เรื่อง: แนวทางการกำหนดท่าทีและนโยบายด้านการต่างประเทศที่เหมาะสมของไทยท่ามกลางการขยายอิทธิพลเชิงรุกของประเทศมหาอำนาจ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
สรุปย่อ
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
เรื่อง แนวทางการก าหนดท่าทีและนโยบายต่างประเทศที่เหมาะสมของไทยท่ามกลางการ
ขยายอิทธิพลเชิงรุกของประเทศมหาอ านาจ
ผู้วิจัย พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
ต าแหน่ง รองโฆษกประจ าส านักนายกรัฐมนตรี
ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมาสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นพลวัต
เนื่องจากการขยายอิทธิพลของประเทศมหาอํานาจ ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ กับประเทศรอบบ้านในประเด็น
ข้อพิพาทเรื่องสิทธิการถือครองดินแดน ปัญหาการแย่งชิงและเข้าถึงแหล่งพลังงาน ฯลฯ ส่งผลให้หลาย ๆ
ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่างปรับยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อความอยู่รอดซึ่ง
หนึ่งในนโยบายดังกล่าวคือ การแสวงความสัมพันธ์ด้วยการขยายอิทธิพลของประเทศตนเองเข้าไปในภูมิภาค
ต่าง ๆ ที่มีความพร้อมทั้งทรัพยากร แหล่งพลังงาน เพื่อรักษาไว้ซึ่งอิทธิพลและผลประโยชน์ของรัฐตน ตลอดจน
พัฒนาศักยภาพด้านการทหารเพื่อป้องกันตนอง ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและเสริมสร้างความสมดุล
โดยเฉพาะประเทศมหาอํานาจที่ให้ความสําคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่
มีความสําคัญอย่างยิ่งในด้านความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจต่อประเทศมหาอํานาจ การขยายบทบาทของ
ประเทศมหาอํานาจในภูมิภาคอาเซียน ที่เดนชัด ไดแก การดําเนินตามยุทธศาสตรหนึ่งแถบหนึ่งเสนทาง (Belt
and Road Initiative - BRI) ขณะที่สหรัฐฯ ใหความสําคัญกับการแกไขปญหาภายในประเทศเพื่อสรางผลงาน
ตามนโยบาย America First ของประธานาธิบดีโดนัลด ทรัมป ซึ่งการดําเนินนโยบายในการตอตานการก
อการรายไดสงผล กระทบตอความสัมพันธกับบางประเทศ ทั้งนี้แมรัฐบาลสหรัฐฯ จะยังคงดํารงยุทธศาสตร
Rebalancing และแสวงหาการสนับสนุนจากมิตรประเทศในภูมิภาคอาเซียน แตอิทธิพลและความชวยเหลือ
ของจีนตอประเทศ ในภูมิภาค ที่มีมาอยางตอเนื่องซึ่งสอดรับกับผลประโยชนแหงชาติที่ประเทศนั้นๆ ตองการ
ไดสงผลกระทบต่อการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯตอประเทศ ตางๆ ในภูมิภาคอยางชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะใน
กัมพูชาและฟลิปปนส สําหรับรัสเซียจะคลายกับจีน จากมุมมองที่ตองการใหเกิดภาพ “การเมืองโลกแบบหลาย
ขั้วอํานาจ” จึงคาดวาในอนาคต ความรวมมือดังกลาว จะทําใหทั้งสองประเทศมีขีดความสามารถในการคาน
อํานาจและท้าทายอํานาจของสหรัฐฯไดชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน สําหรับประเทศไทย
นั้น การเขามาของประเทศมหาอํานาจในภูมิภาคอาเซียนลวนมีเปาหมายเพื่อตองการขยายอิทธิพล และดํารง
อิทธิพล เพื่อผลประโยชนของประเทศตน
ดวยเหตุนี้การปฏิสัมพันธกับประเทศมหาอํานาจทั้งจีนและสหรัฐฯ จึงมีความจําเปนตองพิจารณาให
อยูในระดับที่เหมาะสมและสมดุล เพื่อไมใหกระทบตอความสัมพันธกับมิตรประเทศอื่นๆ ดังนั้นการดําเนินนโยบายเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ ในครั้งนี้จึงนาจะเปนสิ่งที่ไทยควรติดตามและศึกษาดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
รวมถึงความเคลื่อนไหวของประเทศตางๆ ในภูมิภาคภายใตพันธกรณีของการเปนประชาคมอาเซียนในการ
ปฏิสัมพันธกับทั้งจีนและสหรัฐฯ เพื่อที่จะไดหาแนวทางในการกําหนดทาทีและนโยบายดานตางประเทศของ
ไทยที่เหมาะสมเพื่อรองรับตอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและ
สหรัฐฯ
วัตถุประสงคของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
2. เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดตออาเซียนและไทยจากการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีน
และสหรัฐฯ
