Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี สิทธิพร มุสิกะสิน
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พล.ต. สิทธิพร มุสิกะสิน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed Method) กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ องค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม ผู้น าชุมชน ผู้น าศาสนา นักธุรกิจ และกลุ่มประชาชนในพื้นที่ จ านวน 3 กลุ่มๆ ละ 12 คน รวม 36 คน ต่อจังหวัด รวมทั้งสิ้น 108 คน และผู้บริหารระดับท้องถิ่น จ านวน 9 คน ผู้บริหารระดับส่วนภูมิภาค จ านวน 9 คน ผู้บริหารระดับรัฐบาล จ านวน 9 คน และ ผู้บริหารที่ มีส่วนรับผิดชอบด้านความมั่นคงของรัฐ จ านวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน ส าหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรได้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนใต้) รวมประชากรทั้งสิ้น 2,012,939 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973) ได้ กลุ่มตัวอย่างจ านวน 400 คน และแบ่งออกตามสัดส่วนของจ านวนประชากรแต่ละจังหวัดให้ได้ครบ ตามจ านวนกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่าประเด็นส าคัญที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจในอนาคตในเรื่อง การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในรูปแบบใหม่, ความมีอิสระในเชิงวัฒนธรรมภายใต้กรอบ กฎหมายของรัฐ, การอยู่ร่วมกันในรูปแบบสังคมพหุวัฒนธรรม, การพัฒนาคุณภาพชีวิตรูปแบบใหม่, การเป็นศูนย์กลางทางศาสนา, การท่องเทียวเชิงวัฒนธรรมและการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง เจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่ โดยมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ ภาคใต้ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจในอนาคต เรียงตามล าดับความส าคัญของตัวแปร ความต้องการของประชาชน คือ คุณภาพชีวิต มากกว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในขณะที่ มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่าง (3 จังหวัดชายแดนใต้) ตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิสังคมเศรษฐกิจในอนาคตไปสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน ตามล าดับความส าคัญ คือ การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด รองลงมาคือ การพึ่งตนเอง, ภูมิสังคม, การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน และ ในขณะที่ความเรียบง่ายประหยัด มีความเกี่ยวข้องน้อยที่สุดตามล าดับ ข้อเสนอแนะที่ส าคัญคือการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ในรูปแบบใหม่ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกื้อกูลต่อการด ารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกัน ก าหนดความรับผิดชอบทางสังคม ที่เป็นการจัดการของประชาชนเอง โดยรัฐ และ เอกชนสนับสนุน จนเกิดเป็นสังคมประชารัฐ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่

abstract:

ABSTRACT Title The Pattern of Lower South Area Development (Three Border Southern Provinces) According to the Strategy of Sustainable Economic and Geosocial Development Field Military Name Major General Sittiporn Musikasin Course NDC. Class 60 This study is aimed to study the development pattern of the lower South (three southern border provinces) according to the strategy of sustainable economic and geosocial development. This research is a mixed method research. The target group of the qualitative research is a group of different factors in the community, civil society, community leaders, religious leaders, business people and local people. There were 3 groups. Each group consisted of 12 people. There were a total of 108 people in the three provinces, 9 of them were the provincial administration, 9 people were in the regional administration, 9 people were in the government administration, and 9 in the security sector. For the quantitative research the target population is the people in the southern region (3 border southern provinces) which the total amount were 2,012,939 people. The method of selecting the sample group is called ‘Taro Yamane, 1973’. The sample group consisted of 400 people and were divided into proportion of population in each province. The research revealed that the key issues affecting the development of the lower South development areas (3 Southern Border Provinces) were based on the strategic plan for socio-economic development in the future, creating a safe and new environment, cultural freedom within the framework of state law, coexistence in multicultural society, development of new forms of life, religious centering, cultural tourism and good understanding between government officials and local people in the area. There were variables related to the development of the Southern lower areas (Southern border provinces) which were development strategy in line with the strategy for future socio-economic development. As sorted by priority, people's needs are quality of life rather than safety in life and property. While there were variables concerned with the development of the lower South (three Southern border provinces), development strategies under the strategic plan for future socio￾economic development to sustainable development, in the order of priority, conservation and development of natural resources is most important, followed by self-reliance, social development, development must be in accordance with the process and while simplicity saves which were the least important. The key suggestion is to improve the living environment in a new way by developing infrastructure that supports the lives of people in the areas, encouraging the culture of coexistence, determining social responsibility, allowing the people to manage by themselves while the state and private sectors support them. It can cause the civil society, promote tourism in the areas.