เรื่อง: การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมบูรณ์ หน่อแก้ว
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยเรื่อง การส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพความมั่นคงด้านพลังงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อจ ากัดในการ
บริหารจัดการเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ เพื่อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการ
บริหารจัดการด้านพลังงาน และเสนอแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ของ
ประเทศไทย โดยขอบเขตของการวิจัยในส่วนของข้อเสนอแนะแนวทางและวิธีการในการบริหาร
จัดการความมั่นคงทางพลังงานในพื้นที่และแนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งจากภาคประชาชน
นั้นจะเป็นเพียงการเสนอแนวคิดและหลักการอย่างกว้าง ๆ ซึ่งพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลจาก
สถานการณ์ด้านพลังงานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน และแนวโน้มความเป็นไปได้ที่คาดการณ์
ว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนวิธีการวิจัยเชิง
เอกสาร โดยจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้วยการรวบรวมข้อมูลและการค้นคว้าจากเอกสาร ได้แก่ งานวิจัย
เอกสาร ต ารา บทความ วารสารหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการ
ด้านพลังงาน แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน และการบริหารความขัดแย้ง เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า ความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยนั้น ยังไม่มี
ความมั่นคงหรือเสถียรภาพเพียงพอ ทั้งนี้เกิดจากประเด็นปัญหาในหลายมิติ ได้แก่ สัดส่วนเชื้อเพลิงใน
การผลิตไฟฟ้า แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลง การปิดซ่อมบ ารุงแหล่งขุดเจาะก๊าซ
ธรรมชาติในอ่าวไทยตามรอบเวลา หรือการปิดซ่อมกรณีฉุกเฉินต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการจ่ายก๊าซ
ธรรมชาติไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการคัดค้านจากภาคประชาชน และ
NGOs ดังนั้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะแนวทางและวิธีการในการบริหารจัดการความมั่นคงทางพลังงาน
ได้แก่ (๑) การปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น (๒) การ
ส่งเสริมพลังงานชีวมวลโดยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากไม้ยางพารา (๓) การปรับปรุงระบบสายส่ง
ไฟฟ้าแรงสูงในพื้นที่ภาคใต้ให้มีขนาด ๕๐๐ Kv ทั่วทั้งพื้นที่ และปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้
เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าโดยการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก ๑ วงจร และ (๔) ควรมีการ
น าเทคโนโลยีทีทันสมัยของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมาเพื่อเพิ่มก าลังการผลิตไฟฟ้าแบบ
Non-Firm อาทิ การท า Floating Solar Farm นอกจากนี้ผู้วิจัยเห็นว่ายังมีความจ าเป็นที่จะสร้าง
โรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในประเทศไทย แต่ควรสร้างในพื้นที่ที่ไม่มีการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผู้วิจัยเห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนนโยบายเพื่อลด
การใช้ก๊าซธรรมชาติลงและเปลี่ยนเป็นถ่านหินที่ราคาถูกและมีเสถียรภาพมากกว่า ในขณะเดียวกัน
ต้องส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนให้มากขึ้นด้วย และข้อเสนอแนะเชิงปฎิบัติ เห็นว่า
ปัญหาเรื่องการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ยังคงมีประเด็นปัญหา ดังนั้น จึง
จ าเป็นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในฐานะเจ้าของโครงการรวมถึงรัฐบาลผู้ก าหนดนโยบาย
จะต้องเร่งชี้แชงเพื่อท าความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ
abstract:
ABSTRACT
Title Promoting Energy Security in Southern Thailand
Field Science and Technology
Name Somboon Nhookeaw Course NDC Class 60
Research : Promoting Energy Security in Southern Thailand has the purpose
of studying the status of energy security, problems, barriers and constraints in managing
energy security in the area. To suggest public participation and energy management in
order to propose ways to strengthen energy security in southern Thailand. The scope
of research in the field of guidance and methods for managing energy security in the
area. And the conflict management approach from the public sector is only going to be
a broad conceptualization of ideas and principles. Based on information from the
current energy situation and other related issues. And the possible prospects that is
expected to happen in the future. This is a qualitative research. Using the documentary
research methodology, secondary data will be used to collect information from
documents such as research papers, articles, journals or other related documents, such
as policies and strategies for energy management, concepts, theories on energy
management and conflict management.
The researcher found that energy security in southern Thailand does not
have the sufficient level of security or stability. This is due to several issues which
include the proportion of fuel used in electricity generation, and decrease in the
natural gas in the Gulf of Thailand, The closure of natural gas drilling sites in the Gulf of
Thailand as per schedule or unplanned shutdowns. These affect the supply of natural
gas to power plants in southern Thailand including objections from the public and
NGOs.Therefore, the researcher has proposed the following guidelines and methods for
managing energy security: (1) improving the efficiency of existing power plants in the
areas. (2) Promotion of biomass energy by constructing rubber wood biomass power
plants. (3) Improvement of the high voltage transmission system in the southern region
to 500 kilovolts throughout the area. And improvement of electricity system by
constructing another circuit of electricity transmission system in the South. And (4)
modern technologies should be introduced for the generation of electricity from
renewable sources to increase non-firm capacity, such as the solar floating farm. In
addition, the researcher believes that there is a need to build a coal power plant in
southern Thailand but it should be built in areas where there are no objections from
the people.
However, regarding the Policy Recommendations the researcher believes
the government should provide policy support to reduce the use of natural gas and
convert it to the cheaper and more stable coal. At the same time it is necessary to
promote more alternative energy generation. As for the practical suggestions. The
problem of objections to the construction of a coal-fired power plant in the southern
region remains a problem. So it is imperative that the Electricity Generating Authority of
Thailand as the owner of the project including the government agency who defines thepolicies quickly provide an explanation in order to create an understanding among
these issues.