3. เพื่อเสนอแนะแนวทางของไทยในการกําหนดทาทีและนโยบายดานตางประเทศที่เหมาะสมเพื่อ
รองรับ ตอการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
ขอบเขตการวิจัย
1. ศึกษาเฉพาะรายงานเกี่ยวกับการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ ที่ส่งผล
กระทบ ตอความมั่นคงของภูมิภาค
2. การสัมภาษณเชิงลึกผูทรงคุณวุฒิเปนผูเชี่ยวชาญจาก กต. สมช. ฯลฯ ผูที่มีสวนเกี่ยวของกับการ
กําหนดนโยบายดานตางประเทศและนักวิชาการที่เกี่ยวของ
3. ขอบเขตเวลาของการวิจัย ตั้งแต ต.ค. 60 - ก.ย. 61
วิธีด าเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะหจากเอกสารทางวิชาการผลประชุมและการ
สัมมนาทางวิชาการดานความมั่นคงระหวางประเทศเกี่ยวกับการปรับนโยบายและยุทธศาสตรทางดาน
ตางประเทศของจีน และ สหรัฐฯ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต รวมทั้งการ
สัมภาษณผูเชี่ยวชาญ ผูที่มีสวนเกี่ยวของกับการกําหนดนโยบายดานตางประเทศของไทยและนักวิชาการ
ที่เกี่ยวของเพื่อนําไปสูการวิเคราะหถึงแนวทางของไทยในการกําหนดทาทีและนโยบายดานตางประเทศที่
เหมาะสมเพื่อรองรับตอการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการกําหนดท่าทีและนโยบายต่างประเทศที่เหมาะสมของไทยท่ามกลางการ
ขยายอิทธิพลเชิงรุกของประเทศมหาอํานาจ” ผลการวิจัยได้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ข้อประกอบด้วย1. วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อศึกษาการด าเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
การดําเนินยุทธศาสตร์ทั้งของจีนและสหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของชาติ และที่สําคัญคือ
ลักษณะของผู้นําของทั้งสองประเทศ โดยทั้งผู้นําสหรัฐฯ และ จีน ต่างมุ่งดําเนินนโยบายเพื่อรักษาและปกป้อง
ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสําคัญ โดยมีแนวทางบริหารจัดการค่อนข้างแข็งกร้าว และพร้อมจะตอบโต้กับภัย
คุกคาม ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของผู้นําทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกันต่างก็มีความเป็นเอกลักษณ์จากประสบการณ์
และภูมิหลัง โดยผู้นําจีนผ่านกระบวนการคัดเลือกและปลูกฝังการเป็นทายาทผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะที่
ผู้นําสหรัฐฯ คนปัจจุบันมีแนวคิดต่างไปจากแนวคิดปกติ และผู้นําสหรัฐฯ คนอื่น ๆ จากการมีประสบการณ์ใน
ภาคธุรกิจ ซึ่งการขึ้นเป็นผู้นําสหรัฐฯ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จึงถือเป็นจุดพลิกผันของการเมืองสหรัฐฯ
ด้วยเหตุดังกล่าว สถานการณ์ในภูมิภาคจะมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น รวมถึงผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ โดยท่าทีและนโยบายด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร
และการทูตของสหรัฐฯ จะมีผลต่อปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค จากการแสดงบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ส่วนจีนพร้อมจะตอบโต้ทันทีหากผลประโยชน์หลักได้รับผลกระทบ การผงาดขึ้นมาของจีนในปัจจุบัน ทําให้จีน
สามารถเลือกที่จะดําเนินความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศพันธมิตรที่ตอบสนองผลประโยชน์ของจีน และ
จะแสดงออกด้วยท่าทีที่ชัดเจนหากจีนไม่พอใจ ดังนั้น การดําเนินนโยบายและท่าทีด้านต่างประเทศกับสหรัฐฯ
และจีน นั้น จะต้องนําปัจจัยของสถานการณ์ ผลประโยชน์แห่งชาติในทุกมิติรวมถึงการมองภาพรวมของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามที่กล่าวทั้งหมดข้างต้นมาพิจารณาในการกําหนด เพื่อไม่ให้กระทบต่อ
ความสัมพันธ์กับมิตรประเทศอื่น ๆ
2. วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดตออาเซียนและไทยจากการด าเนินนโยบายและ
ยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
2.1. ผลกระทบของการดําเนินยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ของจีนตามที่ไทยเป็น
ส่วนหนึ่งในระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทรอินโดจีน (China – IndochinaPeninsula Economic Corridor
