Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมโดยใช้โรงไฟฟ้าชีวมวล

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย หร่อหยา จันทรัตนา
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการ ของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมโดยใช้ โรงไฟฟ้าชีวมวล ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ (Strategy) ผู้วิจัย นายหร่อหยา จันทรัตนา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ ในการด าเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลในหลายพื้นที่ประสบปัญหาการต่อต้านและการ ไม่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าชีวมวลต้องหยุดด าเนินการ กระทบต่อการวางแผน จัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ จึงต้องศึกษาแนวทางการสร้างความมั่งคงด้านพลังงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมโดยใช้โรงไฟฟ้า ชีวมวล เพื่อก าหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะท าการศึกษาเรื่องปัจจัยความส าเร็จด้านการสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของ ประชาชนรอบโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการด าเนินงานโรงไฟฟ้าชีวมวล ท าการเข้าส ารวจเก็บข้อมูลในโรงไฟฟ้าชีวมวลและพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ท าการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ๑) การด าเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ด าเนินงานโดยภาคเอกชน รัฐเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าผ่านมาตรการสนับสนุนราคารับซื้อไฟฟ้า ๒) ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการด าเนินงานโรงไฟฟ้าชีวมวล คือการต่อต้านจากชุมชน เนื่องมาจาก ความเชื่อมั่นในการด าเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยไม่ส่งผลกระทบกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชน ผลประโยชน์ที่จะคืนกลับสู่ชุมชน ๓) แนวทางที่จะ ช่วยแก้ปัญหาหลักนี้ได้คือการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการด าเนิน โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล เร่งการขับเคลื่อนในด้านชุมชนสัมพันธ์สร้างเครือข่ายและพันธมิตรพลังงาน ชีวมวลภาคประชาชน การด าเนินกิจกรรมสาธารณะ สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่ง ทุนสนับสนุนด้านโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีพลังงานชีวมวล ตลอดจน พัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างสังคมที่มีฐานความรู้ด้านพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืน เพื่อช่วยลดความสับสน และไม่เข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล

abstract:

Abstract Title Study for energy sustainability using biomass power plant concept to reciprocate local community in which affected by environment problem Field Strategy Name Mr. Roya Juntaratana Course NDC Class 60 Biomass power plant projects encounter with opposing and deprecating from people in the area, which result for discontinuous in operation and impact to country’s power planning, respectively. Accordingly, it is necessary to study for energy reinforcement to patronize people, in which are affected from environmental impact from biomass power plant. This study emphasizes on successful case of people participation nearby power plant in both domestic and abroad, including study corresponding to problem and obstacle in biomass power plant operation, investigate and collect data inside power plant and nearby community, as well as specific interviewing to experts. The study results show that: 1) Majority of biomass power plant at present are operated by private sectors, while the government is the power buyer via special power purchasing 2) Principle obstacle occurring in power plant operation is people opposing, according to people confidence in power plant operation without any effect to community, such as environmental effect, changing in folkway, or benefit to community from power plant 3) Proposed opinions to solve mentioned problem are conducting strategic plan to initiate public participation to power plant, proceeding of public activities to support people to gain benefit from biomass power plant funding, increase the confidence in biomass technology, as well as develop the sustainable knowledge in order to decrease the misunderstanding and opposing in biomass power plant project.๒