เรื่อง: แนวทางการพัฒนาความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และหมายเลข 9 ด้วยการวิเคราะห์เชิงลึกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการวิเคราะห์เชิงลึกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อภิชาติ จันทรทรัพย์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง : แนวทางการพัฒนาความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการบนทาง
หลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และหมายเลข 9 ด้วยการวิเคราะห์
เชิงลึกสาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุ
ลักษณะวิชา : สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย : นายอภิชาติ จันทรทรัพย์ หลักสูตร : วปอ. รุ่นที่ : 60
ตามที่องค์กรอนามัยโลก ได้จัดล าดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนสูง
เป็นอันดับที่ 2 ตามการจัดท าสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558 ซึ่งปัจจัยหลัก
ของการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจาก คน ยานพาหนะ ถนนและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุผลของ
การศึกษาเพื่อหาแนวทางวิเคราะห์เชิงลึกของการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จากวิธีการสืบสวนอุบัติเหตุมาประยุกต์ใช้บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษ
และเพื่อทราบเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แนวทางการพัฒนาความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการ
ให้บริการบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง อันจะน ามาซึ่งการพัฒนาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุได้อย่าง
ตรงจุด ทั้งนี้การคัดเลือกทางหลวงพิเศษเป็นพื้นที่การศึกษา เพราะมีปริมาณจราจรที่มากในแต่ละวัน
และผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูง ท าให้เกิดอุบัติเหตุได้มาก และส่งผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุได้มากกว่า
ทางหลวงทั่วไป
ในการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ท าการตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุจากการ
ขนส่งและจราจรที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 13 กรณี ซึ่งเป็นข้อมูลตั้งแต่ 5 ธันวาคม 2559 ถึง 18 กรกฎาคม
2560 ผลการสืบสวนและวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ เกิดขึ้นจากคน จ านวน 8 กรณี
คิดเป็นร้อยละ 61.55 เกิดขึ้นจากรถ จ านวน 1 กรณี คิดเป็นร้อยละ 7.69 เกิดขึ้นจากรถและคน
จ านวน 1 กรณี คิดเป็นร้อยละ 7.69 เกิดขึ้นจากคน กับถนนและสิ่งแวดล้อม จ านวน 2 กรณี คิดเป็น
ร้อยละ 15.38 และเกิดขึ้นจากทั้ง 3 ปัจจัย จ านวน 1 กรณี คิดเป็นร้อยละ 7.69 สามารถสรุปสาเหตุ
ของการเกิดอุบัติเหตุได้ว่า เกิดจากการหลับใน การขาดประสบการณ์และความช านาญในการขับขี่
การใช้ความเร็ว การตัดหน้ากระชั้นชิด ยางระเบิด และระบบห้ามล้อขัดข้อง อีกทั้งยังมีอีกหลายส่วนที่
ก่อให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากที่ควรเป็น เช่น การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย การขับเร็วเกินกว่า
ที่กฎหมายก าหนด การจอดบริเวณริมทางหลวง โดยไม่มีเหตุฉุกเฉิน การขาดอุปกรณ์ป้องกันการมุด
เข้าใต้ท้องรถบรรทุกพ่วง การปรับปรุงคอสะพาน เพื่อลดอันตรายให้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหารวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาความปลอดภัยในการเกิด
อุบัติเหตุบนท้องถนนผู้วิจัยเสนอว่า ควรมีการติดตั้งแถบชะลอความเร็ว การเพิ่มจุดพักรถ การติดตั้ง
ป้ายเตือนความเร็ว การติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงกระแทก การออกกฎหมายบังคับรถบรรทุกให้มีการ
ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการมุดเข้าใต้ท้องรถ จุดจอดรถฉุกเฉินทั้งในรูปแบบจุดพักรถข้างทาง หรือ
ในรูปแบบช่องจอดรถฉุกเฉิน และสุดท้ายนี้ผู้วิจัยหวังว่าจะมีการน ากระบวนการวิจัย และ
ข้อเสนอแนะดังกล่าวไปใช้กับถนนของประเทศไทย ทั้งทางหลวง ทางหลวงชนบท หรือถนนท้องถิ่น
เพื่อเป็นการลดปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนต่อไป
abstract:
ABSTRACT
Title Process for improving safety and increasing performance service
on motorway 7 and motorway 9 with in-depth analysis of causes
for accident
Field Social – Psychology
Name Mr.Apichart Juntarasup Course NDC Class 60
According to the World Health Organization, Thailand has been ranked as
the second highest road accidents in global status report on road safety 2015. The
causes of accidents by driver vehicle and road and environment. This is the reason
for the study to in-depth analysis of the accident. The objectives are in-depth
analysis the cause of the accident, the accident investigation method applied to the
motorway network to finding the cause of the accident. Process for the development
of safety and increasing performance services on motorway which that lead to the
accident development exactly. The reason for selection the motorway in the study,
because of the traffic high volume in each day and high speed driving which that
chance of many accidents more than the general highway.
In this study, the researcher investigated and analysed the accident data
from transport and traffic incidents in 13 cases, which is from 5 December 2016 to 18
July 2017. The results of the investigation and analysis, driver accident factor is eight
cases (61.55%), vehicle factor is one case (7.69%), vehicle and driver factors are one
case (7.69%), road and environment factors are two cases (15.38%), and all of the
three factors are one case (7.69%). The result of the cause of the accident such as
doze off, inexperienced driver, exceeded the speed limit, cut someone off, car
puncture and brake failure. Moreover, opportunity for violence accident such as the
lack of seat belts, driving over speed limit, parking in shoulder without emergency
case, lack of under-run and lateral protection device and improving bridge guardrail.
In solving problems and suggestions to improve road safety, the
researcher proposed that for example installation of rumble strips, adding rest areas,
installation of speed warning signs, law enforcement under-run and lateral protection
device for trucks, emergency parking or emergency escape ramp. Finally, the
researcher hopes to implement the research process and that recommendation
applies to Thailand's roads such as highways, rural roads and local roads for reducing
the problem of sustainability.