- CICPEC) ซึ่งเชื่อมจีนกับประเทศที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่นครหนานหนิง ผ่านเวียดนาม
สปป.ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และสิ้นสุดที่สิงคโปร์ ซึ่งทําให้ไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เศรษฐกิจแนว
เขต East - West Corridor โดยปริยาย ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจคมนาคมโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมอาเซียนเข้า
กับจีน ไทย มีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทั้งทางบกและทางทะเล และยัง
สามารถเชื่อมโยงกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor - EEC) ซึ่ง
สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของไทย ที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง และ
Logistics ของภูมิภาคอาเซียน ความสําเร็จของยุทธศาสตร์ BRI ทําให้เกิดความเชื่อมโยงผู้ผลิตและตลาด
ผู้บริโภคขนาดใหญ่ จะทําให้ไทยมีโอกาสทางการค้าและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าใน
กลุ่มอาหารและภาคบริการของไทย ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การมีเส้นทาง
คมนาคมที่สะดวกอาจเอื้อประโยชน์ต่อการกระทําผิดกฎหมาย ทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์ การลักลอบนําเข้ายา
เสพติด การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านความมั่นคงควรให้ความ
ใส่ใจและติดตามเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดเป็นปัญหาที่ยากเกินการแก้ไขในอนาคต
2.2. ผลกระทบในการดําเนินนโยบายอินโด – แปซิฟิก ของสหรัฐฯ สําหรับผลกระทบของ
นโยบายอินโด – แปซิฟิก ต่อภูมิภาคนั้น แนวคิด “อินโด - แปซิฟิก” ถือเป็นกรอบทางยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ นํามาใช้ในการเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในมิติต่างๆ
โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสและ ช่องทางการค้าและการลงทุนให้กับทุกประเทศในภูมิภาครวมถึงอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ระดับความสัมพันธ์ของประเทศในภูมิภาคกับสหรัฐฯนั้นอาจถูกกระทบจากการแทรกแซงของจีน
ได้ โดยประเทศในภูมิภาคนี้มีลักษณะทางกายภาพแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มที่ 2 กลุ่มประเทศ
Mainland (CLMVT) ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนมีบทบาทสูง และกลุ่มที่ 2 กลุ่ม
ประเทศ Maritime ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประโยชน์และปัญหาในทะเลจีนใต้ เป็นหลัก ทั้งนี้ ผลกระทบโดย
ภาพรวมของอิทธิพลสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคจะครอบคลุมในมิติต่างๆ ได้แก่ด้านความมั่นคงและการทหาร ด้าน
ความมั่นคงทางทะเล และการต่อต้านการก่อการร้าย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจ
3. วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเสนอแนะแนวทางของไทยในการก าหนดทาทีและนโยบายดานตาง
ประเทศที่เหมาะสมเพื่อรองรับตอการด าเนินนโยบายและยุทธศาสตรเชิงรุกของจีนและสหรัฐฯ
3.1 ความสําคัญทางยุทธศาสตร์ของจีน การที่จีนประสบความสําเร็จอย่างมากในการพัฒนา
ประเทศในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประโยชน์และอิทธิพลทางการเมืองของจีนในภูมิภาคสูงขึ้นตามไป
ด้วย ซึ่งเป็นการท้าทายต่อประเทศมหาอํานาจอื่นๆ โดยเฉพาะต่อสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งทาง
ยุทธศาสตร์ การดําเนินนโยบายต่างประเทศของจีน บนพื้นฐานแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติและการเสริมสร้าง
กําลังทางทหารอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประเทศคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ และประเทศในภูมิภาคที่มีข้อพิพาทกับจีน
เกิดความไม่ไว้วางใจ และมองการข้าวขึ้นสู่สถานะอํานาจของจีนเป็นภัยคุกคาม
