เรื่อง: ทัศนคติของเยาวชนต่อการเกณฑ์ทหาร
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 122 กลุ่มที่ 3
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
098
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ภาพลักษณ์เชิงลบเกี่ยวกับบทบาทและวิธีการเกณฑ์ทหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เยาวชน
มีความเข้าใจผิดต่อบทบาทหน้าที่ของทหาร ในปัจจุบัน คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาทัศนคติ
ของเยาวชนอายุระหว่าง ๑๕-๒๐ ปี ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และปริญญาตรี
ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน ๔๐๐ ราย ผ่านระบบออนไลน์ และทำการสัมภาษณ์เยาวชนในชุมชน
ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.๑) ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการทำปฏิบัติการจิตวิทยา
จำนวน ๖ รายเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงทัศนคติเชิงลบของเยาวชน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ
และคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลระหว่าง เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๖๕ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล
ไม่มีผลต่อทัศนคติของเยาวชน ในขณะที่แรงจูงใจ ด้านสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ หรือการยอมรับ
ทางสังคม มีผลต่อทัศนคติของเยาวชนต่อการเกณฑ์ทหารและเยาวชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ
เกณฑ์ทหารในปัจจุบัน โดยเห็นควรปรับเปลี่ยนเป็นแบบสมัครใจ
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ใช้แนวทางจิตวิทยา (ปจว.) เป็นเครื่องมือในการชี้แจง
ทำความเข้าใจควบคู่กับการใช้สื่อออนไลน์ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มแรงจูงใจด้วยสิทธิประโยชน์
และการยอมรับจากสังคม พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเกณฑ์ทหารให้สอดคล้องกับทัศนคติและบริบท
ของสังคมปัจจุบัน
abstract:
Negative impression of roles and methods of military conscription may
cause youth to misunderstand the roles and duties of the military. At present, the
research team has studied the viewpoint of 400 youths between the ages of 15 and 20
who are pursuing secondary education, vocational education, and bachelor's degrees
in higher education institutions. The study was conducted through the online system
and 6 interviews with youths in the 1 st Anti Aircraft Artillery Regiment community,
which is the target area for psychological operations, to provide information for
improving the negative impression of youth, using quantitative and qualitative research
by collecting data between June and July 2022. The study found that personal factors
do not affect the attitudes of the youth, while motivation in terms of benefits, welfare
or social acceptance affect the impression of young people to military conscription.
Most youths do not agree with the current methods of conscription and view that the
military draft should be modified to voluntary system.
In this regard, the research team has a suggestion to use the Psychology
Guidelines (Psychological Operations) as a tool to clarify understanding along with the
use of online media and focus on increasing motivation with benefits and social
acceptance, while adjusting the military enlistment policy to be in line with the current
impression and context of society