เรื่อง: แนวการบูรณาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี หทัยเทพ กีรติอังกูร
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบูรณาการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลตรีหทัยเทพ กีรติอังกูร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
ต าแหน่ง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 19
พื้นที่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด เป็นพื้นที่ๆอยู่ติดชายแดนกัมพูชา
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความต้องการแรงงานสูง ปัญหาที่ส าคัญคือปัญหา
แรงงานต่างด้าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจอยู่ในพื้นรับผิดชอบอ าเภอเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน และกองก าลัง
ป้องกันชายแดนเดียวกัน และบางปัญหาอยู่ต่างอ าเภอ คนละจังหวัด และอยู่คาบเกี่ยวระหว่างกองก าลัง
ป้องกันชายแดนสองกองก าลัง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
ปัญหาและอุปสรรค เพื่อก าหนดแนวทางที่เหมาะสม ในการการป้องกันและแก้ไขปัญหา
จากการศึกษาพบว่าหัวใจส าคัญที่สุดมิใช่เพียงเพื่อพยายามป้องกันการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงาน
ต่างด้าวตามแนวชายแดนเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งแรงงานเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความ
มั่นคงของประเทศนั้นจ าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้วิจัยได้ก าหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาไว้ใน 2
ลักษณะดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหาระหว่างจังหวัดหรือกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออก (สระแก้ว
จันทบุรี และตราด) ควรมีเจ้าภาพเป็นหน่วยงานความมั่นคงคือ กอ.รมน.ภาค 1 ที่ดูแลพื้นที่ เป็น
ผู้รับผิดชอบการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีแม่ทัพภาคที่ 1 ใน
ฐานะ ผอ.รมน.ภาค 1 เป็นประธาน หรือมอบหมายให้ผบ.มทบ.19 ซึ่งเป็นหน่วยในพื้นที่ เป็นประธาน
โดยโครงสร้างการท างานประกอบด้วย ผอ.รมน.ภาค 1 หรือ ผบ.มทบ. 19 ซึ่ง ผอ.รมน.ภาค 1 มอบหมาย
เป็นประธาน, ผอ.รมน.จว.ทั้ง 3 จังหวัด เป็นรองประธาน, รอง ผอ.กอ.รมน.จว.ฝ่ายทหารทั้ง 3 จังหวัด,
ผกก.ตม.จว.ทั้ง 3 จังหวัด, ผกก.ตร.ภ.จว.ทั้ง 3 จังหวัด, ผบ.กกล.ป้องกันชายแดนที่รับผิดชอบพื้นที่ในพื้นที่
ทั้ง 3 จังหวัด, สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทั้ง 3 จังหวัด, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ทั้ง 3
จังหวัด, ป้องกันจังหวัด ทั้ง 3 จังหวัด, นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 จังหวัด,
นายอ าเภอ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 จังหวัด, ประธานหอการค้าจังหวัด ทั้ง 3 จังหวัด, นายกสมาคมต่างๆที่
เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 จังหวัด เป็นกรรมการ / เสธ.มทบ.19 เป็นกรรมการและเลขานุการ และ จัดหางานจังหวัด
ทั้ง 3 จังหวัด เป็นกรรมการ และ ผู้ช่วยเลขานุการ 2) การแก้ไขปัญหาภายในจังหวัดเดียวกัน ควรมี
เจ้าภาพคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีต าแหน่งเป็น ผอ.รมน.จว. เป็นประธานในการบูรณาการหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยโครงสร้างการท างานใน
ระดับจังหวัดมีคณะท างานประกอบด้วย ผอ.รมน.จว.หรือ รอง ผอ.รมน.จว. ซึ่ง ผอ.รมน.จว.มอบหมาย
เป็นประธาน, รอง ผอ.รมน.จว.และ รอง ผอ.รมน.จว.ฝ่ายทหาร, ผกก.ตม.จว., ผกก.ตร.ภ.จว., ผบ.กกล.
ป้องกันชายแดน, สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, ป้องกันจังหวัด,
นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, นายอ าเภอ, ประธานหอการค้าจังหวัด, นายกสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง,
ผู้แทนองค์กรเอกชน เป็นกรรมการ / จัดหางานจังหวัด, เป็นกรรมการและเลขานุการ และ ข้าราชการ
ประจ าส านักงานจัดหางานจังหวัดที่จัดหางานจังหวัดมอบหมาย เป็นกรรมการและ ผช.เลขานุการ
abstract:
0