3.2 การดําเนินยุทธศาสตร์ของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคปัจจุบัน จะมุ่งเน้น
การสร้างหลักประกันในการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ
ประเทศรอบบ้าน และเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งทาง
เศรษฐกิจให้กับประเทศ อีกทั้ง ยังสร้างความทันสมัยให้แก่ประเทศ เพื่อกีดกันอํานาจอิทธิพลของสหรัฐฯ และ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของจีน
3.3 การดําเนินนโยบายต่างประเทศของจีน โดยใช้โครงการ BRI นอกจากจะสามารถ
ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของจีนแล้ว ยังทําให้จีนได้ยกระดับความร่วมมือกับประเทศมหาอํานาจ ประเทศ
เพื่อนบ้าน และประเทศกําลังพัฒนา โดยเน้นภาระความรับผิดชอบมากขึ้นในภารกิจต่างๆ ของจีนต่อโลก ซึ่ง
แนวคิดดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นผลในเชิงบวกต่อประเทศไทย
3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนดําเนินมาอย่างราบรื่น และเป็นตัวอย่างของ
ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านที่ดี ที่เอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย ด้านความมั่นคงจึงมองไทยเป็นทางเลือก
สําคัญทางยุทธศสตร์การเชื่อมเส้นทางโลจิสติกส์กับประเทศเพื่อนบ้าน และตระหนักว่าไทยเป็นประตูสําหรับ
ขยายความสัมพันธ์และเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอาเซียน และสามารถเป็นตัวเชื่อมที่สําคัญในเส้นทางออกสู่ทะเล
ทั้งด้านทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย
3.5 ความสําคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอํานาจที่มีอิทธิพลมากที่สุด นับตั้งแต่
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พยายามดํารงอิทธิพลของตนอยู่ต่อไป โดยใช้การให้ความช่วยเหลือทั้งด้าน
การเงิน การทหาร การให้คําปรึกษา และการแทรกแซงทางการทูต ควบคู่ไปกับการสอดแทรกหลักการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนแก่ประเทศในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ต้องการทั้งความปลอดภัยสูงสุด และ
โอกาสในการขยายอิทธิพลครอบคลุมทวีปเอชีย ควบคุมเส้นทางส่งกําลังบํารุงระหว่างมหาสมุทรอินเดียและ
แปซิฟิก รวมทั้ง เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของสหรัฐฯ ในประเทศต่างๆ รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดี
ทรัมป์ จะให้น้ําหนักกับภัยคุกคามความมั่นคงที่มาจากจีน โดยสหรัฐฯ จะพยายามดําเนินนโยบายของสหรัฐฯ
ที่จะยังคงรักษาอิทธิพลด้านต่างๆ ในภูมิภาคต่อไป ซึ่งอาจนําไปสู่ความพยายามเสริมสร้างพันธิมตร เพื่อถ่วงดุล
และเพิ่มอํานาจต่อรองกับจีนเป็นหลัก
3.6 การดําเนินนโยบายและยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิก ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนั้น เป็นการ
ดึงเอาประเทศอินเดีย รวมทั้งออสเตรเลีย เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อคานอิทธิพลของจีน นับเป็นการสร้างความท้า
ทายทางการทูตที่มีนัยสําคัญอย่างรอบด้าน และอาจส่งผลกระทบต่อไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ จึงนับเป็น
ความท้าทายสําหรับไทย ที่ต้องให้ความสําคัญและดําเนินนโยบายแบบถ่วงดุลอํานาจให้ส่งผลมากที่สุด
3.7 ท่าทีด้านความมั่นคงของไทยต่อสหรัฐฯ น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ไทยต้องสร้าง
ความเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯ ว่า ไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยภายใต้กรอบ Road Map ส่งเสริมความร่วมมือที่เป็น
ผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในระดับทวิภาคี และในระดับภูมิภาค อาทิ ส่งเสริมความเป็นพันธมิตรด้านการป้องกัน
ประเทศ และความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งเชิงกว้างและชิงลึกกับ
ภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ
3.8 ประเทศไทยสามารถสร้างบทบาทในการเป็นประเทศผู้ประสานความร่วมมือได้ ทั้งกับจีน
