Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: รูปแบบการบูรณาการการระดมทุนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยพิบัติ ทางธรรมชาติที่หมาะสมของประเทศไทย, (วปอ.8644)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย, (วปอ.8644)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2561
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง รูปแบบการบูรณาการการระดมทุนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ เหมาะสมของประเทศไทย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 61 การวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการบูรณาการการระดมทุนเพื่อบรรเทาปัญหาภัย พิบัติทางธรรมชาติที่เหมาะสมของประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการระดมทุน ปัจจัยที่ ส่งผลต่อความส าเร็จในการระดมทุนเพื่อน าไปสู่การเสนอตัวแบบบูรณาการการระดมทุนเพื่อการ บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยใช้วิธีด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะการศึกษารูปแบบการระดมทุนใน ประเทศไทย กรณีมหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 ระยะการสังเคราะห์ตัวแบบบูรณาการการระดมทุน และ ระยะการศึกษาการยอมรับตัวแบบการบูรณาการการระดมทุน ทั้งนี้ก าหนดขอบเขตการวิจัยด้าน เนื้อหาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม รวบรวมเนื้อหา เอกสารข่าว การบรรเทาสาธารณภัย ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการระดม ทุน ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ด้านการระดมทุน โดยแบ่งเป็นผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนจากองค์กรสาธารณกุศลทั้งในและ ต่างประเทศ ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้แทนภาคองค์กร ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์มหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 มีการเปิดระดมทุนจากทุกภาค ส่วนตามภารกิจและนโยบายขององค์กรที่แตกต่างกัน โดยภาคเอกชนเลือกที่จะมอบเงินให้กับองค์กร ภาครัฐ หรือองค์กรสาธารณกุศลที่มีความน่าเชื่อถือ องค์กรสื่อสารมวลชนเลือกที่จะเปิดระดมทุน และ รายงานความช่วยเหลือผ่านช่องทางของตนเป็นหลัก ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 ยังไม่มีการก าหนดแผนปฏิบัติงานการระดมทุนแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัย 3 ประการ ที่น าไปสู่ความส าเร็จในการระดมทุนประกอบด้วย ปัจจัยด้าน การระดมทุน ด้านข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยด้านการสื่อสาร ซึ่งจะน าไปสู่การเสนอตัวแบบบูรณาการ การระดมทุนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยก าหนดให้มี ศูนย์ข้อมูลประสานงานการระดมทุน มีการท างานระบบคู่ขนานระหว่างภาครัฐและองค์กรสาธารณ กุศลที่มีภารกิจโดยตรงในการระดมทุนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก าหนดวัตถุประสงค์ ของการระดมทุนที่ไม่ก่อให้เกิดความซ้ าซ้อน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงปฏิบัติการ และเชิงวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการบูรณาการการระดมทุนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

abstract:

Abstract Title A holistic fundraising model for natural disasters most appropriate for Thailand Field Social-Psychology Name Mrs.Janprapa Vichitcholchai Course NDC Class 61 The study on a holistic fundraising model for natural disasters most appropriate for Thailand aims at exploring types of fundraising and success factors, which are effective and appropriate for a holistic model of natural disaster fundraising in Thailand. The research employs a qualitative method divided into 3 phases: 1) an investigation of emergency fundraising during Thailand’s great flood in 2011, 2) a synthesis of a holistic fundraising model, and 3) an evaluation of the reception of the newly proposed holistic fundraising model. The scope of the study comprises an analysis of information pertinent to the 2011 great flood including ideologies, theories, and literature from media, public disaster mitigation centers, legal documents relevant to fundraising, key informant coverage, in- depth interview of related personnel in fundraising from government sectors, domestic and international charity organizations, and representatives from private sectors. The results show that during the 2011 great flood, there were different types of fundraising from all sectors in accordance with their own missions and policies. The private sectors chose to give their proceeds to government sectors or reputable charity organizations. The media opted for crowdfunding and aid-relief reports. There were no tangible operation plans for fundraising at a comprehensive platform. It is also found that there are 3 distinctive success factors for fundraising. They are fundraising factors, information factors, and communication factors, which will be included in the holistic fundraising model for natural disasters most appropriate for Thailand. In this model, there will be a comprehensive information center for fundraising working in tandem with the public sectors and charity organizations primarily responsible for emergency fundraising. The objectives of this fundraising model will not reiterate other organizations. The researcher concludes the study with recommendations at policy making, operational and academic levels for further use in more effective fundraising.