Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เรื่อง การพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านราณี ๒ เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 121 กลุ่มที่ 1
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
087
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ ศึกษาบริบทของชุมชนที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมและคุณลักษณะของเด็กและเยาวชน และศึกษาแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคม (Social credit system) และรูปแบบของพื้นที่นวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ เด็กและเยาวชนในชุมชนหมู่บ้านราณี 2 เขตลาดพร้าว การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้มีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ที่อาศัยอยู่ ในชุมชนหมู่บ้านราณี 2 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จ านวน 23 คน ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 15 – 20 ปี และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้น าชุมชนที่เป็นผู้อ านวยการโรงเรียนลาดปลาเค้า เจ้าหน้าที่ส านักงานเขตลาดพร้าว ชุมชนและคณะกรรมการชุมชน และผู้ปกครอง ในด้านแนวทาง การใช้ระบบเครดิตทางสังคม (Social credit system) และรูปแบบของพื้นที่นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2564 ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบทของชุมชนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและคุณลักษณะของเด็กและ เยาวชน พบว่า ชุมชนหมู่บ้านราณี 2 เป็นชุมชนเมือง ผู้ปกครองต้องประกอบอาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง ไม่มีเวลาในการคอยก ากับดูแลเยาวชนได้เต็มที่ เต็มเวลา ประกอบกับมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุต่อการก่อให้ เกิดพฤติกรรมและคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของเยาวชน ได้แก่ การทะเลาะวิวาท การติดสารเสพติด การไม่เคารพสิทธิผู้อื่น เยาวชนขาดจิตส านึกรักษ์ท้องถิ่น ขาดความตระหนักรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมน้อย ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา พบว่า ทางชุมชนหมู่บ้านราณี 2 มีการให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกับชุมชนในลักษณะกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของชุมชน ไม่ใช่กิจกรรมเฉพาะเยาวชน ซึ่งกิจกรรมไม่ได้มีบ่อยครั้ง หรือต่อเนื่อง นานๆมีครั้ง ส่วนใหญ่กิจกรรม จึงไม่ได้มีผลต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของเยาวชนโดยตรง นอกจากนั้น กิจกรรมเป็นไปตามความสมัครใจในการเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้เพราะท าเฉพาะในชุมชน ส่งผลให้ไม่เกิดแรงจูงใจหรือเห็นความส าคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม จากสภาพบริบทดังกล่าว กลุ่มผู้เกี่ยวข้องและเยาวชนได้มีความคาดหวังอยากให้เยาวชนในชุมชนหมู่บ้านราณี 2 มีลักษณะ อันพึงประสงค์ คือ การเป็นบุคคลที่จิตส านึกที่ดี ให้ความร่วมมือในการรักษาชุมชน เป็นเยาวชน ที่มีจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่นและครอบครัว ไม่ประพฤติตนเป็นภาระให้ครอบครัวและสังคม และเคารพ สิทธิผู้อื่น ผู้มีระเบียบวินัยไม่ท าผิดกฎหมาย และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ซึ่งความคาดหวังดังกล่าว จ าเป็นต้องมีกิจกรรมหรือรูปแบบ นวัตกรรม ที่ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความ คาดหวัง โดยให้เยาวชน มีส่วนร่วมในการการออกแบบนวัตกรรม/กิจกรรม การบริหารจัดการมากกว่า ผู้ใหญ่ เพื่อฝึกให้เยาวชน มีความรับผิดชอบร่วมกันมีผู้ปกครอง กรรมการชุมชน และส่วนราชการหรือ เอกชนคอยสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน 2. แนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคม (Social credit system) เพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนในชุมชนหมู่บ้านราณี 2 เขตลาดพร้าว พบว่า มี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) ให้หน่วยงานทางการศึกษาและส่วนราชการ เอกชน เยาวชน ชุมชน เข้ามา มีส่วนร่วมออกแบบระบบเครดิตทางสังคมของเยาวชน และร่วมสนับสนุนการท ากิจกรรมของเยาวชน ที่จะน ามาใช้เป็นเครดิต 2) สร้างระบบเครดิตทางสังคมรูปแบบออนไลน์ให้มีความเชื่อมโยงกับโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน เช่น การบันทึกการท าความดีออนไลน์ การตัดแต้มเมื่อมีคดีความ หรือท าผิดวินัย จราจร 3) จัดท าแอพพลิเคชั่นระบบเครดิตทางสังคมที่สามารถบันทึกคะแนน /ตัดคะแนนหรือสื่อสาร ได้ในระบบมือถือให้ใช้งานได้สะดวก และ 4) จัดระบบสวัสดิการเพื่อเป็นรางวัลเสริมแรง และบทลงโทษ ตามปริมาณของคะแนน เช่น คะแนนสูงระดับ...มีสิทธิ์ในการรับคูปองการท่องเที่ยว การได้รับการ ยกเว้นค่ารถโดยสาร ฯลฯ 3. รูปแบบของพื้นที่นวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและ เยาวชนในชุมชนหมู่บ้านราณี 2 เขตลาดพร้าว พบว่า รูปแบบพื้นที่นวัตกรรมและกิจกรรมควรเป็น กระบวนการที่ให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยตนเองควบคู่กับการบริหารจัดการ พื้นที่ใหญ่ เพื่อฝึกให้เยาวชนมีความรับผิดชอบร่วมกัน นวัตกรรมในพื้นที่คือ ชุมชนประชาธิปไตยวัยรุ่น หรือสภาเยาวชน โดยมีรูปแบบการ จ าลองหมู่บ้านเยาวชนชุมชนราณี 2 เป็นชุมชนย่อยใน ชุมชนหลัก ชุมชนหมู่บ้านราณี 2 มีเยาวชนทั้งหมดในชุมชนเป็นสมาชิกหมู่บ้าน อยู่ภายใต้การก ากับ ดูแล ส่งเสริม ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ จากชุมชนใหญ่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเยาวชนชุมชน เพื่อบริหารจัดการ แบบชุมชนใหญ่ สร้างเครือข่ายและศูนย์ประสานงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและร่วม กิจกรรมในการด าเนินการพื้นที่นวัตกรรม จัดให้มีการท ากิจกรรมในหมู่บ้านเยาวชนชุมชนราณี 2 ร่วมกันทุกเดือน ทั้งกิจกรรมเฉพาะในชุมชนย่อย และกิจกรรมร่วมกับชุมชนใหญ่ โดยกิจกรรม ที่ดำเนินการนำมาเชื่อมโยงเป็นคะแนนเครดิตทางสังคมได้

