Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ปัญหารัฐอิสลาม (Islamic State) : ในตะวันออกกลาง : บทเรียนสำหรับภูมิภาคอาเซียน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี อภิศักดิ์ สมบัติเจริญนนท์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ปัญหารัฐอิสลาม (Islamic State) ในตะวันออกกลาง : บทเรียนส าหรับ ภูมิภาคอาเซียน ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย พลตรี อภิศักดิ์ สมบัติเจริญนนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ หลังจากเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายเขย่าโลก เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ จนสหรัฐฯ ต้อง ประกาศสงครามเพื่อตามล่า โอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) ผู้ก่อตั้งกลุ่มอัลกออิดะห์ (Al-Qaeda) ซึ่งสหรัฐฯ เชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการครั้งนั้น ถึงแม้ผลของการตามล่าจะประสพ ความส าเร็จหลังใช้เวลาถึง ๑๐ ปี แต่กลับไม่สามารถน าความสงบสุขกลับมาสู่โลกและภูมิภาคได้ ในทางกลับกันกลับท าให้เกิดกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใหม่ที่มีความสุดโต่งยิ่งกว่า ภายใต้ชื่อ “ไอเอส” หรือ “Islamic State: IS” โดยกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้มีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งรัฐอิสลามให้เป็นศูนย์กลางและ ผู้น าของชาวมุลิมทั้งโลก (Caliphate) ด้วยการอ้างหลักศาสนาเป็นเครื่องมือและใช้สื่อโซเชียล (Social Media) ในการเผยแผ่อุดมการณ์ของกลุ่ม ท าให้มีผู้ที่ฝักใฝ่จ านวนมากเดินทางเข้าไปร่วมรบในอิรัก และซีเรียที่ทางกลุ่มยึดครองและประกาศก่อตั้งเป็นรัฐอิสลาม (Islamic State of Iraq and the Levant) แต่จากการปราบปรามอย่างหนักด้วยการสนับสนุนของมหาอ านาจทั้งรัสเซียและสหรัฐฯ ในที่สุดซีเรีย และอิรักก็สามารถยึดดินแดนคืนจากกลุ่มไอเอสได้เป็นส่วนใหญ่ ท าให้ทางกลุ่มต้องปรับกลยุทธใหม่ โดยกระตุ้นให้สมาชิกที่กระจายอยู่ในหลายประเทศใช้การปฏิบัติการก่อการร้ายโดยล าพัง (Lone wolf) ซึ่งวิธีดังกล่าวก็ยังส่งผลกระทบทั้งทางจิตวิทยาและสร้างความสูญเสียในหลายภูมิภาคจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของภูมิภาคอาเซียนพบว่ากลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่มได้ประกาศตัวสวามิภักดิ์ต่อไอเอสและ เจริญรอยตามทั้งการใช้สัญลักษณ์และวิธีการ โดยเหตุการณ์ที่ท าให้อาเซียนต้องตื่นตัวอย่างมาก คือ การยึดเมืองมาราวีของฟิลิปปินส์โดยกลุ่มมาอูเต (Maute) หรือที่เรียกตัวเองว่า “Islamic State of Lanao” ท าให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องทุ่มก าลังทหารเข้าปราบปรามแต่ก็ต้องใช้เวลาถึง ๕ เดือนเต็มจึง สามารถยึดเมืองคืนได้ส าเร็จและสามารถสังหารกลุ่มก่อการร้ายได้เป็นจ านวนมาก อย่างไรก็ตามกลุ่ม ก่อการร้ายที่ฝักใฝ่ไอเอสก็ยังไม่หมดไป ยังคงมีการเคลื่อนไหวปฏิบัติการในหลายประเทศของอาเซียน ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จะเห็นได้ว่าการก่อเกิดของการก่อตั้งรัฐอิสลามในตะวันออกกลางได้ส่งผลให้การก่อการ ร้ายทั่วโลกและในอาเซียนมีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการปฏิบัติการยึดเมืองมาราวีที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่า จะเกิดขึ้นในอาเซียน บทวิจัยนี้จึงได้ก าหนดกรอบการวิจัยด้วยการศึกษาการก่อการร้ายโดยรัฐอิสลาม ในตะวันออกกลาง วิเคราะห์เปรียบเทียบกับการก่อการร้ายในภูมิภาคอาเซียนผ่านตัวแปรร่วมที่ส าคัญ ทั้งในแง่ของความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์ ความแตกต่างของภูมิรัฐศาสตร์ ปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอกที่ส่งผลต่อการก่อการร้าย และการพัฒนาของสถานการณ์ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อน ามาเป็นบทเรียนในการเสนอแนะแนวทางก าหนด นโยบายด้านการเมืองระหว่างประเทศของอาเซียน ในการเสริมสร้างความมั่นคงและป้องกันปัญหา การขยายตัวด้านการก่อการร้ายของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทยในอนาคต

abstract:

Abstract Title Problem of “Islamic State” in the Middle East : Lesson Learned for ASEAN’s Region Field Politics Name Maj.Gen. Apisak Sombutcharoennon หลักสูตร NDC Class 60 After the 9/11 incident, on 11 September 2001, had shaken the world, the United States declared “War on terror” to hunt down Osama bin Laden, the founder of Al-Qaeda, who believed to be the mastermind behind the incident. Although the operation was declared a success after 10 years of hunting, it cannot bring back peace to the world and the region. Instead, it has created a more extreme terrorist group aiming to establish an Islamic State as the center and leader of all Islamic worlds known as “Caliphate”. Later on, the group had successfully occupied part of Iraq and Syria and declared the establishment of “Islamic State of Iraq and the Levant” and called itself “Islamic State” or “IS”. With the hard suppression and support of major powers such as Russia and the United States, Syria and Iraq were able to seize territory back from IS. Nonetheless, IS is still able to operate around the world by using social media as a tool to spread its ideology. In ASEAN, the world has witnessed the capture of Marawi, the city in Mindanao, the Philippines, by Maute who call themselves the "Islamic State of Lanao". The Philippines government had spent 5 months to seize back the town and the Maute’s brothers were killed in the combat. However, the terrorist groups affiliated to IS are still operating in several countries of ASEAN such as Malaysia, Indonesia and the Philippines. The formation of the establishment of an Islamic State in the Middle East has resulted in intensified acts of terrorism around the world and ASEAN. With the significance of the IS activities, this paper seeks to suggest lessons learned and proposes policies to strengthen and prevent the expansion of terrorism in the ASEAN’s region and Thailand. The scope of this research is the study ofestablishment of Islamic states in the Middle East compared with terrorist activities in ASEAN through 5 factors namely; history, geopolitics, internal factors, external factors, and development of the situation. Finally, I do hope that information from in-depth interviews with Thai and international experts will make the paper more valuable.