Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เรื่อง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผล ต่อทัศนคติของเยาวชน Generation Z (สจว.123 กลุ่ม 1)

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 123 กลุ่มที่ 1
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
106
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้รูปแบบของสื่อมีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วผ่านสื่อออนไลน์ หรือ Social Media ซึ่งมี แพลตฟอร์ม (Platform) เป็นตัวกลาง ในการสื่อสารระหว่างกลุ่มบุคคลทําให้วิถีชีวิตของบุคคลปรับเปลี่ยนแนวทางในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ที่ป้อนเข้าสู่ระบบได้ง่ายตามสภาวการณ์แข่งขันที่ต้องการความรวดเร็วทําให้การนําเสนอ ขาดการพิจารณาในทุกมิติของสังคม ส่งผลกระทบต่อเยาชนที่รับรู้ข่าวสารจากการเข้าถึงได้ง่าย ทําให้ขาดการพิจารณาไตร่ตรองและตัดสินใจเชื่อในข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น โดยขาดการวิเคราะห์ให้ครบ ในทุกมิติ ซึ่งการสื่อสารข้อมูลที่ผิดโดยเฉพาะเรื่องการเมืองจะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของชาติ เพราะกลุ่มเยาวชนที่ยังขาดประสบการณ์ชีวิตและทัศนะทางการเมืองที่มีมิติที่หลากหลาย การวิจัยครั้งนี้จึงเน้นศึกษาให้ทราบถึงการเปิดรับและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถสร้างการรับรู้เนื้อหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อทัศนคติ ของกลุ่มเยาวชน Gen Z เพื่อนําไปสู่รูปแบบหรือแนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา (Message or Content) ให้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะวิเคราะห์และตัดสินใจเชื่อในข้อมูลที่ถูกต้องครบมิติ ตลอดจน การมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่เยาวชนกลุ่ม Gen Z ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และภูมิคุ้มกัน ต่อการรับข้อมูลข่าวสารปลอม บิดเบือนหรือไร้ข้อเท็จจริง (Fake News) โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในการให้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพรวมทั้งสิ้น ๗๖๑ คน และปฏิบัติการจิตวิทยาในพื้นที่เป้าหมายซึ่งมีเยาวชน Gen Z เข้าร่วมทั้งสิ้น ๗๔ คน จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า เยาวชน Gen Z มีการเปิดรับและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทางการเมือง ในช่วงเวลา ๒๐:๐๐ – ๐:๐๐ น. ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ที่มีการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) โดยสื่อต้องเป็นข้อเท็จจริงปราศจากอคติมีแหล่งอ้างอิง และควรนําเสนอประเด็น การเมืองที่สัมพันธ์กับเรื่องใกล้ตัวของกลุ่มเป้าหมาย (Target audience) ทั้งนี้ในกระบวนการคิด ของเยาวชน Gen Z ให้ความสําคัญกับบุคคลที่เป็นแหล่งข่าวให้ความสําคัญกับเนื้อหา มีการจัดระบบ ความคิดก่อนที่จะเชื่อหรือมีทัศนคติเชิงบวก โดยมีการตรวจสอบ และเปรียบเทียบแหล่งข่าว วิเคราะห์ ตีความ เรียบเรียงและตัดสินใจ และจากผลการปฏิบัติการจิตวิทยา ประเมินผลผ่านแบบประเมิน ทัศนคติโดยมีผลการเปลี่ยนแปลงทําให้เยาวชน Gen Z มีทัศนคติที่ดีขึ้นแสดงถึงการมีองค์ความรู้เป็น ภูมิคุ้มกันต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารปลอม ตลอดจนมีแนวทางการผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ควรมีการเผยแพร่ความรู้ “Counter Fake News” ให้เยาวชนที่มีการนําเสนอทั้งมิติผู้รับสารและ ผู้ส่งสาร โดยเนื้อหาควรครอบคลุมประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการนําข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และโทษที่ได้รับเมื่อกระทําผิด

abstract:

Technological advancement resulted in rapid change of media through online or social media, which has platform as medium in communication between groups of people. This has caused changes in people’s lifestyle such as the way they receive information and input into the system easily according to the competitive situation when requires speed, which resulted in presentation that lacked consideration in all dimensions of society. The above has affected the reception of information of youths resulting in lack of consideration and believing in that information without analysing all available dimensions. Miscommunication, especially on political issues, will directly affect national security because youths are lacked of life experience and political perspectives that have multiple dimensions. This research studies the exposure and exposure of political information and format of social media that create political perception that affect Generation Z youth’s attitude. This leads to forms or approaches to create content or message that provide knowledge, understanding, analytical skills, holistic decision-making ability, and political contribution of generation Z youth in order to create knowledge and immunity to fake news. A total of 761 people were studied quantitatively and qualitatively and total of 74 generation Z youth in the targeted area participated in psychological operations. From these studies, it was found that generation Z youth perceive political information between 8.00 pm to midnight through content sharing social media, where media must be factual, without prejudice, instead have a reference and present political issue that relevant to the target audience. Generation Z youth’s thinking process pay attention to the people who are in the news, content of the news, organise thinking system before believing or having positive attitude, which examine and compare news source, analyse, interpret, compose, and make decisions. From operation psychology, the attitude assessment, generation Z’s attitude has changed to a positive direction, which also implies that they have knowledge that immune to fake news as well as produce creative media. Moreover, there should be dissemination of counter fake-news knowledge to youth, which acts as both audiences and messengers. The content should cover legal issues related to data input and penalties/punishment when committed the offencethat