เรื่อง: เรื่อง การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการส่งเสริมวินัยการขับขี่รถจักรยานยนต์กรณีศึกษาเยาวชนในตําบลเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ (สจว.123 กลุ่ม 4)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิชาการ
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 123 กลุ่มที่ 4
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
110
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
การศึกษาการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการส่งเสริมวินัยการขับขี่รถจักรยานยนต์กรณีศึกษา
เยาวชนในตําบลเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรับรู้
และเข้าใจวินัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางในการ
เสริมสร้างการมีวินัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรที่เป็นเยาวชน ซึ่งมีอายุระหว่าง
๑๘ - ๒๕ ปีที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และอยู่อาศัยในพื้นที่ตําบลเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ รวม ๒๕ คน
โดยจัดกิจกรรมเพื่อสํารวจข้อมูลความเข้าใจและทัศนคติด้านวินัยจราจรและพฤติกรรมในการขับขี่
รถจักรยานยนต์ของเยาวชน และเพื่อที่จะให้ความรู้ด้านวินัยจราจรจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ และใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อวัดความรู้พร้อมทั้งทัศนคติการขับขี่รถจักรยานยนต์ของเยาวชน ก่อนและ
หลังการอบรม รวมทั้งจัดให้มีการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นและ
มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างการมีวินัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์
ผลการศึกษาพบว่าหลังจากรับความรู้แล้วเยาวชนทั้งสองกลุ่มมีระดับความรู้และทัศนคติที่ดี
มากขึ้นในเรื่องวินัยจราจรเพื่อการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยที่กลุ่มเด็กแว้นให้ความสําคัญกับการรณรงค์
ให้ลดพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ในลักษณะที่มีความเสี่ยงสูง และเยาวชนทั่วไปให้ความสําคัญกับ
การวางแผนและตรวจสอบความพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากขับขี่
รถจักรยานยนต์และเยาวชนทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่าควรดําเนินการรณรงค์เรื่องการลดอุบัติเหตุ
และการเคารพกฎจราจร โดยวิธีการพูดคุยหรือลงข้อมูลใน Social Media และการใช้สื่อบุคคลในการ
รณรงค์ให้ตระหนักถึงโทษหรือความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
เช่น การมีของรางวัลหรือการสร้างแรงจูงใจด้วย ทั้งนี้ทุกภาคส่วนที่เป็นผู้ใช้รถใช้ถนนและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางบก สถานีตํารวจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงเรียน จะช่วย
ส่งเสริมการสร้างวินัยจราจร ตลอดจนควรพัฒนาช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ที่เป็นแหล่งรวบรวมสื่อ
เกี่ยวกับวินัยจราจรการขับขี่รถจักรยานยนต์ ให้เยาวชนทุกคนเสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและร่วมเผยแพร่ไปยัง
ช่องทางการสื่อสารต่างๆ ด้วย
abstract:
A Study of Youth Participation in Promotion of Motorcycle Riding Discipline. A Case Study of
Youth in Tepharak subdistrict, Samut Prakan province. The objective is to promote young people to
recognize and understand the discipline of riding a motorcycle. And encourage youth to participate in
suggesting ways to strengthen discipline in riding a motorcycle. By studying the population of youth which
are aged between 18 -25 years old who drive a motorcycle and live in Tepharak subdistrict area, Samut
Prakan province, including 25 people by organize activities to explore information on understanding and
attitudes towards traffic discipline and motorcycle driving behavior among young people. And in order to
provide knowledge on traffic discipline from expert speakers in the area. The questionnaire was used as a
tool to measure the youth's knowledge and attitude of motorcyclists. before and after training Including
holding a focus group for the sample to express their opinions and participate in suggesting ways to
strengthen motorcycle discipline.
The results showed that after receiving the knowledge, both groups of youths had good
levels of knowledge on traffic discipline and attitudes. Motopunk group (Teenagers group who like to rev
motorcycles to make a loud rev sound.) pay attention to the campaign to reduce the behavior of
motorcyclists in a high-risk manner. And general youth group focus on planning and checking motorcycle
riding readiness to prevent accidents from motorcyclists. Both groups of youth agreethat there should be
a campaign to reduce accidents and obey traffic rules by talking method or posting information on social
media and using personal media to campaign for awareness of the penalty or loss caused by an accident.
Including organizing activities to create participation, such as setting rewards or incentives. All sectors who
concern using road and related responsibility, such as the department of land transport, police stations,
subdistrict administrative organizations or schools, can help to promote traffic discipline and also develop
modern communication channels to become central medias about traffic discipline on motorcycles that
all youths be able to learn by themselves and share them to various communication channels.