Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนตามสังคมและวัฒนธรรมโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 9 กลุ่มที่ 6
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
095
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน ตามสังคมและวัฒนธรรม โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และเพื่อประเมินผล การดำเนินงานกิจกรรม รวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม จากพฤติกรรมความเป็นคนดี ๖ ประการ ของนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้แบ่งตามการดำเนินกิจกรรม ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ ค้นหาแกนนำ กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดย ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๐ คน ครูที่ปรึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๐ คน ขั้นตอนที่ ๒ สร้างคนทำดี กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยใช้วิธีเลือก แบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๓๑ คน ขั้นตอนที่ ๓ การันตี คุณธรรมกลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๙๐ คน หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยเปิด ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๑๙๐ คน การเก็บข้อมูลคณะผู้ศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในรูปแบบ Google Form สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ใน การศึกษาวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการศึกษาแนวทางเสริมสร้าง ความเป็นคนดีของนักเรียนตามสังคมและวัฒนธรรมโรงเรียนสตรีวัดมหา พฤฒาราม ในพระบรม ราชินูปถัมภ์และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมรวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม จากพฤติกรรม ความเป็นคนดี ๖ ประการ ของนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พบว่า ๑. แนวทางการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนตามสังคมและวัฒนธรรม โรงเรียน สตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยกิจกรรม "รวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม" ประกอบด้วย การดำเนินกิจกรรม ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ ๑ “ค้นหาแกนนำ” ขั้นที่ ๒ “สร้างคนทำดี” และขั้นที่ ๓ “การันตีคุณธรรม ๒. ผลการประเมินการจัดกิจกรรมรวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม โรงเรียนสตรีวัดมหา พฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พบว่า นักเรียน และครูแกนนำ จำนวน ๖๐ คน เข้าร่วมกิจกรรม รวมใจวัยฝันรังสรรค์คุณธรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเป็นคนดี และคุณธรรมเป้าหมายข ๖ ประการ ของโรงเรียนสตรี วัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สามารถถ่ายทอดความรู้จาก การเข้าร่วมกิจกรรมสู่ห้องเรียนของตนเองได้เป็นอย่างดีส่งผลให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๓๑ คน มีความรู้ ความเข้าใจ และประพฤติปฏิบัติตนตามคุณธรรมเป้าหมาย ๖ ประการ ของโรงเรียน ทำให้กิจรรมรวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม มีผลการดำเนินกิจกรรมบรรลุเป้าหมายที่ กำหนดไว้ ผลการประเมินกิจกรรมรวมใจวัยฝัน รังสรรค์คุณธรรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมี ด้านปัจจัย มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยเฉพาะด้านระยะเวลาดำเนินการตามแผน สถานที่ ดำเนินการ มีความเหมาะสม จำนวนเครื่องมือ อุปกรณ์ มีความเพียงพอ และมีคุณภาพเหมาะสมกับ การ ใช้งาน ด้านกระบวนการ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านขั้นตอนการดำเนินงานเป็นไป ตามกำหนดเวลา และด้านผลลัพธ์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก สำหรับปัญหาและอุปสรรค ของการจัดกิจกรรมรวมใจวัยฝันรังสรรค์คุณธรรม คือ การจัดได้ดำเนินการในช่วงปลายภาคเรียนที่ ๒ ซึ่งเป็นช่วงเวลานักเรียนใกล้สอบปลายภาค ทำให้การดำเนินการจัดกิจกรรมกระทบต่อการเตรียมตัว อ่านหนังสือสอบของนักเรียน ดังนั้นควรดำเนินการจัดกิจกรรมในช่วงเปิดภาคเรียนที่ ๑ ๓. ผลการประเมินพฤติกรรมความเป็นคนดี ๖ ประการ ของนักเรียนโรงเรียนสตรี วัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พฤติกรรมด้านคุณธรรมเป้าหมายโดยการสอบถาม ผู้ปกครอง พบว่า นักเรียนที่เข้ารับการอบรม แสดงออกถึงคุณธรรมด้านความมีกตเวทิตา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๕๐ รองลงมาด้านความรับผิดชอบ คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๐๐ ส่วนด้านที่น้อยที่สุด คือด้านความพอเพียง คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๑๐

abstract:

The purposes of this research were 1) to study the characteristics of the social credit system based on freedom of social media expression to enhance upright school project students’ characteristics, 2) to establish guidelines for using the social credit system based on freedom of social media expression to enhance upright school project students’ characteristics. The processes of this research were studying the characteristics of the social credit system based on freedom of social media expression to enhance upright school project students’ characteristics and collecting quantitative data mix with qualitative data. The research results were: The characteristics of the social credit system based on freedom of social media expression to enhance upright school project students’ characteristics comprised: (1 ) The area to express opinions freely and safely are social media, comment box, school, village, public zone, talking with friends, family, direct authoritarian and teachers. (2) The activities or stories which students want to express are COVID 19 situation, politics, education, ways of life, economic, student uniform, hair style, environment, culture and religion. (3 ) The criterion for giving rewards are numbers of people who interested in, followers, resolutions, giving opinions, worthiness, satisfaction and usefulness. (4 ) The results for good expression are praises, certificates, acceptation, rewards, opportunities, happiness, encouragement, respect, equality. The results for bad expression are giving opportunity to improve, giving advices, giving punishment, cancel the rewards and change their attitude.ง The Guidelines for using the social credit system based on freedom of social media expression to enhance upright school project students’ characteristics comprised 7 compositions. There are 1 ) principle 2 ) objectives 3 ) freedom expression area are a social media, a comment box, the area in a school such as a meeting room and an activities field 4 ) five characteristics of upright school project students are thinking skills, discipline, honesty, sufficiency, and public mind 5 ) the characteristics of giving social credit are learning, society, and social media 6 ) The criterion are the scores and expected credits, there are certificates, a school supplies set (big set and small set), an internet card and a scholarship 7 ) the controlling of using and development guidelines are an administrator role, a teacher role, a student role, parents and basic education boards.