armed Forces Headquarters Field Psychological Society Name Maj. Gen. Chatree Kanjanaprachoti Course NDC Class 61 This paper aims to study and suggest the development approach concerning the education of the military force under Royal Thai Armed Forces Headquarters. Qualitative research method is applied focusing on finding the solution to the setbacks on the military educational system, with the sample scope on the management level, the strategic level, and the practitioner level, concerning the education of commissioned officer and non-commissioned officer. Main finding representing as the present weakness of the military force development is that after the structural change following the amendment of the Ministry of Defence Organization Act, B.E. 2551, there has never been any single responsible entity on education and the military force development for all levels of officers. Nevertheless, at present, there is the policy on the establishment of the military academy under the National Defence Studies Institute (NDSI) of the Royal Thai Armed Forces Headquarters to have the responsibility on driving the educational development for the military force, which is still under the pilot stage. This, in turn, affects the educational development plan to efficiently relate to the 20-year National Strategy. To drive the educational system development plan for the military force, the significant requirement comprises of the plan development and the efficiency on putting the policy into practice which would need strategic planning, in-line resource allocation, effective procedure including investigation and assessment. The important recommendations are the promotion on knowledge, understanding and the practical principles on policies, visions, and strategies on educational development for the military force, with the noticeable career path for every officer and the strategic plans, of which arose from fulfilling functional analyses, both in terms of quality and quantity. This includes encouraging the collaborative persona, which is concerned as a critical competency and having the collaborative courses as a core function within the Royal Thai Armed Forces. Moreover, there should be the demonstrable education development according to subjects both official courses and supplementary learning courses. This also means the availability of subject arrangement and the categorization of military force, with regards to subjects and work paths, to gain the appropriate educational development, which is the key element for the successful organization. Regarding the founding of military academy, there should be the supports on capability and the academy should be the direct responsible entity for the educational management and training for the military force besides the quality control and standard setting on various courses so that the Royal Thai Armed Forces is able to efficiently educate the military force in line with the vision, tasks, and responsibilities, effectively.