เรื่อง: เรื่อง แนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต: กรณีศึกษาโรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคมสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 8 กลุ่มที่ 8
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
171
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐาน
ของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต ๒)
สร้างแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้าง
คุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต มีขั้นตอนการวิจัย ๒ ขั้นตอน คือ ๑) การศึกษา
ลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้างคุณลักษณะ
ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริตโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับระบบ
เครดิตทางสังคมคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต สัมภาษณ์ นักเรียนผู้ปกครอง ครู
ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ศิษย์เก่าโรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม จ านวน ๓๖ คน ๒)
สร้างแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้าง
คุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต โดยน าผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ ๑ มายกร่าง
และตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน ๖ คน ผู้บริหาร ครูและนักเรียน
โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม จ านวน ๗ คน รวม ๑๓ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
สถิติที่ใช้คือค่าความถี่
ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออก
อย่างเสรี ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต กรณีศึกษา
โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม มีคุณลักษณะที่โดดเด่นคือการมีจิตสาธารณะ แนวทางการใช้ระบบ
เครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียน
ในโครงการโรงเรียนสุจริต กรณีศึกษาโรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบ
ได้แก่ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) ระบบเครดิตทางสังคม ประกอบด้วย คุณลักษณะของ
นักเรียนในโครงการโรงเรียน ๕ ประการ คือ ทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง
มีจิตสาธารณะ เกณฑ์การประเมิน ช่องทางการแสดงออก พื้นที่และ โอกาส การแสดงความคิดเห็น
อย่างสร้างสรรค์ ตามบริบทของพื้นที่ ผลตอบแทนจากการแสดงพฤติกรรมทางสังคม ๔) แนวทางการ
พัฒนาระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่แสดงออกอย่างเสรีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนใน
โครงการโรงเรียนสุจริตประกอบด้วยแนวทางระดับนโยบาย แนวทางระดับองค์กร แนวทางระดับบุคคล
abstract:
The objectives of this research were to study the characteristics and create
guidelines for using the social credit system based on free expression areas to enhance the
student's attributes in the upright school project. There were two research steps: 1) the
study of the characteristics of the social credit system based on the free expression area in
enhancing the student's characteristics in the upright school project by studying the
relevant documents and research on the system; social credit, student characteristics in
the upright school project, interviews with students, parents, teachers, administrators,
school committees 36 persons of Banphot Phisaipittayakom School 2) Create guidelines
for using the social credit system based on free expression space to enhance student
characteristics in the upright school project the results of the study from step 1 were
drawn up and examined for the appropriateness of the guidelines by 6 experts, 7:
administrators, teachers and students of Banphot Phisaipittayakom School, a total of 13
people. Data were analyzed by content analysis. The statistic used is the frequency value.
The research found that the characteristics of the social credit system based
on the free expression of space in enhancing the student's characteristics in the upright
school project case study of Banphot Phisaipittayakom school a distinctive feature is the
presence of a public mind. Guidelines for using social credit system based on free
expression area to enhance student's character in upright school project The case study of
Banphot Phisaipittayakom School consisted of 4 components: 1) Principle 2) Objective 3)
Social credit system consisted of 5 characteristics of students in the upright school project:
thinking process skills, discipline, upright. live sufficiently, have a public mind, assessment
criteria channels of expression, space and opportunities for constructive opinions. according
to the context of the area The reward for showing social behavior 4) The guidelines for
developing a social credit system based on the free expression area to enhance the
student's character in the upright school project consist of policy official and person