และสหรัฐฯ เนื่องจากไทยมีความใกล้ชิดสนิทสนมแบบญาติมิตรในครอบครัวเดียวกันกับจีน และมีความใกล้ชิด
แบบเพื่อนสนิทที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อดํารง
รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศไทย และผลประโยชน์ร่วมกันทั้งกับจีนและสหรัฐฯอย่างได้สมดุล อันจะ
นํามาซึ่งผลประโยชน์ของภูมิภาคและสันติภาพ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะท่าทีและนโยบายต่อจีน
1.1 ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนที่มีคุณค่ากับจีนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ทุกด้าน
1.2 แสวงหาความร่วมมือจากจีนในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพไทยผ่านกิจกรรม
ความร่วมมือต่างๆ อาทิ การฝึกศึกษา การวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
2. ข้อเสนอแนะท่าทีและนโยบายต่อสหรัฐฯ
2.1 ส่งเสริมการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ
นอกเหนือจากฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ อาทิ ฝ่ายนิติบัญญัติ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ
เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงกว้างและเชิงลึกกับภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ ซึ่งจะทําให้สามารถเกื้อกูลแก้ไข
หรือทดแทนความสัมพันธ์ในภาคส่วนที่ชะงักงัน2.2 ดําเนินการให้สหรัฐฯ เห็นความสําคัญของไทยที่มีต่อสหรัฐฯ ตลอดจนให้สหรัฐฯ เชื่อมั่น
ว่าไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยภายใต้กรอบ Road Map ที่วางไว้
3. ข้อเสนอแนะท่าทีและนโยบายร่วม
3.1 การดําเนินนโยบายของไทยทั้งต่อจีนและสหรัฐฯ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3 M ได้แก่ 1)
Mutual Benefit ผลประโยชน์ร่วม 2) Mutual Respect เคารพซึ่งกันและกัน และ 3) Mutual Trust ความ
ไว้ใจซึ่งกันและกัน
3.2 ในสถานการณ์ที่มหาอํานาจอย่างสหรัฐฯ และจีนมีความขัดแย้งด้านการค้า และพยายาม
แข่งขันกันมีอิทธิพลและบทบาทเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องดําเนินนโยบายด้วย
ความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดภาพว่าไทยเลือกจะอยู่ข้างใคร โดยที่จีนเป็นพันธมิตรที่สําคัญทางด้านเศรษฐกิจ และ
นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ก็เป็นโยบายที่เกื้อกูลกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย ขณะที่สหรัฐฯ
เป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่มีความร่วมมืออย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี
ทรัมป์ ก็มีท่าทีที่จะใช้มาตรการกดดันที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบโต้ทางการค้ากับประเทศที่ไม่ให้
ความร่วมมือกับสหรัฐฯ
3.3 ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศขนาดกลางและพึ่งพาทางเศรษฐกิจทั้งกับจีนและ
สหรัฐฯ ควรหลีกเลี่ยงการเลือกข้าง แต่ควรต้องให้ความสําคัญกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
และอาเซียน ซึ่งบรรทัดฐานกลไกเหล่านี้จะช่วยทําให้ไทยไม่ถูกดึงเข้าไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ขณะเดียวกัน
สามารถใช้กลไกเหล่านี้โน้มน้าวให้คู่ขัดแย้งตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมา
3.4 ไทยควรลดการพึ่งพาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ ด้วยการกระจายการค้าการลงทุน
ไปยังภูมิภาคอื่นๆ สนับสนุนแนวคิด อินโดแปซิฟิก และเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือต่างๆเช่น ความตกลง
พันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) เร่งเจราจา
ความตกลงการค้าเสรีและใช้ประโยชน์จากศักยภาพของอนุภูมิภาคอาเซียนและอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ ปัจจุบันอาเซียนมีอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นลําดับต้นๆ ของโลก และมีประเทศคู่เจรจาหลาย
ประเทศ
4. ข้อเสนอแนะท่าทีและนโยบายต่อภูมิภาค
4.1 ให้ความสําคัญต่อสถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงของภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง มี
