เรื่อง: แนวทางการเพิ่มมูลค่าจากท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมชาย ชมภูน้อย
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเพิ่มมูลค่าท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง
จังหวัดอุดรธานี
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายสมชาย ชมภูน้อย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การศึกษาเรื่อง แนวทางการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนของประเทศในปัจจุบัน ที่มีผลต่อการจัดการ
ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างไร และวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว
รูปแบบและโครงสร้าง การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม เพื่อให้ชุมชนและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องน าไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชม และการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มี
ประสิทธิภาพ เพื่อเสนอแนะข้อมูล มูลค่า และแนวทางการเพิ่มมูลค่าจากการท่องเที่ยวเพื่อชุมชน ในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ ส าหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปปฏิบัติใช้
งานและสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจชุมชนของประชาชนในท้องถิ่นต่อไป การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบ
กรณีศึกษา (CASE STUDY) โดยผู้วิจัยจะพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เห็นว่า
เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ชุมชนที่มีชื่อเสียง และมีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง คัดเลือกชุมชนบ้านเชียง
จังหวัดอุดรธานี เป็นกรณีศึกษา โดยศึกษาศักยภาพเชิงกลยุทธ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชน รูปแบบ
โครงสร้างและวิธีการบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชน ใน 4 ด้าน คือ (1) ศักยภาพทางการท่องเที่ยวของ
ชุมชน (2) รูปแบบและโครงสร้างการบริหารจัดการของชุมชน (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
(4) การสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน
ผลการศึกษาพบว่า ชุมขนบ้านเชียงมีศักยภาพของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวโดดเด่น
มีเอกลักษณ์ มีการแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการอย่างชัดเจน มีส่วนร่วมและความ
ร่วมมือจากคนในชุมชนในระดับดีมาก หากแต่ยังขาดการต่อยอดอัตลักษณ์ หรือจุดขายส าหรับนักท่องเที่ยว
ให้มีส่วนร่วมต่อยอดในเชิงการตลาดและมาตรฐานแบบครบวงจร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชุมชนบ้านเชียง
พยายามคิดกิจกรรมเพื่อสร้างความประทับใจและขยายการใช้เวลาพร้อมการใช้จ่ายในชุมชนให้มี
ความหลากหลายมากขึ้น โดยความร่วมมือของภาครัฐที่เข้ามาพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชน เกิดเป็นมูล
ค่าที่สร้างประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนชุมชนบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีการที่
ชุมชนท้องถิ่นจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืนนั้น รูปแบบการบริหาร
จัดการผลประโยชน์ที่เกิดจากการท่องเที่ยวซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวถือเป็น
กระบวนการที่ส าคัญในการน าสังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อมูลส าคัญในการสนับสนุน
การพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน และมีคุณค่าต่อไป
abstract:
ABSTRACT
TITLE THE STUDY OF AN ADDITIONAL VALUE FOR A COMMUNITY BASED
TOURISM, THE CASE STUDY OF BAN CHIANG, UDON THANI
FIELD ECONOMICS
NAME MR. SOMCHAI CHOMPOONOI COURSE NDC CLASS 60
THIS STUDY OF AN ADDITIONAL VALUE FOR A COMMUNITY
BASED TOURISM ACCORDING TO THE 20-YEAR NATIONAL STRATEGY IS
SUBJECT TO STUDY THE CURRENT SITUATION OF COMMUNITY BASED TOURISM’S
POTENTIAL, ITS AFFECT AS WELL AS TO ANALYZE SOME FACTORS THAT
SUPPORT ITS EMPOWERMENT, MANAGEMENT AND ORGANIZATION. THE
METHOD OF CASE STUDY IS USED IN THIS REGARD, THE AUTHOR DECIDED TO
SELECT THE POTENTIAL AND WELL-KNOWN COMMUNITY WHERE SELF-MANAGEMENT
HAS BEEN PERFORMED, THE SELECTION IS SPECIFIC TO BAN CHIANG, UDON THANI
PROVINCE ACCORDING TO ITS MANAGEMENT IN FOUR ASPECTS (1) COMMUNITY
TOURISM’S POTENTIAL (2) COMMUNITY’S ORGANIZATION CHART (3) LOCAL
PEOPLE’S PARTICIPATION AND (4) PUBLIC AND PRIVATE SECTOR SUPPORT.
THE STUDY INDICATED THAT BAN CHIANG COMMUNITY HAS SOME
OUTSTANDING PRODUCTS, ITS PERFORMANCE IN TERMS OF RESPONSIBILITY AND
SERVICE ARE WELL-ORGANIZED, THE PARTICIPATION AND COOPERATION OF
LOCAL PEOPLE ARE EXCELLENT. NEVERTHELESS, ITS IDENTITY AND UNIQUENESS HAVE
TO BE DEVELOPED. HOWEVER, THE GOVERNMENT SECTOR HAS SUPPORT
THE COMMUNITY IN TERM OF TOURISM DEVELOPMENT WHILE THE TOURISM EVENT
HAS BEEN CREATED WITH THE AIM TO EXPAND LENGTH OF STAY FOR TOURIST. IN THIS
REGARD, THE COMMUNITY WILL BE ABLE TO ACCUMULATE ITS INTEREST WITH
THE MANAGEMENT IN ORGANIZING SOCIAL, CULTURE AND ENVIRONMENT
TO PROMOTE THE COMMUNITY IN LONG TERM.