Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การจัดโครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนที่เหมาะสมเป็นปัจจัยส าคัญอย่างยิ่งที่จะท าให้ ยุทธศาสตร์ระดับประเทศบรรลุผล สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้จัดท า “ยุทธศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)” ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือส าคัญในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและประเทศไทย ๔.๐ ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยด าเนิน การศึกษาจากเอกสาร รายงานทางวิชาการของไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการ เพื่อวิเคราะห์ PESTEL Analysis , SWOT Analysis และ TOWS Matrix ปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จ (Critical Success Factor) ของระบบการบริหารจัดการการวิจัยและ นวัตกรรมและน าเสนอโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม ๒๐ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน ๕ ระดับคือ หน่วยนโยบาย หน่วยให้ทุน หน่วยวิจัย หน่วยรับรองและทดสอบมาตรฐาน และหน่วยใช้ ประโยชน์ โดยการบริหารจัดการโครงสร้างและกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ให้บรรลุผลส าเร็จได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ควรมีการเร่งรัดด าเนินการ ในประเด็นส าคัญ ดังนี้๑. ผลักดันยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้มีการประกาศใช้เป็นกรอบแนวทาง ของประเทศในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง และเพิ่มขีด ความสามารถของภาคการผลิตและบริการ ๒. จัดให้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ... ซึ่งได้จัดท าเสร็จแล้ว ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเร็ว ๓. จัดตั้งส านักงานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการขึ้นกับนายกรัฐมนตรี ท าหน้าที่เชื่อมโยง และขับเคลื่อนนโยบายจากภาครัฐ ไปสู่หน่วยงานในระบบอื่น ๆ โดยท างานร่วมกับ ส านักงบประมาณ เพื่อการบริหารงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้สอดคล้องกับ นโยบาย ก ากับดูแลและประสานการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการบริหารจัดการระบบ ข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการติดตามและประเมินผล ๔. จัดให้มีหน่วยงานระดับให้ทุนวิจัย อยู่ในการบริหารจัดการของส านักงานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติทั้งนี้หน่วยให้ทุนควร มีรูปแบบองค์การมหาชน หรือกองทุน เพื่อความคล่องตัว ๕. จัดโครงสร้างของหน่วยงานในระบบวิจัย และนวัตกรรม โดยปฏิรูปโครงสร้างและกลไกในแนวราบและแนวตั้งให้แต่ละส่วนมีความเชื่อมต่อ ที่ชัดเจนตามประเด็น (Agenda) หลักของประเทศ ๖. จัดระบบงบประมาณแบบบูรณาการ โดยให้ สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นผู้ตัดสินใจเชิงการ จัดสรรงบประมาณให้มีความสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ๗. จัดระบบข้อมูลและบริหาร จัดการระบบข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ ๘. จัดท ามาตรฐาน ข้อก าหนดหรือแนวทาง ปฏิบัติรวมถึงจริยธรรมการวิจัยเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

abstract:

Abstract Title : The structure and mechanism for driving the National Research and Innovation Strategy Field : Strategies Name: Professor Sirirurg Songsivilai, M.D., Ph.D. Course NDC Class 60 The National Council on Research and Innovation Policy has formulated the National Research and Innovation Strategy (2018-2037) which is one of a key driving force for achieving Thailand's 20-Year National Strategy and Thailand 4.0. The successful execution of this National R&I Strategy will depend on careful design of the structure and management mechanism. This qualitative research is based on the analysis of prior studies on the current Thai and international research and Innovation systems, as well as in-depth interviews of national experts on research and innovation strategies and management specialists, leading to PESTEL Analysis, SWOT Analysis and TOWS Matrix. The result of this study could be summarized. There must be clear coordination and division of organization missions which should be classified into 5 groups; national R&I policy unit, funding agencies, research units, the standards accreditation and testing units, and Users of R&I result. The characteristics and mechanisms for coordination among the key players in the R&I ecosystem are also outlined. Furthermore, in order to effectively implement the National Research and Innovation Strategy the following measures could be readily performed. 1. Accelerate the formal approval of the National Research and Innovation Strategy (2018-2037) which is generated through participation of all relevant stakeholders, as the key national guideline on this issue. 2. Process the National Research and Innovation Act to become the main law governing the R&I system. This Act will provide the guideline on the organization and functions of the main stakeholders. 3. Establish the National Council on Research and Innovation Policy, to be chaired by the Prime Minister as the main policy council, together the Office of the National Council on R&I Policy as the governmental department directly under the Prime Minister performing missions on policy recommendation, budget allocation, monitor and evaluate performance of key stakeholders and important programs. 4. Reorganize by integrating Funding agencies under the Office of the National Council on Research and Innovation Policy, in order to coordinate the policy into practice. 5. Reform and reorganize structure of the research and innovation organizations especially clarifying the organization missions and key performance indicators, and coordinate the functions 2 to be aligned with national agendas. 6. Integrated budget system according the strategies outline by the national agendas, by coordinating among the Office of the National Council on Research and Innovation Policy and the Budget Bureau. 7. Establish national research and innovation database for both information and management system. 8. Establish both hard and soft infrastructure for R&I, including standards, procedures and guidelines in compliance with international standards.