ยุทธศาสตร์ต่ออาเซียนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ใช้โอกาสสําคัญที่ไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 แสดง
บทบาทเชิงรุกอย่างสร้างสรค์ สนับสนุนให้มีผู้เล่นจากนอกอาเซียนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนมากขึ้น เพื่อ
เป็นการถ่วงดุลอํานาจและลบภาพการโน้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งของไทย ประการสําคัญ ต้องรักษาพลวัตของ
การมีบทบาทเชิงรุกในอาเซียนของไทยไว้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ภายหลังครบวาระการเป็นประธานอาเซียน
4.2 ดําเนินนโยบายเชิงรุกกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคได้แก่ CLMV เพื่อสร้างความ
เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Partnerships for Developments) ชูนโยบายไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ควบคู่ไปกับการผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อความเชื่อมโยงตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
ทําให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาค เพื่อสร้างอํานาจต่อรองกับประเทศมหาอํานาจทั้งจีน และสหรัฐฯ
abstract:
Abstract
Title Guidelines on Thailand’s Foreign Policy: Superpowers encroachment
Field Strategy
Name Lt. Gen. Werachon Sukhondhapatipak Course NDC Class 60
Guidelines on Thailand’s Foreign Policy: Superpowers encroachment was
produced to provide an extensive study on the current global situation where China and the
United States are competing to expand their roles and influences in the ASEAN region. This
on-going situation will unavoidably affect Thailand. This study then aims to provide guidelines
on possible scenarios and what-if analysis to help concerned agencies to develop/carry out
appropriate foreign policies, with focuses on South East Asian security, military, and economic
affairs. This study was written based on academic papers, results of academic
conferences/seminars on international security concerning changes in China and the United
States foreign policies together with analysis from concerned experts and those involved in
shaping Thailand foreign policies. It can be concluded that both China and the United States
foreign policies are based mainly on their national interests. However, leaders also play an
important role in this arena. China has projected itself as a responsible regional superpower
and offered benefits to amplify its influences. However, China would not hesitate to be
extremely assertive to guard its national interest. On the other hand, the United States has
chosen to project a more forceful role and emphasized mainly on reciprocity. If necessary,
the United States has shown its readiness to face any confrontation in order to protect its
national interest.
With the aforementioned moves, Thailand needs pay close attention in forming
appropriate foreign policies focusing on balance between China and the United States. At the
same time, Thailand must promote ASEAN Centrality in the regional security architecture as
Thailand will be assuming ASEAN Chairmanship in 2019. Also, Thailand shall creatively play
more proactive roles in promoting rule-based international systems and welcoming more
engagements from countries outside the ASEAN region as well as promoting the engagement
of development partners to address global concerns. Most importantly Thailand has to closely
monitor movements of China and the United States.