Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมคิด สายเจริญ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของ ผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายสมคิด สายเจริญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่พบในการใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เพื่อเสนอแนะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 โดยมีขอบเขตการวิจัยมุ่งเน้นศึกษาสภาพ ปัญหาที่พบในกระบวนการใช้สิทธิตั้งแต่การเข้าถึงสิทธิ กระบวนการในชั้นศาลและการบังคับคดีโดย การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากวิธีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกพนักงานอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและข้อมูล ทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรมและสถิติที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบัญญัติกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 44/1 และตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย แก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ไม่มีการบัญญัติให้ตัดสิทธิซึ่งกันและกัน ทั้งนี้พบปัญหาและอุปสรรค ส าคัญการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 หลายประการ เช่น การไม่ทราบถึงสิทธิ การขาดความเข้าใจในการรวบรวมเอกสารหลักฐานและการ จัดท าค าร้อง การไม่มีองค์กรรับผิดชอบช่วยเหลือผู้เสียหายในการใช้สิทธิในศาล การใช้สิทธิตาม กฎหมายทั้งสองฉบับที่ซ้ าซ้อนเกินกว่าค่าเสียหายจริง การไม่ได้รับชดใช้เนื่องจากจ าเลยไม่มีทรัพย์สิน เพียงพอ และการที่รัฐไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่ผู้เสียหายเอาจากจ าเลยใน คดีอาญา ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า รัฐควรพิจารณาแก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 44/1โดยก าหนดให้พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิ และก าหนดให้มีหน่วยงานช่วยเหลือผู้เสียหายในการด าเนินคดีและการบังคับคดีตามค าสั่งของศาล นอกจากนี้ควรพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 โดยก าหนดให้หน่วยงานของรัฐมีอ านาจสวมสิทธิของผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ไล่เบี้ยเอาค่าตอบแทนที่ได้จ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเอาจากผู้กระท าความผิดอาญาซึ่งถูกฟ้องเป็นจ าเลยต่อศาลได้ เพื่อไม่ให้ รัฐต้องรับภาระด้านงบประมาณมากเกินไป นอกจากนั้นควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ มาตรการในการบังคับคดีโดยการหักเงินจากการท างานของนักโทษ และขยายฐานของค่าสินไหมทดแทน ให้รวมไปถึงการใช้แรงงานโดยสมัครใจ และการส่งเสริมให้จ าเลยขวนขวายชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะอยู่ระหว่างการจ าคุกเพื่อเป็นเหตุในการบรรเทาโทษ (ลดโทษ) อีกทางหนึ่ง

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines for Increasing the Efficiency in Exercising of Claims of the Injured in Criminal Cases According to Session 44/1 of the Criminal Procedure Code Field Politics Name Mr. Somkid Saicharoen Course NDC Class 60 This research is aimed at studying the state of problems found in the claims of the injured in criminal cases according to Session 44/1 of the Criminal Procedure Code in order to propose guidelines for increasing the efficiency in exercising of the civil claims of the injured in criminal cases according to Session 44/1 of the Criminal Procedure Code. The scope of the research focuses on the problems encountered in the right to access, Court process and enforcement, by methods of collecting primary data from in-depth interview and secondary data from literature reviews and related statistics. It is found that the provisions of the law relating to the claims of the injured in criminal cases under Session 44/1 of the Criminal Procedure Code, and the Compensation for the Injured and the Replacement Costs and Expenses for Defendants in Criminal Cases Act B.E. 2544 are not obliged to disqualify each other. Some major problems and obstacles to exercising the rights of the injured are found such as unawareness of the right, lack of understanding of document collection and application process, lack of organization to assist the injured in exercising its right, the exercise of the two redundancy rights exceeding the actual damages, insufficiency of the defendant’s property for making compensation and that the State cannot take recourse to compensation paid to the injured by the defendant in criminal cases. The researcher, therefore, has recommended that the State should consider amendments of Session 44/1 of the Criminal Procedure Code requiring the inquiry officials to inform the injured of the right and establishing a public agency to assist the injured in the prosecution and enforcement of Court orders. Also, the State should consider amendments of the Compensation for the Injured and the Replacement Costs and Expenses for Defendants in Criminal Cases B.E. 2544 empowering the State agency to recourse against the criminal offender who has been prosecuted in Court for compensation paid to the injured in accordance with the Act in order not to overstate the State budget. Moreover, feasibility studies on taking enforcement action by deducting money from the work of prisoners and on extending the base of claims to include voluntary labour should be conducted, together with encouraging the defendant to pay compensation even being in jail as the ground for reduction of punishment alternatively.