abstract:

The purpose of this research is to study how the environment in a community affects the behavior and attributes of the children and adolescents population. This includes the study to paveway the use of Social Credit System in order to guide these youth, using Moobhan Ranee II Ladprao District Community as case study, to achieve desirable virtue. Conducted from March to August, 2021, this qualitative research is based on interviews of 23 people who reside in Moobhan Ranee II Ladprao District Community, Bangkok. The research is conducted on youth group ages between 15-20 years old and authorities of the community, such as leaders, community boards and parents. It focused on constructing ways to implement a Social Credit System and establishing an experimental community which encourages desirable behaviors and characteristics in children and adolescents. The research concludes that: (1) the environment in the community directly influences the behavior and characteristics of children and adolescents. Moobhan Ranee II Ladprao District Community is located in the city. Residents who have children are usually full-time working parents, which leads to the inability to closely monitor and interact with their child. Moreover, the environment that they live in may influence unwanted behavior such as physical confrontation, drug addiction, inconsideration of other people's rights, lack of nationalistic value, irresponsibility to oneself, family ,and community. As such, in an attempt to resolve this problem, the community had tried to encourage these children and adolescents to participate in whole community activities. These activities were not focused on the youth population alone and were uncontinuous, proving to be quite ineffective. Moreover, the activities were limited within the community alone and were not mandatory, undermining the importance of the program and causing non-attendance of these youth group.ง From this situation, the authorities of the Moobhan Ranee II Ladprao District Community are hoping to guide the youth population to achieve desirable behavior and characteristics such as having moral and cooperate in protecting the community, becoming volunteers and helping other people and families in the community, being responsible to their family and society, respecting other people and the law, and staying away from drugs. With this in mind, activities or innovative arrangements that will impact behaviors need to be set up in order to achieve this goal. To encourage these children and adolescents to participate in these activities, we need to have them actually participate in designing, setting up, and managing this system. Being a part of the program and having more control over the system than the adults will train them to be more responsible. Parents, leaders, community board, government and private entities will support and monitor the program for sustainability. (2) Implementation of the Social Credit System is meant to encourage children and adolescents of the Moobhan Ranee II Ladprao District Community toward better behavior and characteristics. There are four ways in which this system can be implemented. Firstly, we can have the Ministry of Education and other related government agencies, private entities, children and adolescents, and communities all participate in designing the Social Credit System and supporting activities that can be used to contribute to the system. Secondly, the system can be established as an online system so that the activities at school, home, and community can all be counted as credit. Points can be added or deducted real-time according to their behavior. For example: points will be added when they perform good deeds, and will be deducted when they commit crime or violate traffic laws. Thirdly, create a Social Credit System application to be used on smartphones that records and shows their points on demand, so it will be more convenient. Lastly, establishing a reward and punishment system according to the points they received. For example: people who received high points may get a travel coupon, get an exemption for public transportation, etc. (3) The innovative experimental system aiming at improving the behavior of children and adolescents living in Moobhan Ranee II Ladprao District Community should be implemented in ways that encourage these youth to participate in the creation and management of the system. In order to train these children and adolescents to be more responsible, organizations such as a community democratic youth group or a youth council must be established. In addition, a smaller community consisting of only children and adolescents can be set up to imitate the larger Moobhan Ranee II Ladprao District Community. A managing council will be elected and supported by the larger community. The council will be responsible for arranging monthly activities both by itself and in cooperation with the larger community. Activities mentioned can be tied to the Social Credit System.