Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตร เพื่อสนับสนุนเกษตร 4.0

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สำราญ สาราบรรณ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายส าราญ สาราบรรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 งานวิจัยเรื่อง “แนวทางการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ของแต่ละหน่วยงานในกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และเสนอแนะแนวทางและกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่สอดคล้องกับเกษตร 4.0 ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการวิจัยเฉพาะแนวทางการด าเนินการ ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีการน าเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ ที่สอดคล้องกับเกษตร 4.0 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยด าเนินการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารถึงการก าหนด คุณสมบัติของเกษตรกรรุ่นใหม่ กระบวนการ รูปแบบการด าเนินงานพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และท าการสนทนากลุ่ม โดยสอบถามจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ านวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ มีเป้าหมายในการด าเนินงานใกล้เคียงกันกล่าวคือ ต้องการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยก าหนดกลุ่มบุคคลเป้าหมายที่มีอายุตั้งแต่ 17 – 45 ปีซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเกษตรกร รุ่นใหม่ คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงอาชีพของตนเองเข้าสู่ภาคการเกษตร มีธุรกิจของตนเอง สามารถบริหาร จัดการเวลาได้ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว และต้องการท าการเกษตรแบบลดการใช้สารเคมี ยกระดับ การผลิตให้มีมาตรฐาน สร้างความมั่นคงให้กับตนเองและสร้างเข้มแข็งให้กับชุมชน ส าหรับแนวทาง ในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สอดคล้องกับเกษตร 4.0 สรุปได้ดังนี้ การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่น าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยจัด หลักสูตรที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของเกษตรกรรุ่นใหม่ และพัฒนา หลักสูตรร่วมกับหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ โดยใช้ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นต้นแบบของเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ควรพัฒนาต่อยอดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและช่องทางการตลาด การใช้ เทคโนโลยีดิจิตัลในการสื่อสารมากขึ้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ควรพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ค าแนะน าแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ และการประชาสัมพันธ์ ให้สังคมรับรู้และเข้าใจถึงความส าคัญของการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่อันจะมีบทบาทส าคัญยิ่งในการ พัฒนาการเกษตรของไทย

abstract:

ABSTRACT Title Young Smart Farmer Development Guideline into the Agriculture Sector Field Economics Name Mr. Sumran Sarabun Course NDC Class 60 The research on “Young Smart Farmer Development Guideline into the Agriculture Sector” has two main objectives. These are to study and analyze the process of young smart farmer (YSF) development of each agency under Ministry of Agriculture and Cooperatives (MOAC) and to recommend the guideline of YSF development consistent with Agriculture 4.0 for more effectively working in farm. This qualitative research emphasized on the working direction of the MOAC officers in developing YSF to utilize technology and innovation for production, marketing and management in line with Agriculture 4.0. The content analysis was carried out through studying document on the qualification of YSF, implementation process and forms of YSF development, and conducting focus group to interview MOAC officers responsible for YSF development and 17 YSFs. The research results show that the goals of YSF development process of each MOAC agency are similar as they targeted to develop the YSF to gain knowledge and skill in farming, to be proud-hearted of agricultural occupation and to be self-reliant; the stipulated age of YSF is 17 – 45 years old. This is consistent with the goal of YSF which are to change from non-agriculture to agriculture career, to be business owner, to manage time for happy family life, and to carry out less chemical agriculture in order to upscale the production to meet standards, enhance their security, and strengthen their communities. The recommended guideline of YSF development consistent with Agriculture 4.0 are concluded as the followings. The training courses with the curriculum developed in cooperation with research institutions to serve the change and need of YSF will be a methodology to develop them to be entrepreneurs using technology and innovation for more efficiency production. The YSF incubating center, YSF model and YSF network is the mechanism for sharing and learning. Moreover, the potential YSF should be further developed to access credit providers and markets, to apply more digital technology for communication. The officers should be well-equipped with new technology and innovation skill for effectively providing coaching and consultancy services to the YSF. Lastly, the public relations create social awareness to realize that YSF development is a main importance role of Thailand agriculture development.