Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เรื่อง เยาวชนคนรุ่นใหม่กับความตระหนักรู้อย่างมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในชุมชน (สจว. 123 กลุ่ม 2)

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติสิ่งแวดล้อม/Environment
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 123 กลุ่มที่ 2
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
114
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความตระหนักรู้อย่างมีส่วนร่วมของเยาวชนในการ แก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ๒) ศึกษาผลปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชนของ เยาวชน และ ๓) เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชน จากสภาเยาวชนเขตดินแดง จํานวน ๒๑ คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยการ ทดสอบความตระหนักรู้ก่อนและหลังดําเนินกิจกรรม และสนทนากลุ่ม และกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่ม คือ ประชาชนที่มีบ้านอาศัยอยู่ในชุมชนดินแดง จํานวน ๒๕ คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดําเนินทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม ดําเนินการอบรม ระดมความคิด ประเมินความพึงพอใจจากการ อบรม และถอดบทเรียนกับเยาวชนเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการทํากิจกรรม ผลการวิจัย พบว่า เยาวชนมีความตระหนักรู้อย่างมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ด้านสาเหตุของปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ระบุว่า พื้นที่ดินแดงเป็นแหล่งชุมชนเป็นศูนย์กลาง การเดินทางของกรุงเทพมหานคร มีการจราจรหนาแน่น การก่อสร้าง การเผาขยะ การสูบบุหรี่ การปิ้งย่าง ประชาชนขาดความรู้ ขาดความตระหนัก และขาดความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสภาพแวดล้อม รวมทั้ง การบริหารจัดการขยะ ตะกอนดิน ฝุ่นของหน่วยงานภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ ด้านผลกระทบของ ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ระบุว่า ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหอบหืด และโรคมะเร็ง การปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะและสิ่งของเครื่องใช้ มีผลกระทบต่อทัศนวิสัยการขับขี่ เกิดอันตรายต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อท่องเที่ยว และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ด้านแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ให้มีการสร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมีความร่วมมือของ บุคคล ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนในชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่เยาวชนมีคะแนน ทดสอบหลังปฏิบัติการสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเริ่มปฏิบัติการและส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ใน ระดับสูงมากในส่วนของประชาชนที่ได้รับการอบรม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการ อบรม และส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูงมาก ผลการระดมความคิดระบุว่าสาเหตุของ ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน เกิดจากการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน จากโรงงานและผู้ประกอบการ การจราจรที่หนาแน่น การค้าขายจากผู้ประกอบการ และร้านปิ้งย่าง การเผาขยะ เผาศพ และควันจากการสูบ บุหรี่ มีผลกระทบต่อทางการหายใจ โรคมะเร็ง การปนเปื้อนในอาหาร น้ําดื่มและน้ําในแหล่งชุมชน ทัศนวิสัยไม่ ปลอดโปร่ง ทําให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่วนแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ให้หน่วยงานภาครัฐ รณรงค์และสร้างความรู้แก่ประชาชน ร้านค้า ผู้ประกอบการ ในการเลือกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ดํารงชีวิต และการประกอบอาชีพ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ในชุมชนเพิ่มขึ้น และหน่วยงานภาครัฐ ดําเนินการ กํากับ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และการอบรมทําให้ประชาชนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน ประกอบด้วย ส่งเสริมให้ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มผู้นําและจิตอาสาได้สื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน หลากหลายช่องทางทุกกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานภาครัฐสร้างกลไกการส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมี ความรู้ เกิดความตระหนัก ปฏิบัติตามระเบียบ มาตรการ รวมทั้ง ควบคุม ดําเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัด และปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ลดฝุ่นกับการให้บริการสาธารณะ

abstract:

The objectives of this research are as follows: 1) To study the Active Participatory Awareness of youth in solving PM2.5 air pollution problems in their community; 2) To study the results of Youth-led initiatives in solving PM2.5 air pollution problems in their community; and 3) To propose strategies for solving PM2.5 air pollution problems in communities. The target groups, which are done by purposive samplings, are 21 young people from the Din Daeng District Youth Council and 25 Din Daeng residents. The research involved pre-test and post-test evaluation, workshops, brainstorming, satisfaction evaluation, interviews, focus group discussions and lesson learned. Data analysis employed content analysis and a comparison of pre- test and post-test scores. The research findings indicated that youth have Active Participatory Awareness in solving PM2.5 air pollution problems in their community. Din Daeng District is the center of Bangkok transit passage, which leads to the causes of PM2.5 air pollution includes construction, traffic congestion, business activities, burning waste, cremations, smoking, lack of knowledge and awareness of people in communities, and also lack of intelligent efficiency management of government agencies on waste management and dust control. The impacts involved respiratory diseases, allergies, lung diseases, asthma, cancer, food and utensil contamination. Not only the PM2.5 affected driving visibility, endangered lives and property, but also affected tourism and the country’s economy. Recommendations for solving PM2.5 air pollution problems include raising people’s awareness and responsibility, pragmatic law enforcement, and cooperation among three groups: community residents, business operators, and government agencies. The youth's post- activity test scores were significantly higher, showing a high level of relative gain score. ง The community members who received training also showed higher post- training scores and improved relative gain score. The causes of PM2.5 air pollution were attributed to construction, business activities, traffic, various sources of combustion, burning waste, cremations and smoking. The impacts involve respiratory diseases, allergies, lung diseases, asthma, cancer, food and water contamination and bad visibility that can cause the traffic accidents. Recommendations for solving PM2.5 air pollution problems should be initiated by government agencies, including enlightening people, merchants and business operators to adapt behavior and lifestyle, increasing greenfield, pragmatic law enforcement. And the community members who received training also showed the highest level of satisfaction. Recommendations encompassed encouraging the new generation youth leaders and volunteers to communicate, enhance their knowledge and understanding of solving PM2.5 problems in the community through a variety of channels of all target groups. Government agencies should create mechanisms to promote knowledge, awareness, and adherence to regulations, along with pragmatic law enforcement and transitioning to cleaner technologies for public services.