Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบการตรวจราชการของไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมศักดิ์ เจตสุรกานต์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาระบบการตรวจราชการของไทย ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายสมศักดิ์ เจตสุรกานต์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การตรวจราชการเป็น “เครื่องมือ” หรือ”กลไก” ทางการบริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System) ของแต่ละหน่วยงาน และ/หรือ ของฝ่าย บริหารในการตรวจสอบการด าเนินงานของหน่วยงานที่ด าเนินงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาล หรือตามภารกิจของส่วนราชการให้เป็นไปตามแผนการด าเนินการ ในทางปฏิบัติการตรวจราชการเกิด จากการมอบหมายงานตรวจราชการจากหัวหน้าส่วนราชการให้ผู้ตรวจราชการตรวจสอบที่เน้นการ ตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงาน (Function) โดยปราศจากการตรวจราชการแบบเน้นผลสัมฤทธิ์ให้ การด าเนินงาน ท าให้รัฐบาลไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานตามนโยบาย แผนงาน โครงการ ที่รัฐบาลมอบหมายให้ส่วนราชการด าเนินการได้ เอกสารวิจัยฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของระบบการตรวจราชที่มีความ เหมาะสมที่สามารถน ามาประยุกต์ใช้เป็นกลไก/เครื่องมือการตรวจสอบการด าเนินการตามนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆ ของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับระบบ การตรวจราชการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจราชการของไทยให้มี ประสิทธิภาพ วิธีด าเนินการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) โดยวิจัยข้อมูล ปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ กล่าวคือข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในลักษณะการสัมภาษณ์ปลายปิด (Close Interview) กับการสัมภาษณ์ ปลายเปิด (Open Interview) ถึงมุมมองและความคาดหวังจากการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ จากประชากรตัวอย่าง ได้แก่ผู้ตรวจราชการส านักปลัดส านักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการ กระทรวง ส่วนข้อมูลทุติยภูมิมาจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ศึกษาจากเอกสาร บทความทางวิชาการมุ่งเน้นในประเด็น ปัญหาของระบบการตรวจราชการ การประเมินผลการตรวจ ราชการ และ แผนการบริหารการตรวจราชการ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาหลัก ๆ ที่ท าให้การตรวจราชการไม่มีประสิทธิภาพ ใน ๔ มิติ ได้แก่ ๑. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการตรวจราชการ ๒. ปัญหาที่เกิดจากกลไกการตรวจราชการ ๓. ปัญหาที่เกิดจากอ านาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจราชการ และ ๔. ปัญหาการขาด แรงจูงใจของบุคลากร ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาสรุปได้ดังนี้ ๑. ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือมีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะให้ผู้ตรวจ ราชการเป็นต าแหน่งที่จะต้องด าเนินการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการที่ผู้ตรวจราชการ สามารถก าหนดและจัดท าแผนการตรวจราชการประจ าปีได้เองโดยไม่จ าเป็นต้องจัดท าร่วมกับหัวหน้า ส่วนราชการ เพื่อให้ผู้ตรวจราชการมีอิสระในการปฏิบัติงานตามอ านาจหน้าที่ ๆ ก าหนด ซึ่งจะท าให้ การตรวจราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข ๒. การตรวจราชการไม่ควรเป็นเพียงการตรวจติดตามตามกระบวนการ (Function) เท่านั้น แต่ควรเป็นการการตรวจราชการที่เน้นความคุ้มค่า การแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งควรก าหนดให้มี กลไกหรือรูปแบบการตรวจราชการที่จะต้องตรวจในเชิงกระบวนการควบคู่กับการตรวจในเชิงลึก คู่ขนานกันในทุกครั้งที่มีการตรวจราชการ ๓. ควรก าหนดให้สายงานตรวจราชการ และผู้ปฏิบัติงานในต าแหน่งผู้ตรวจราชการเป็น อาชีพหลัก (Inspector Career) ของหน่วยงาน เช่น การจัดตั้งกรม/กระทรวงตรวจราชการโดยมี อ านาจหน้าที่เฉพาะการตรวจราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ ผู้ปฏิบัติงานมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการตรวจราชการให้มีความเหมาะสมตอบสนองกับภารกิจของ ส่วนราชการและเป็นไปตามภารงานต่าง ๆ ตามนโยบายรัฐบาล

abstract:

ค Abstract Title : The development of the Thai Public Inspector system Field : Politics Name : Mr. Somsak Jetsurakran Course NDC Class 60 The Inspector system is the administrative tool that constitutes the organization of internal control systems in each working unit of the Government agency. This tool will support the Government agencies to inspect the process of organization’s activities and Government projects. There are, however, many problems with the Agency’s inspection system. The research’s objectives are 1. To study the suitable process of inspection that can be incorporated into the Thai Government Agency inspection system for the benefit of the Government’s evaluation of its public policy; 2.To study the reasons for the inspection’s structure, procedure, authority and motivation; and 3. To put forward a proposal to the way in which the inspection system can be developed to potentially the The study is designed to focus on the “qualitative research method” by looking at primary and secondary data as follows: the primary data is collected by in-depth interviews using open ended and closed questions. The interviews will be conducted with the ministries’ inspectorate from various Ministries; and the secondary data is collected from various academic papers, utilizing content analysis to summarize the different areas of inspection such as the area of inspection’s structure, procedure, authority and motivation and the associated issues and problems. The results of this research can be divided into 4 areas as follows: 1. The Ministry’s organization structure is designed for the Ministry’s inspector to report to the Ministry’s Permanent Secretary. This means that the inspector’s work is designed, shaped as well as allocated by the Ministry’s Permanent Secretary, not designed by the problems of work that the inspectors envisage. 2. The inspector’s work, assigned by the Head of the Ministry, is to investigate only the smaller area of the problem, not conduct his/her work further than the area that needs to be looked into. ง 3. The authority of the Ministry’s inspector is only to give a temporary warning, if he/she finds that the inspected unit does not comply with Government or Agency policy, giving an inspector authority to investigate, so could not comply with the Ministry’s inspector’s order. 4. The Ministry’s inspector has lacked self-esteem, since his/her career has not been recognized as the top career in the Ministry. Thus there is less motivation to perform the inspecting job. Researcher proposes following recommendations as follows: 1. The Prime Minister’s Regulation on inspection should be revised allowing inspectors to make his/her annual inspection’s plan without having interference by the Ministry’s Permanent Secretary should be introduced. 2. The inspection process should not only be seen as the evaluation procedure of the process of work, without looking at the end result or outcome of the work. 3. The central government agency responsible for the Civil Service should define the career path to the senior levels of the organization for inspectors in both the Ministries and Departments. This will create higher motivation for the Ministries’ inspectorate to perform his/her job to the best of their ability and potential as long as he/she recognizes that his/her career ladder will lead to the top of the organization.