Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาแนวทางการเพิ่มอัตราการคงอยู่และสัดส่วนผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง ศิริพร ศริพันธุ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง สภาพและปัจจัยการคงอยู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ด้านการศึกษา ผู้วิจัย นางศิริพร ศริพันธุ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การศึกษาสภาพและปัจจัยการคงอยู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภท อาชีวศึกษา เพื่อหาแนวทางการเพิ่มอัตราการคงอยู่ และสัดส่วนผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ที่เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mix Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิง ปริมาณซึ่งเป็นการส ารวจสภาพการคงอยู่โดยข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นจ านวนนักเรียน ของส านักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.923 จาก ผู้บริหาร/ครู จ านวน 350 คน และนักเรียน 936 คน การวิจัยเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม (focus groups) จากนักเรียนและผู้ปกครองที่ไม่ได้ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2561 อย่างละ 15 คน และ เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จ านวน 5 คนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติพื้นฐาน (Descriptive Statistic) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จาก การศึกษาสภาพการคงอยู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2560 มีอัตราคงอยู่ในชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 79.06 ที่มีนักเรียนหายไปถึงร้อยละ 20.94 (จ านวน 51,114 คน) ที่มีอัตรการคงที่น้อยกว่าปีการศึกษา 2559 อยู่ที่ ร้อยละ 91.01 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากตัว นักเรียนเองที่เลือกเรียนไม่ตรงกับความถนัดของตัวเองท าให้เกิดการย้ายที่เรียนใหม่ เป็นต้น อัตราการ คงอยู่ในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 92.80 และอัตราการคงอยู่ในชั้นปีสุดท้ายร้อยละ 100.10 ปัจจัยท าให้ นักเรียนยังคงเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ผู้บริหาร/ครู และ นักเรียนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยท าให้นักเรียนยังคงเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษาเหมือนกัน คือ นักเรียนได้เลือกเรียนในสาขาที่ตนเองชอบ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นความเข้าใจ เข้าถึงและการเอาใจใส่ดูแลนักเรียนของอาจารย์ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ นักเรียนคงอยู่จนจบการศึกษา ที่ได้จากการสัมภาษณ์ ได้แก่ การส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้ถึงความถนัด ของตัวเองตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปรับปรุงการแนะแนวการศึกษาให้นักเรียนได้รู้ถึงเส้นทาง การเรียนต่อที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างศึกษา การันตีการมีงานท าหลังส าเร็จ การศึกษา และแนวทางการเพิ่มอัตราการคงอยู่ และสัดส่วนผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ที่ได้จากการสัมภาษณ์ได้แก่ 1) การปรับทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา 2) การันตีการมีงานท า และค่าตอบแทนที่ เหมาะสม 3) หน่วยงานเอกชนสามารถเปิดหลักสูตรผลิตนักเรียน เพื่อตอบโจทย์ของหน่วยงานตนเอง ได้ 4) สถ าบันก ารศึกษ าต้องผลิตแ รงง านให้ตรงกับ คว ามต้องก ารในแต่ละท้องถิ่นได้ 5) สถาบันการศึกษาต้องร่วมมือกับเอกชนในการจัดการศึกษา 6) เปิดหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง ที่สามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับปริญญาตรีได้

abstract:

ABSTRACT Title Situation and Factor of Student containment at Upper Secondary Level (Vocational Stream) Field Psychological SocietyEducation Name Mrs. SiripornSaripam CourseNDC Class 60 This study aimed to find the containment ratio of upper secondary students who studied in the vocational stream. The mix method that contained the secondary source of data of 350 school administrator/teachers and 936 students from the Offices of the Basic Education Commission, Vocational Education Commission, and Private Education Commission pinpointed with the confident level at 0.923. This quantitative analysis was substantiated with a focus group discussion of 15 students, 15 parent, and 5 program officersin Academic Year B.E. 2061. From Descriptive Statisticand Content Analysis of students at this stream in Academic Year B.E. 2060 concluded that there was up to 20.91% (51,114 students) drop out at Grade 10, comparing to 91.01% percent of containment of the previous year. This situation resulted from students’ attitude of theprofessional attachment to this stream due to changing school setting. For Grade 11 and 12, the containment ratios were at 92.80 and 100.10% respectively. The survey indicated that school administrators and teachers noticed the factor of containment derived from 1) professional attachment to the subjects taught in the program 2) personal attachments between teachers and students, from the interview, the factors that contributed to the student containment came from the sense of affiliation to vocational stream at the lover secondary level, teacher counselling service prior to the study, income earning during the study, job guarantee after graduation. If the Ministry of Education intends to sustain this stream, these discovered factsshould be addressed and catered by the concern agencies with the concrete aims to link these studentswith further education opportunity after the graduation including their education at the bachelor level.