เรื่อง: แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ด้วยระบบการตรวจสหกรณ์
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ด้วยระบบการตรวจการสหกรณ์
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ด้วยระบบการตรวจการ
สหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง อุปสรรคที่เกิดขึ้นและความเห็นต่าง ๆ
ของการตรวจการสหกรณ์ในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตรวจการสหกรณ์
และเพื่อก าหนดแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจการสหกรณ์ให้เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งแก่
สหกรณ์โดยการทอดแบบสอบถามให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ตรวจการสหกรณ์ที่ครอบคลุมพื้นที่
77 จังหวัด จ านวน 300 ราย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตรวจการสหกรณ์ จ านวน 2 ราย
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของการตรวจการในปัจจุบัน ได้แก่
1. ผู้ตรวจการสหกรณ์บางส่วนขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบ 2. ไม่ได้
การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่อง 3. ความทับซ้อนในบทบาทหน้าที่ก ากับและส่งเสริม 4. ไม่สามารถเข้า
ตรวจการสหกรณ์ได้ตามแผน 5. ผู้ตรวจการสหกรณ์ไม่ได้ให้ความส าคัญกับการตรวจสอบสหกรณ์
อย่างจริงจัง 6. รองนายทะเบียนสหกรณ์ ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทการเป็นผู้ก ากับดูแล
สหกรณ์ตามกฎหมาย และ 7. ผู้ตรวจการสหกรณ์ได้รับผิดชอบในการตรวจการสหกรณ์เป็นจ านวนมาก
ท าให้การตรวจสอบไม่สามารถด าเนินการได้อย่างเต็มที่ ส าหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตรวจการ
สหกรณ์แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ตรวจการสหกรณ์ คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะใน
ด้านการตรวจการสหกรณ์ และด้านฝ่ายกรรมการและฝ่ายจัดการสหกรณ์ คือ ไม่สนับสนุน และ
อ านวยความสะดวกในการเข้าตรวจการสหกรณ์อีกทั้งแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจการสหกรณ์
ที่เป็นมาตรฐานให้เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งแก่สหกรณ์แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนา
ระบบการตรวจการสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยมีองค์ประกอบ 8 ส่วน 2. การพัฒนาศักยภาพของ
ผู้ตรวจการสหกรณ์ และ 3. การพัฒนาเกณฑ์ก ากับสหกรณ์ของนายทะเบียนสหกรณ์
นอกจากนี้ ควรมีการออกกฎหมายเพื่อก ากับดูแลสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่เป็น
การเฉพาะ รวมถึงเร่งปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับบริบทการ
ด าเนินงานของสหกรณ์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดระบบการพัฒนาผู้ตรวจการสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง
และสร้างความก้าวหน้าในต าแหน่งหน้าที่ของผู้ตรวจการสหกรณ์ อีกทั้งควรมีการพัฒนาระบบตัวชี้วัด
การตรวจการสหกรณ์จากเชิงปริมาณไปสู่ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศเข้ามาก ากับติดตามการท างานของสหกรณ์ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิด
ความเสียหายขึ้นในสหกรณ์ในส่วนของด้านวิชาการ ควรมีการจัดระบบการให้การศึกษาอบรม
แก่ผู้ตรวจการสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านการตรวจการสหกรณ์ พัฒนาคู่มือ
การตรวจการสหกรณ์ และคู่มือการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนสหกรณ์
abstract:
ก
ABSTRACT
Title Building Cooperative’s Strength with Cooperative Inspection System
Field Economics
Name Mr.Wisit Srisuwan Course NDC Class 60
This study has three main objectives. First, it is to explore issues, facts,
obstacles, and opinions regarding the current inspection system for cooperatives.
Second, the research is conducted to analyze the factors impacting the inspection
system. Finally, this study aims to identify the appropriate ways to improve the
inspection system to become the main mechanism in building cooperative’s strength.
A questionnaire is used with the focus group which includes 300 cooperative
inspectors nation-wide and two experts in the cooperative inspection.
The results indicate that there are several issues in current cooperative
inspection system: the inspectors’ lack of experience and expertise, the lack of
consistent training for inspectors, the conflict of inspector roles as monitor and
supporter, the lack of ability to inspect cooperatives as planned, the inspectors’ slack
attitude towards their inspection duty, the deputy registrar’s lack of knowledge and
understanding about their roles, and the excessive number of cooperatives under
each inspector’s responsibility. The factors affecting cooperative inspection can be
divided into two aspects which are inspectors and cooperative’s personnel including
committee and management team. Inspectors lack knowledge, understanding, and
skills necessary in cooperative inspection. At the same time, there is a lack of
cooperation from the cooperative committee and management team. Three main
aspects are included in building the cooperative’s strength with the cooperative
inspection system. The first aspect is developing and improving the strength of the
inspection system which has eight components. The second aspect is improving skills
and capability of the inspectors. The third aspect is developing criteria for the
registrar to monitor cooperatives properly.
Furthermore, there should be regulation to specifically monitor large
financial cooperatives. The revision of The Cooperatives Act B.E. 2542 in accordance
with the current context of the cooperatives is also important, as well as building an
appropriate inspector development and promotion system. Indicators of cooperative
inspection should be improved and changed from quantitative indicators to
qualitative indicators. Moreover, the use of information technology should be
promoted in the monitoring of cooperatives so that timely actions and measures can ก
be taken. Regarding the academic aspect, inspector training system should be
developed and organized consistently. There should be appropriate support for
research and development (R&D), as well as the development of cooperative
inspection handbook and registrar discretion handbook.