Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เรื่อง แนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต :กรณีศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 8 กลุ่มที่ 2
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
132
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะของระบบเครดิตทางสังคม บนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการ โรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สังกัดส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ ๒) เพื่อเสนอแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคม บนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการ โรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมข้อมูลจาก ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มนักเรียนที่ก าลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยด าเนินการ วิจัยแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ศึกษาลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่ แสดงออกอย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต โดยวิธีการสัมภาษณ์ จากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ จ านวน ๒๗ คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (PurposiveSampling) โดย การสัมภาษณ์ (Interview)และ๒) การเสนอแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่ แสดงออกอย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus GroupDiscussion)จากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ จ านวน ๑๕ คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐาน ของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนนวมิน ทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ ที่ประสบความส าเร็จเชิงประจักษ์และมีความโดดเด่น ๒ ด้าน คือ การมีทักษะกระบวนการคิด และ ด้านการอยู่อย่างพอเพียง โรงเรียนมีแนวทางขับเคลื่อนโดย การจัดกิจกรรม/โครงการที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นเวทีแสดงออกอย่างเสรีของผู้เรียน

abstract:

The purposes of this study were: 1) to study the characteristics of a social credit system based on free expression in enhancing student attributes for the upright school project: Case study Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Phutthamonthon School, Secondary Educational Service Area Office 1 (SESAO) 2) to propose guidelines for using the Social Credit System based on free expression in enhancing student attributes for the upright school project: Case study Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Phutthamonthon School, Secondary Educational Service Area Office 1 (SESAO). This qualitative research was performed by collecting information from director, teachers, education board and students studying in Senior High School, Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Phutthamonthon School, Secondary Educational Service Area Office 1 (SESAO). The research was divided into two steps as follows: 1) studying the characteristics of a social credit system based on innovation space in enhancing student attributes for the upright school project by interviewing 27 key informants using purposive sampling. 2) proposing guidelines for use of the Social Credit System based on free expression in enhancing student attributes. Purposive sampling was used to select 15 key informants for focus group discussion. Content analysis was performed, and the frequency statistics was used. This result showed that the use of a social credit system based on free expression in enhancing student attributes in Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Phutthamonthon School was empirically successful and outstanding in two areas: 1) thinking skills and 2) self-sufficient living. Propulsion approach of school by a variety of activities/projects was a key platform for learners to express themselves freely.